ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
เมนูหลัก
ประวัติความเป็นมา
ติดต่อสอบถาม
หนังสือ
เอกสารยื่น ศ.ต.ภ.
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
พระพุทธรูป
ศิลปะคันธาระ
ศิลปะคุปตะ
ศิลปะปาละ
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย
นิโครธาราม
รามคามสถูป นครเทวทหะ
ลุมพินี
สาวัตถี
สังกัสสนคร
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นอวันตี
Flag Counter
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลพุทธสถาน
สาญจี
ถ้ำอชันตา
ถ้ำเอลโลร่า
ถ้ำออรังกาบัด
ถ้ำกัณเหรี
อโยธยา
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลอินเดีย
นิวเดลี
อัครา
ฟาเตห์ปูร์ สิครี
ราชสถาน
หริทวาร, ฤาษีเกษ
จัมมู - แคชเมียร์
เลห์-ลาดักห์
อัมริตสาร์
มะนาลี-ชิมลา
ดารัมชาลา
เมืองลัคเนา
โกลกาตา
สะสาราม
พาราณสี
นิลกาย
มุมไบ
ข้อมูลอินใต้
ข้อมูลอินเดียใต้
รัฐเตลังคานา
เมืองกาญจีปุรัม
ฮัมปิ
ข้อมูลศรีลังกา
ข้อมูลศรีลังกา
ไหว้พระศรีลังกา
ข้อมูลอินโดนีเซีย
ข้อมูลอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ บาหลี
ข้อมูลพม่า
ข้อมูลพม่า
ย่างกุ้ง/ ไจโท้/หงสา/ สิเรียม
มัณฑะเลย์/พุกาม/อินเล/
ข้อมูลสิงคโปร์
ข้อมูลสิงคโปร์
สิงคโปร์
ข้อมูลมาเลเซีย
ข้อมูลมาเลเซีย
มาเลเซีย
ข้อมูลกัมพูชา
ข้อมูลกัมพูชา
เสียมเรียบ/นครวัด/นครธม
ข้อมูลลาว
ข้อมูลลาว
เวียงจันทร์/วังเวียง
หลวงพระบาง
ลาวใต้
ข้อมูลลาว
ข้อมูเวียดนาม
ฮานอย/ซาปา
ดานัง
โฮจิมินห์
ข้อมูลอินเดีย
โปรแกรมทัวร์ เดินทางคนเดี่ยว
สี่สังเวชฯ+อัครา+ราชสถาน+เดลี(21วัน)
สี่สังเวชฯ+สาญจี+อชันตา+เอโลร่า+มุมไบ (14วัน)
สี่สังเวชฯ+อัครา,ทัชมาฮาล+จัยปูร์+เดลี(11วัน)
ข้อมูลลาว
ข้อมูลทวีปยุโรป
กรุงเทพ-ลอนดอน
อิตาลี
อังกฤษ
เมืองพาราณสี แคว้นกาสี

เมืองพาราณสี แคว้นกาสี
พาราณสีมหานครราชธานี
เพื่อความเป็นที่ ๑
๑. ปฐม เทศนาอริยสัจจ์
๒. ปฐม อุบัติอริยสงฆ์
๓. ปฐม พรรษาพระพุทธองค์
๔. ปฐม วงศ์อุบาสิกา
๕. ปฐม บิดาอุบาสก
๖. ปฐม ศกประกาศศาสนา
๗. ปฐม ความงามพระปฏิมา
๘. ปฐม พาราฯพุทธสัญจร
๙. ปฐม มหาวิทยาลัย
๑๐.ปฐม ยิ่งใหญ่คงคาชื่อกระฉ่อน
๑๑.ปฐม แพรไหมเลิศผ้าอาภรณ์
๑๒.ปฐม นครแห่งอารยธรรม

ที่มา...คู่มือพระธรรมวิทยากร

ถ้าจะกล่าวถึง พาราณสี เป็นชื่อที่คุ้นสำหรับคนไทย สมัยครั้งพุทธกาลพาราณสีเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี เป็นเมืองขึ้นของ พระเจ้าปเสนทิโกศล แคว้นโกศล เมืองพาราณสีจะขึ้นชื่อลือชาในเรื่องผ้า คือผ้ากาสี เป็นผ้ามีคุณภาพ ประณีตงดงาม เป็นเมืองที่ค้าขายกับแว่นแคว้นต่างๆ พาราณสีเป็นเมืองเก่าแก่มีอายุหลายพันปี
ช่วงที่กษัตริย์มุสลิมมาปกครองพยายามเปลี่ยนชื่อพาราณสีเป็นอย่างอื่น พออำนาจลดลง คำว่า พาราณสีก็ถูกมาใช้อีกครั้ง อังกฤษมาปกครองอินเดียพาราณสีถูกเรียกว่า บันนารัส, บันนาเรส ปัจจุบันคนอินเดียเรียกพาราณสีว่า วาราณสี และพาราณสีถือได้เป็นแม่ของอินเดียเป็นบ่อเกิดวัฒนธรรมของอินเดีย ถ้าอยากดูวิถีชีวิตของฮินดู ประเพณีวัฒนธรรม ก็ต้องมาดูที่เมืองพาราณสีแห่งนี้ เพราะว่าที่แห่งนี้ยังความเป็นฮินดูไว้มาก มีท่าน้ำที่สำคัญหลายจุด มีพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ริมท่ามีการเผาศพถือปฏิบัติกันมา หลายพันปีมาแล้ว มีท่าน้ำสำหรับลงอาบเพื่อชำระบาป

เมืองพาราณสีเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นโพธิสัตว์พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ (๕๔๗) เกิดขึ้นที่เมืองพาราณสี ๔๒๗ พระชาติ เคยเกิดมนุษย์เช่นเป็น พระราชา อำมาตย์ ฤาษี และเคยเกิดเป็นนก ช้าง ม้า ราชสีห์ ฯลฯ เป็นต้น ในทศชาติชาดกเกิดขึ้นที่เมืองพาราณสี ๒ เรื่องคือ เตมีย์ และสุวรรณสาม

ม. ในพาราณสี
ม. เมือง
ม. แม่น้ำ
ม. ไหม
ม. หมาก
ม. มรณะ
ม. มหาวิทยาลัย
ม. มฤคทายวัน
ม. มะขามป้อม
ม. เมือง คือเมืองพาราณสีเป็นเมืองศักดิ์ของชาวฮินดูเป็นเก่าแก่ที่สุด ในอินเดีย ไม่มีใครสามารถค้นหาต้นกำเนิดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด พาราณสีเป็นชื่อของแม่น้ำคือแม่น้ำวรุณะ กับ อสี เมื่อรวมกันแล้วจึง เรียกว่า พาราณสี

พาราณสีเป็นชื่อศีรษะวานร มาจากคำว่า วานร กับ สีสะ รวมกันแล้ว เรียกว่า วานรสีสะ, วานรสี ดังที่กล่าวไว้ในกปิลชาดก ลิงขาวลิงดำได้แสดงคุณเครื่องของคุณธรรมความเป็นผู้นำ เมื่อสิ้นชีวิตลง เจ้าเมืองได้นำส่วนของศีรษะบรรจุ ณ ใกล้ทางสามแพร่ง

ม. แม่น้ำ คือแม่คงคา แต่คนอินเดียเรียกว่าแม่น้ำกังกาเป็นแม่น้ำมาจากสรวงสวรรค์ที่ผ่านทางมวยผมของพระศิวะ ตามคำของคงคาเทพธิดา ซึ่งเป็นลูกสาวของหิมวัตราชา เพราะกระแสน้ำแรงมากโลกไม่สามารถรองรับได้คัมภีร์ปูราณะ ได้กล่าวว่า พระเจ้าสาคร มีพระมเหสีเอกมีพระโอรสเป็นน้ำเต้าทองถึงหกหมื่น มีนิสัยเกเรพาลไปทั่ว พระเจ้าสาครทำพิธีอัศวเมธ (บูชาม้า) บางครั้งม้าได้สูญหาย จึงให้ พระโอรสหกหมื่นออกติดตาม ปรากฏว่า โอรสระรานผู้คนจนสร้างความเดือดร้อน

วันหนึ่งได้เจอหลุมเข้าไปพบฤาษีกบิล ซึ่งมีม้าอุปการอยู่ข้างๆ ได้กล่าว วาจาหมิ่น ท่านฤาษีลืมตาเปลวไฟจากนัยตาได้เผาเป็นเถ้าถ่าน ฤาษีบอกว่า ถ้าอยากให้โอรสได้ขึ้นสวรรค์ ต้องเอาน้ำคงคาจากสวรรค์มาชำระล้างเถ้าถ่าน บาปจึงหมดหายไป ท่าที่สำคัญได้แก่ ท่าอสี ท่าทศวเมธ ท่ามณิกรรณณิการ์ ฯลฯ

จริงๆ แล้วแม่น้ำคงคามีจุดกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมาลัย มีความยาวประมาณ ๒๕๐๐ กิโลเมตรไหลไปจนถึงปากอ่าวเบงกอล ม. ไหม คือไหมที่ทำผ้า คือผ้ากาสี เป็นผ้ามีชื่อเสียง วิธีการทำก็คือ จะเริ่มตั้งแต่การปลูกการเลี้ยง การทอจนสำเร็จรูปเป็นผ้าที่งดงามในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา สิทธัตถะราชกุมารใช้สอยผ้าอย่างดี ที่มาจากเมืองพาราณสีคือ ผ้ากาสี

ม. หมาก ในที่นี้ก็คือหมากที่ไว้สำหรับเคี้ยวกิน ก็จะมีขายตามรายทาง มีทั้งที่เป็นแบบสดมีคนคอยผสมให้ และที่เป็นแบบสำเร็จรูปชนิดแห้งเป็นเม็ดเล็กๆ เอาเคี้ยวกินรสชาติไม่เป็นต่างกัน ลักษณะคล้ายกับซองแชมพูบ้านเรา เป็นการพัฒนาในรูปแบบแพ็จเกจ

ม. มรณะ คือท่าเผาศพ ท่ามณิกรรณิการ์คนที่ตายในเมือง พาราณสีจะต้องนำศพมา ณ บริเวณนี้ มีการเผาทุกวัน ในแต่ละวันจะมีศพถูกเผาเป็นจำนวนมาก เป็นท่าที่ศักดิ์สิทธิ์ใครได้มาอาบน้ำเชื่อกันว่าวิญญาณจะได้ขึ้นสวรรค์ในคัมภีร์ปูราณะ ท่านี้เป็นท่าที่พระศิวะได้ทำ ตุ้มหูตกลงในแม่น้ำ จึงเป็นที่มาของชื่อ มณิกรรณ์ณิการ์

ท่ามณิกรรณณิการ์ ได้ชื่อว่า ไฟไม่เคยดับสี่พันปีมาแล้ว บางครั้งเราอาจจะเห็นศพลอยมาบ้าง ก็ไม่ต้องแปลกใจเพราะว่าที่นี้ ศพ ๕ ประเภทจะไม่มีการเผาคือ ๑. ศพเด็ก เพราะว่าเด็กบริสุทธิ์
๒. ศพคนถูกงูกัด เพราะว่าพระศิวะก็มีงูเป็นสังวาลย์
๓. ศพฟ้าผ่า เพราะว่าเป็นอาวุธของพระศิวะ
๔. ศพหญิงตายทั้งกลม เพราะว่าเด็กในท้องบริสุทธิ์
๕. ศพนักบวช เพราะว่านักบวชถือพรตมีศีลบริสุทธิ์
ม. มหาวิทยาลัย ในเมืองพาราณสีมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งอาทิ เช่น มหาวิทยาลัยสันสกฤต มหาวิทยาลัยพาราณสี เปิดหลายสาขาวิชา มีทั้งสังคมศาสตร์ ศาสนาปรัชญา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยพาราณสีก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นการเชิดชู ตลอดจนอนุรักษ์ความเป็นฮินดูเอาไว้ ตำราทางลัทธิ ศาสนาที่เก่าแก่ ต้องมาค้นคว้าที่แห่งนี้
ม. มฤคทายวัน ก็คือสารนาถเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา เป็นที่เกิดพระสงฆ์รูปแรกครบถ้วนสมบูรณ์แห่งพระรัตนตรัย
ม. มะขามป้อม บางท่านอาจจะขำ เกี่ยวตรงไหนหรอ ถือว่าเป็นของแถมก็แล้วกัน ไม่ขอพูดถึงสรรพคุณของมะขามป้อม แต่ผลใหญ่กว่าบ้านเรามาก ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะสภาพอากาศหรือพันธุ์ ไม่ทราบจริงๆ เพราะว่าไม่ใช่นักพฤกษศาสตร์ที่วิจัยด้านนี้ แต่ก็เคยถามคนที่นำไปปลูก คำตอบที่ได้รับ คือต้นมันตายแล้ว และยังไม่ออกผล
สรุปแล้วรอกันต่อไปทุกวันนี้มีการเพาะต้นมะขามป้อม มีอยู่ ๒ ราคาสองขนาด คือขนาดเล็กต้นละ ๒๕ รูปี ต้นใหญ่ ราคา ๕๐ รูป ให้คนอินเดียติดต่อหาซื้อได้มีการนำมะขามป้อม มาทำในรูปของการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินได้นานบรรจุใส่กระปุกอย่างดี มีขายแถวสุตาลปูร์เส้นกึ่งกลางระหว่างพาราณสีกับสาวัตถี ปุสสะสัมมาพุทธเจ้า (ผุสสะ) เกิดที่เมืองกาสิกะ (พาราณสี) ก็ตรัสรู้ใต้ต้นมะขามป้อม

ปัญจตีรถะ หรือปัญจติตถะ คือ ท่าน้ำสำคัญของเมืองพาราณสี มีอยู่ด้วยกัน ๕ ท่า ได้แก่ ๑. ท่าทศวเมธ ๒. ท่าปัญจคงคา ๓. ท่ามณิกรรณณิการ์ ๔. ท่าหริจันทะ ๕ ท่าอสี

คงคา (Ganga) หมายถึง เป็นชื่อเทพธิดาคงคา (ลูกของหิมวัตและเมนา) อาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นเช่น สุรสรวันตี สุรนที สุรนิมนคา วโยมคงคา แม่น้ำคงคา มีลักษณะโค้งเสี้ยวพระจันทร์ คล้ายอยู่ที่พระนลาฎพระศิวะ

ฆาท (Ghat) แปลว่า ท่า
จุดประสงค์ไปแม่น้ำคงคา
๑. ไปดูวิถีชีวิตของชาวภารตชน (ชาวฮินดู คนอินเดีย)
๒. เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ที่ครั้งหนึ่งอำมาตย์เมืองนี้ได้นำมาลอยอังคาร
๓. ไปดูศิลปะวัฒนธรรม เช่น จุดกำเนิดลอยกระทง เป็นต้น
ท่าน้ำมีทั้งหมด ๘๔ ท่า เริ่มต้นที่ท่าอสี ดังต่อไปนี้
๑. อัสสี ฆาท (Assi Ghat) ท่านี้สร้างโดยกษัตริย์เมืองพาราณสีเมือง ในปี ค.ศ.๑๙๘๘ ตั้งชื่อตามแม่น้ำอัสสีที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำคงคา ตามตำนานได้กล่าวว่า พระแม่ทุรคาได้ปราบอสูรชุมภะ นิชัมภะ นางได้ขว้างดาบเล่มนั้นทิ้ง จุดที่ดาบตกคือจุดกำเนิดท่าอัสสี ท่านี้เป็นท่าที่จัดกิจกรรมสำคัญ เช่น สุริยะ สัชถิ ในเดือนกาติก ดิปาวลีปูชา ท่านี้จะห่างจากมหาวิทยาลัยพาราณสี ๑ กิโลเมตร
ในสมัยที่เรียนจะก็มานั่งอ่านท่องหนังสือ บางวันนอนค้างคืนบ้าง ตื่นมาอีกที ตี ๔ ชาวฮินดูจากทั่วสารทิศหลักร้อยหลักพันคน ต่างมาอาบน้ำกัน และบูชาเทพเจ้าในตอนเช้า
๒. คงคา มาฮัล ฆาล (Ganga Mahal Ghat) กษัตริย์พาราณสีสร้างขึ้นปี ค.ศ. ๑๘๓๐
๓. ริวา ฆาท (Rewa Ghat) เป็นชื่อใหม่ตามเมืองของมหาราชแห่งเมืองเรวา รัฐมัธยะประเทศ ที่สร้างปราสาท เดิมชื่อตามนักบวชคือ ลาลา ไมเสอ ฆาท ๔. ตุลสี ฆาท (Tulsi Ghat) เป็นชื่อของท่านตุลสีดัส ในยุคภัคติ
ได้รับยกย่องว่าเป็นกวีเอกและนักบวชในยุคนั้น ผลงานคือ รามจริต มานัส โดยเฉพาะได้กล่าวถึงขององค์พระองค์เท่านั้น และ รามายณะ คนไทยรู้จักในนาม รามเกียรติ์ ท่านี้ชาวฮินมาทำกิจกรรมสำคัญมีผู้คนจำนวนมากมาร่วม
๕. ภาไดนี ฆาท (Bhadaini Ghat) เดิมเป็นชื่อของพระอาทิตย์ โลลารกาทิตยาเทพ คู่รักคู่หมั่นมักจะมาอาบน้ำท่านี้ เพราะเชื่อกันว่าทำให้ไม่แยกทางกัน รักกันนานยิ่งขึ้น และใกล้เคียงจะบ่อศักดิ์สิทธิ์ชื่อ โลลารก
๖. จันกิ ฆาท (Janki Ghat) ท่านไร กิรถา ลาล สร้างปี ค.ศ. ๑๘๖๐ ต่อมามหารานี แห่งสุรสันทร์ ทำการต่อเติม มีวัดพระวิษณุ และพระศิวะ
๗. อนันทมายี ฆาท (Anandmayi Ghat) ท่านี้เป็นชื่อของต้นมะขาม บริเวณที่มีต้นมะขาม เดิมชื่อ อิมิลิยา ฆาท
๘. วัชชราชา ฆาท (Vachcharaja Ghat) ท่านี้เป็นชื่อเรียกตามพ่อค้าที่บริจาคเงินสร้างบันได
๙. เชน ฆาท (Jain Ghat) ท่านี้ศาสนิกในศาสนาเชน ได้ร่วมบริจาคเงินก่อสร้าง บนสุดมีวัดเชน สร้างในปี ๑๘๘๕ เพื่ออุทิศให้กับท่านสุพัสวนาถ
๑๐. นิสาด ราช ฆาท (Nishad raj Ghat) ท่านี้สร้างพร้อมกับวัด เพื่อเป็นเกียรติให้กับท่านนิสาด ราช เมื่อปี ค.ค. ๑๙๔๒ จะมีชุมชนชาวประมงตั้งอยู่
๑๑. ปัญจโกท ฆาท (PanchKot Ghat) เรียกชื่อตาม ราชา ปัญจโกท
๑๒. ประภู ฆาท (Prabhu Ghat) นักธุรกิจชาวเบงกอล บริจาคเงินบำรุง
๑๓. เชต ซิงค์ ฆาท (Chet Singh Ghat) เดิมชื่อชื่อขิรกิ ฆาท เคยเป็นฐานที่มั่นต่อสู้กันระหว่างกษัตริย์พาราณสีกับอังกฤษ พระเจ้า เชต ซิงค์ พ่ายแพ้ในที่สุด
๑๔. นิรันชานิ ฆาท (Niranjani Ghat) ราชาปัญจโกท สร้างต้นศตวรรษที่ ๒๐
๑๕ มหานิรวานิ ฆาท (Mahanirvani Ghat) ราชาปัญจโกท บริจาคเงินสร้าง
๑๖. ศิวลา ฆาท (Shivala Ghat) มาลวาน ซิงค์ กษัตริย์เมือง พาราณสี อุปถัมภ์การก่อสร้าง
๑๗. กุลาเรีย ฆาท (Gularia Ghat) ตั้งชื่อตามต้น กุลาร
๑๘. ตันติ ฆาท (Dandi Ghat) ท่านลาลูจี อัคราวาล สร้าง ค.ศ. ๑๘๑๒ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของนักบวชฮินดู นิกาย ตันติ
๑๙. หนุมาน ฆาท (Hanuman Ghat) ตั้งชื่อตามวัดหนุมาน
๒๐. ปราจีน หนุมาน ฆาท (Prachin Hanuman Ghat) นักบวชฮินดูนิกายภัคติ ชื่อ วัลลาภา ได้พักอาศัยอยู่ท่านี้
๒๑. กรรทก ฆาท (Kamataka Ghat) กษัตริย์ ไมซอร์ บริจาคเงินก่อสร้าง ในปี ๑๙๒๘
๒๒. หริชจันทรา ฆาท (Harish Chandra Ghat) ท่าเผาศพแห่งที่สอง ท่านี้เรียกชื่อตามกษัตริย์องค์ที่ ๒๘ นามว่า หริจันทรา แห่ง ราชวงศ์สุริยะ
๒๓. ลาลิ ฆาท (Lali Ghat) ตั้งชื่อตามนักบวช (ลาลี บาบา) ท่านหนึ่งที่มาอาศัย ณ ท่าน้ำแห่งนี้
๒๔. ประภู ฆาท ๒ (Prabhu Ghat 2) เป็นอีกท่าหนึ่งที่ชาวฮินดูมาเล่นอาบน้ำ
๒๕. วิจัยนคราม ฆาท (Vijayanagaram Ghat) มหาราชาแห่ง วิจัยนคร สร้างไว้
๒๖. เกดาร ฆาท (Kedar Ghat) บนสุดมีวัดฮินดู เป็นวัดของเทพเกดาเรชวาร ชาวพาราณสีเชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้า คุ้มครองทางด้านใต้ของเมืองกาสีเก่า
๒๗.เจากิ ฆาท (Chauki Ghat) ท่านกุมาร สวามี สร้างในศตวรรษที่ ๑๗ จะมีเทศกาลนาคปัญจมี เดือนชัลวาล มีการนำของหวาน นม มาบูชารูปปั้นงู
๒๘. เกษมเมศรวล ฆาท (Ksemmesvara Ghat) สร้างในศตวรรษที่ ๑๘ เดิมมีชื่อเรียก นาลา ฆาท
๒๙. มันศวร ฆาท (Mansarovar Ghat) แมน ซิงค์ ราชาแห่ง อัมเมอร์ รัฐราชปุต เป็นผู้สร้าง
๓๐. นารัด ฆาท (Narad Ghat) ท่านคัตตาตรียา สวามี ในปี ๑๗๘๘ เดิมมีชื่อเรียก คูวาย และเปลี่ยนชื่อตามเทวาลัยของเทพนาลัดศวร
๓๑. ราชา ฆาท (Raja Ghat) กษัตริย์มาลาวี ราว มหาราชฏะ สร้างในปี ค.ศ. ๑๗๗๐ และบูรณะใหม่โดย ราชา อัมริตระ ราว เปศวร ในปี ค.ศ.๑๘๐๗
๓๒. โขรี ฆาท (Khori Ghat) ช่วงหลังๆ มา ท่านคาวินทรา นารายณ์ ซิงค์ สร้างบันได
๓๓. ปานเดย์ ฆาท (Pandey Ghat) สร้างเพื่อเป็นเกียรติแก่ ท่านบาบัว ปานเด นัก มวยปล้ำ ตั้งค่ายบนท่านี้
๓๔. สารเวศัร ฆาท (Sarveshar Ghat) ท่านมธุรา ปานเดย์ สร้าง ในปลายศตวรรษที่ ๑๘
๓๕. ดิกปาเตีย ฆาท (Digpatia Ghat) กษัตริย์แห่งดิกปาเตีย รัฐเบงกอลตะวันออก สร้าง ในปี ค.ศ. ๑๘๓๐
๓๖. ชอสัตถิ ฆาท (Chausatthi Ghat) ตั้งชื่อตามเทวาลัยของซอสัตถ เทวีเทพ
๓๗. รานา มาฮัล ฆาท (Rana Mahal Ghat) ท่านราน จากัต ซิงห์ รัฐราชสถาน สร้างในปี ค.ศ. ๑๖๗๕
๓๘. ดารภังกา ฆาท (Darbhanga Ghat) ราชาแห่งดารภังกา รัฐพิหาร สร้างปราสาท เมื่อปี ค.ศ.๑๙๒๐
๓๙. มุนซิ ฆาท (Munshi Ghat) ท่านศรีซัล นารายัน มุนชิ รัฐมนตรีการคลัง เมืองนาคปุระ สร้างในปี ๑๘๑๒
๔๐. อาฮิล ยาไบ ฆาท (Ahilyabai Ghat) ราชินีอาฮิล ยาไบ โฮลคัล เมืองอินโด รัฐมหาราชฏะ ทำการบูรณะซ่อมแซ่ม
๔๑. ศิตาลา ฆาท (Shitala Ghat) ตามชื่อตามเทวาลัยที่ตั้งอยู่บนท่านี้
๔๒. ดัสอัศวเมธ ฆาท (Dashashwamedh Ghat) ท่านี้สำคัญมากในอดีตท่านี้ ทำพธีปล่อยม้า ๑๐ ตัว ปัจจุบันมีพิธีกรรมศิวะอารตีในภาคค่ำ
๔๓. ประยัด ฆาท (Prayag Ghat) ตั้งชื่อสังฆัม เพราะเป็นการรวมกันของแม่น้ำสำคัญ สังฆัมแห่งนี้เรียกว่า ประยัด
๔๔. ราเชนทรา ประสาด ฆาท (Rajendra Prasad Ghat) เดิมชื่อ โฆรา ฆาท แปลว่าม้า ในอดีตท่านี้มีการชื้อม้าเพื่อข้ามอีกฟากหนึ่ง ต่อมาเปลี่ยนชื่อให้เกียรติประธานาธิบดีคนแรกของอินเดีย
๔๕. แมน มันดีร ฆาท (Man Mandir Ghat) สร้างโดย ท่านไสว แมน ซิงห์ เป็นแม่ทัพของกษัตริย์อักบาร์
๔๖. วาราหิ ฆาท (Varahi Ghat) ตั้งชื่อตามวัดของเทพเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อ วาราหิ มาตา
๔๗.ตรีปุระ ไบระวี ฆาท (Tripur Bhairavi Ghat) ตั้งชื่อตามเทพองค์หนึ่ง มหาราชาเมือง พาราณสี สร้างไว้
๔๘. เมียร ฆาท (Meer Ghat) ท่านเมียร รัสดัม อาลี ผู้สำเร็จราชการแทนกษัตริย์เมืองอวัธ (อโยธยา) บริจาคเงินสร้าง
๔๙. เนปาลี ฆาท (Nepal Ghat) ท่านนันฮิ บาบู สร้างในปี ค.ศ. ๑๙๐๒ และชาวเนปาลที่อาศัยในเมืองพาราณสีได้ทำการทำนุบำรุงซ่อมแซม
๕๐. ลาลิตา ฆาท (Lalita Ghat)ตั้งชื่อตามเทพลาลิตา เทวี
๕๑. อัมโรห์ ฆาท (Amroha Ghat) สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ โดยท่านบาบู กะเสียบ เทพ กับพ่อค้า
๕๒. ขิรกิ ฆาท (Khirki Ghat) ขิรกิ แปลว่า แม่หม้าย เป็นจุดที่แม่หม้ายหรือภรรยาผู้ตายยืนรอดูศพสามีที่กำลังเผา ธรรมเนียมฮินดูไม่นิยมให้สตรี เข้าร่วมในงานศพ
๕๓. ชลสัย ฆาท (Jaisayi Ghat) เป็นท่าที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมการเผาศพ
๕๔. มณิกรรณิกา ฆาท (Manikarnika Ghat) ท่าที่เผาศพ และเป็นท่าที่สำคัญมาก
๕๕. บาจิราว ฆาท (Bajiroa Ghat) เดิมชื่อ ทัตตะตรียา ฆาท เป็นนักบวช เชื่อกันว่า เป็นอวตารแห่งตรีมูรติ ต่อมาท่านบาจิราว เปศวร ได้ทำการบูรณะซ่อมแซม
๕๖. สกินเธีย ฆาท (Scindhia Ghat) เดิมมีอยู่แล้ว ราชินีของราชาคัลลาตา ราว สกิน เธีย แห่งเกาเลีย ได้บูรณะปรับปรุง ทายาทของท่านพระองค์หนึ่งได้เปลี่ยนชื่อให้เป็น สกินเธีย ๕๗. สังกัต ฆาท (Sankata Ghat) ตั้งชื่อตามเทวาลัย สังกัตตา เทวี
๕๘. คงคา มาฮาล ฆาท (Ganga Mahal Ghat) สร้างโดย ราชาแห่งเกาเลีย มหาราชจิยาจิ ราว สกินเธีย
๕๙. โภนเชติ ฆาท (Bhonsale Ghat) มหาราชโภนเซลิ แห่งนาคปูระ สร้างในปี ค.ศ. ๑๗๘๐
๖๐. คเณศ ฆาท (Ganesh Ghat) ตั้งชื่อตามเทวาลัยของ พระพิฆเนศ
๖๑. เมตตา ฆาท (Mehta Ghat) ตั้งชื่อตามโรงพยาบาลที่ตั้งบนท่านี้ นักธุรกิจเมือง กัลกัตต้า ชื่อ วัลลภราม ซาลิคราม เมตตา สร้างในปีค.ศ. ๑๙๖๐
๖๒. ราม ฆาท (Ram Ghat) ท่านี้เป็นชื่อตามวัดพระราม ราชาแห่งชัยปูร์ ชื่อ ราชาลไวย ไจ ซิงค์ สร้างไว้
๖๓. จาตาร ฆาท (Jatara Ghat) ท่านทิวัน บาลาจี จาตาร ขุนนางในราชสำนักแห่ง กวาเลีย ได้สร้างไว้
๖๔. ราชา กวาเลีย ฆาท (Raja Cawalior Ghat) ราชาจิยาจี ราว ซินเด สร้างในปี ค.ศ. ๑๗๖๐
๖๕. มงคล กัวรี ฆาท (Mangala Gauri Ghat) ตั้งชื่อตามเทพธิดาที่มีผิวสีขาว คือ เทพธิดา กัวลี
๖๖. เบนิ มาเทพ ฆาท (Beni Madhav Ghat) ตั้งชื่อตามเทวาลัยของ บินดู มาทะวะ
๖๗. ปัญจคงคา ฆาท (Panch Ganga Ghat) ในตำนานกล่าวไว้มีความสำคัญมาก ตำนานกล่าวไว้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา ณ ท่านี้คือ ยมุนา สรสวตี กีรนา นัมทา และ ภูตปาบ ๖๘. ทุรคา ฆาท (Durga Ghat) ตั้งชื่อตามวัดพราหมจารินี ทุรคา สร้างโดยคุรุ ของมหาราช เปซวาล
๖๙. พรหม ฆาท (Bhramma Ghat) ตั้งชื่อตามวัด พระพหรามณ์เมชวาล มีเรื่องเล่าว่าพระพรหม มาเยือนเมืองกาสี ต้องการที่พัก พระศิวะจึงจัดท่าน้ำแห่งนี้ให้ ๗๐. บันฑิต ปรโกต ฆาท (Bundi ParaGota Ghat) มหาราช สุราจัน ฮาดา ราชาแห่งบันดี รัฐราชสถาน สร้างท่านี้พร้อมกับปราสาท ในปีค.ศ.๑๕๘๐
๗๑. สิตาลา ฆาท (Sitala Ghat) เปลี่ยนชื่อตามเทวาลัยของเทพสิตาลา โดยท่านนารายัน ดิกชิต สร้างปีค.ศ.๑๗๗๒
๗๒. ลาล ฆาท (Lala Ghat) ราชาแห่งติจารา รัฐราชสถาน สร้างในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ ต่อมา บัลเทพ ดัส บิรลา ได้สร้างปราสาท
๗๓. หนุมาน กาธิ ฆาท (Hanuman Gathi Ghat) สร้างในปี ค.ศ. ๑๙๗๒ โดยท่านติกจันทรา สาหุ ลูกศิษย์ท่านชื่อ บาบาสยามกัส เคยบำเพ็ญตนบนท่านี้
๗๔. กาย ฆาท (Gai Ghat) ตั้งชื่อตามรูปวัวขนาดใหญ่ (วัวเป็นพาหนะของพระศิวะ) ท่านี้อดีตเคยมีวัวมารวมกันเป็นจำนวนมากที่มาอาบมากินน้ำ ใครที่เคยฆ่าวัวหรือควาย ถ้าได้มาอาบน้ำท่านี้ บาปเหล่านั้นลอยหายสิ้นไปเอง
๗๕. บัทรีนารายัน ฆาท (Badrinarayan Ghat) ราชาแห่งเกาเลีย สร้างประมาณศตวรรษที่ ๑๙ เดิมชื่อ บาล่า ไภ ฆาท
๗๖. ตรีโลจัน ฆาท (Trilochan Ghat) ตั้งชื่อตามรูปเคารพของพระศิวะ ศิวะตรีโลจัน หมายถึง ศิวะมีสามเนตร
๗๗. โกรา ฆาท (Gola Ghat) เป็นชื่อเรียกตามฉางข้าวเปลือก บริเวณนี้เป็นที่พักข้าวเปลือก เพื่อ รอนำไปฝั่งตรงข้าม โกรา แปลว่าฉางข้าวหรือยุ้งข้าว
๗๘. นันทุ ฆาท (Nandu Ghat) ท่านทวารกานาถ จักรวัลตรี เศรษฐีจากเมืองกัลกัตตา สร้างในปี ค.ศ.๑๙๔๐ บนท่านี้มีเทวาลัยของนันทรีศวร
๗๙. ศุกกา ฆาท (Shukka Ghat) เป็นที่ตั้งเทวาลัยของพระศิวะ
๘๐. เตลียานาลา ฆาท (Telianala Ghat) เตลี เป็นชื่อของผู้ประกอบกิจการน้ำมันที่ได้จากเมล็ดพืช
๘๑. ภูต / นะยะ ฆาท (Phuta/Naya Ghat)ในอดีตคือศตวรรษที่ ๑๘ ถูกทิ้งร้างไม่มีบ้านเรือน ภูต แปลว่า ผี ปีค.ศ. ๑๙๔๐ ท่านนรซิงส์ ชัยปาล เมืองภาบัว รัฐพิหาร สร้างขึ้นใหม่ ได้ชื่อ นะยะ แปลว่า ใหม่
๘๒. ประหลาด ฆาท (Prahlad Ghat) ตั้งชื่อตามผู้นับถือพระวิษณุ ชื่อประหลาด ที่ได้กล่าวไว้ใน กำเนิดเทศกาลโฮลี่
๘๓. ราช ฆาท (Raja Ghat) เป็นท่าที่ติดกับสะพานมาลาวิยะ เดิมชื่อ ลอร์ด ดัฟฟริน ฆาท ซึ่ง เป็นขุนนางอังกฤษทำการสร้างสะพานแห่งนี้ เส้นทางจะไปมงคลสาลาย เป็นชุมชนใหญ่ มีสถานีรถไฟด้วย
๘๔. อดิ เกศวร ฆาท (Adi Keshava Ghat) เป็นท่าที่บรรจบกันของแม่น้ำวรุณกับแม่น้ำคงคา ใกล้เคียงมีวัดอธิเกศวร ในคัมภีร์ปุราณะเป็นท่าที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ว่ากันว่าพระวิษณุเหยียบโลกที่ท่านี้ ตำนานกล่าวไว้ร่างของพระวิษณุเปรียบกับท่าน้ำคงคาคือ ท่าอัสสี เปรียบดังศีรษะ ท่าดัสอัศวเมธ คือส่วนอก ท่านมณิกรรณิการ์ คือส่วนสะดือ ท่าปัญจคงคา เปรียบดังส่วนต้นขา และท่าอธิเกศวร คือส่วนเท้า

แผนที่ท่าน้ำเมืองพาราณสี








โพธิสิกขาลัย (Bodhisikkhalai)
โทร 0-3587-3065, 085-7777-184 แฟกซ์ 0-3587-3058
Line ID: 0857777184
เว็บไซต์ : www.bodhisikkhalai.com
อีเมล: bodhisikkhalai@gmail.com


Copyright © 2011 All Rights Reserved