ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
เมนูหลัก
ประวัติความเป็นมา
ติดต่อสอบถาม
หนังสือ
เอกสารยื่น ศ.ต.ภ.
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
พระพุทธรูป
ศิลปะคันธาระ
ศิลปะคุปตะ
ศิลปะปาละ
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย
นิโครธาราม
รามคามสถูป นครเทวทหะ
ลุมพินี
สาวัตถี
สังกัสสนคร
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นอวันตี
Flag Counter
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลพุทธสถาน
สาญจี
ถ้ำอชันตา
ถ้ำเอลโลร่า
ถ้ำออรังกาบัด
ถ้ำกัณเหรี
อโยธยา
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลอินเดีย
นิวเดลี
อัครา
ฟาเตห์ปูร์ สิครี
ราชสถาน
หริทวาร, ฤาษีเกษ
จัมมู - แคชเมียร์
เลห์-ลาดักห์
อัมริตสาร์
มะนาลี-ชิมลา
ดารัมชาลา
เมืองลัคเนา
โกลกาตา
สะสาราม
พาราณสี
นิลกาย
มุมไบ
ข้อมูลอินใต้
ข้อมูลอินเดียใต้
รัฐเตลังคานา
เมืองกาญจีปุรัม
ฮัมปิ
ข้อมูลศรีลังกา
ข้อมูลศรีลังกา
ไหว้พระศรีลังกา
ข้อมูลอินโดนีเซีย
ข้อมูลอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ บาหลี
ข้อมูลพม่า
ข้อมูลพม่า
ย่างกุ้ง/ ไจโท้/หงสา/ สิเรียม
มัณฑะเลย์/พุกาม/อินเล/
ข้อมูลสิงคโปร์
ข้อมูลสิงคโปร์
สิงคโปร์
ข้อมูลมาเลเซีย
ข้อมูลมาเลเซีย
มาเลเซีย
ข้อมูลกัมพูชา
ข้อมูลกัมพูชา
เสียมเรียบ/นครวัด/นครธม
ข้อมูลลาว
ข้อมูลลาว
เวียงจันทร์/วังเวียง
หลวงพระบาง
ลาวใต้
ข้อมูลลาว
ข้อมูเวียดนาม
ฮานอย/ซาปา
ดานัง
โฮจิมินห์
ข้อมูลอินเดีย
โปรแกรมทัวร์ เดินทางคนเดี่ยว
สี่สังเวชฯ+อัครา+ราชสถาน+เดลี(21วัน)
สี่สังเวชฯ+สาญจี+อชันตา+เอโลร่า+มุมไบ (14วัน)
สี่สังเวชฯ+อัครา,ทัชมาฮาล+จัยปูร์+เดลี(11วัน)
ข้อมูลลาว
ข้อมูลทวีปยุโรป
กรุงเทพ-ลอนดอน
อิตาลี
อังกฤษ
ราชคฤห์

ราชคฤห์

ราชคห (บาลี) ราชคฤห์ (สันสกฤต) ราชคีย์ (คนอินเดียปัจจุบันเรียกเพี้ยนจากเดิม)
ราชคฤห์ คือสถานที่ประทับของพระราชา
อรรถกถาวิมานวัตถุ เรียก คิริพชะนคร เพราะตั้งอยู่ในท่ามกลางภูเขาทั้ง ๕ ลูก ล้อมรอบได้แก่ อิสิคิริ, เวปุลละ, เวภาระ, ปัณฑวะ, และคิชฌกูฏ หรือเบญจคีรีนคร มคธ (มค บทหน้า ธาว ธาตุในความหมายว่าไป เป็นไป) เป็นชื่อแคว้น แปลว่า แคว้นที่ผู้คนไปพร้อมกับสัตว์ป่า คือชอบล่าสัตว์ป่า หรือแคว้นที่ผู้คนติดใจในสัตว์ป่า ราชคฤห์ เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ ปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสาร มีพระโอรสคือ อชาตศัตรูกุมาร เป็นราชวงศ์อาถรรพ์ คือ ลูกฆ่าพ่อหลายรัชกาล แคว้นอังคะขึ้นตรงแคว้นมคธ มีประชากร ๑๘ โกฏิ พระพุทธโฆษาจารย์ ได้พรรณาไว้ว่า มีประตูใหญ่ ๓๒ ประตู และประตูเล็ก ๖๔ ประตู
ต้นพุทธกาลพระพุทธศาสนาได้เจริญเติบโตเมืองราชคฤห์ ตอนปลายได้เจริญที่เมืองสาวัตถี เป็นเมืองแห่งศิลปะวิทยาโด่ดเด่นทางด้านการศึกษา โดยเฉพาะลัทธิครูคือ มักขลิโคศาล, อชิตเกสกัมพล, ปกุธะกัจจายนะ, นิครนนาฏบุตร, และสัญชัยเวลัฏฐบุตร
พระมหาบุรุษยังเคยศึกษาในลัทธิของ อาฬารดาบส กาลาม-โคตร และอุทกดาบส รามบุตร เป็นเมืองค้าขาย เพราะมีเศรษฐีถึง ๕ ท่าน อาทิเช่น ราชคหเศรษฐี, ปุณณะ, โชติกะ, เมณฑกะ, ธนัญชัย

ลัฏฐิวัน (สวนตาลหนุ่ม)
เสด็จกรุงราชคฤห์
พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ ๑,๐๐๓ รูป เสด็จกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ประทับ ณ ลัฏฐิวัน (สวนตาลหนุ่ม) พระเจ้าพิมพิสารพร้อม ราชบริพารเสด็จเข้าเฝ้า ราชบริพารบางคนไม่แสดงความเคารพพระพุทธองค์ ตรัสสั่งให้พระอุรุเวลกัสสปะทำความจริงให้ปรากฏ แสดงปาฏิหาริย์ เหาะขึ้นไปในอากาศสูง ๗ ชั่วลำตาล ประกาศลัทธิเก่าของตนไม่มีแก่นสาร พระองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถา และอริยสัจ 4 จบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมบริวารบรรลุเป็นพระโสดาบัน ๑๑ นหุต (๑๑๐,๐๐๐ คน) อีก ๑ นหุต (๑๐,๐๐๐ คน) ขอเข้าถึงพระรัตนตรัย

ตั้งความปรารถนาเป็นมโนปณิธาน ๕ ประการ
1. ขอให้ข้าพเจ้าได้อภิเษกเป็นกษัตริย์ในแคว้นมคธ
2. ขอให้ผู้ที่เป็นอรหันต์ เสด็จสู่แคว้นของข้าพเจ้า
3. ขอให้ข้าพเจ้าได้นั่งใกล้พระองค์นั้น
4. ขอให้พระอรหันต์ได้แสดงธรรมโปรดข้าพเจ้า
5. ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์
วันรุ่งขึ้น ได้เสด็จยังพระราชนิเวศน์เพื่อรับอาหารบิณฑบาต พระเจ้าพิมพิสารจึงกราบทูลว่า “ลัฏฐิวัน” ไกลจากชุมชน ผู้มีความศรัทธาไปลำบาก หม่อมฉันขอถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน (ป่าไผ่) และทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกตกที่พระหัตถ์ของพระพุทธองค์ พระองค์ทรงรับ พระเวฬุวันวิหาร จึงเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

วัดเวฬุวัน
วัดเวฬุวัน ถือได้ว่าเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ที่พระเจ้าพิมพิสาร สร้างถวาย เวฬุ = ไผ่ วัน = สวน, ป่า คือเป็นวัดสวนไผ่ วัดแห่งนี้ยังเป็นที่เกิดของวันมาฆบูชา ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ เวฬุวัน มีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า “พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน” หรือ “เวฬุวันกลันทกนิวาป” (สวนป่าไผ่)
สมัยพุทธกาลใกล้เคียงจะมีพระวิหารกโปตกันทราวิหาร พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะจะอยู่อาศัยภายใน ยังมีเหตุการณ์และสถานที่สำคัญดังนี้
- ที่กำเนิดวันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา หมายถึงการบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ หลังจากตรัสรู้ได้ ๙ เดือน นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ
“จาตุร” แปลว่า ๔
“องค์” แปลว่า ส่วน
“สันนิบาต” แปลว่า ประชุม
ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ในเวลาบ่าย วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ คือ
๑. พระสาวก ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
๒. พระสาวกเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์
๓. พระสาวกเหล่านั้นบวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าบวชให้)
๔. เป็นวันพระจันทร์เต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์
ในวันนั้นทรงแต่งตั้งอัครสาวก โอวาทปาฏิโมกข์ ถือว่าเป็นนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หรือเรียกว่า หัวใจพระพุทธศาสนา โอวาทปาฏิโมกข์ แบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรก คือ เป้าหมายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๑) ขันติเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลศอย่างยิ่ง
๒) พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด
๓) ผู้ล้างผลาญผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย

ส่วนที่สอง คือ หลักการของพระพุทธศาสนา
๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง
๒) การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม
๓) การกลั่นจิตของตนให้ผ่องใส
ส่วนที่สาม คือ วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๑) การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน
๒) การไม่เข้าไปล้างผลาญกัน
๓) ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
๔) ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร
๕) การนอนการนั่งในที่อันสงัด
๖) การประกอบความเพียรทางจิตอย่างสูง ไม่ละเลย

- สระกลันทกนิวาป
พระเจ้าพิมพิสารยังโปรดให้ขุดสระน้ำการันทกะขึ้น เพื่อให้พระพุทธองค์ได้สรงน้ำด้วย พระองค์ได้เสด็จประพาสพระราชอุทยานเวฬุวัน วันนั้นพระองค์ทรงดื่มน้ำจัณฑ์มากไปหน่อยจึงทรงบรรทมหลับไป ณ สถานที่ตรงนั้นเอง ฝ่ายข้าราชบริพารที่ตามเสด็จมาด้วย ครั้นเห็นว่าเจ้าเหนือหัวของตนบรรทมหลับไปเช่นนั้น จึงต่างพากันทยอยออกไป กลิ่นอันหอมหวานของน้ำจัณฑ์ที่ผสมกับแกล้มที่ระเหยจากพระนาสิกของพระองค์นั้น เป็นต้นเหตุทำให้อสรพิษที่อาศัยในโพรงไม้ใกล้ ๆ อยู่ไม่ได้ มันจึงค่อยๆ เลื้อยออกมาจากที่อยู่ของมันบ่ายหน้ามุ่งตรงมายังที่พระราชาซึ่งบรรทมหลับอยู่นั้นเอง ฝ่ายรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ ณ แห่งนั้น ครั้นได้เห็นเหตุการณ์ดังนั้นเข้าเกิดเมตตาและสงสารคิดที่จะช่วยให้พระราชารอดพ้นจากอันตรายแห่งชีวิต ทันใดจึงเปลี่ยนเพศจำแลงกาย เป็นกระแตส่งเสียงดังจ้าละหวั่นที่ใกล้ ๆ เพราะเสียงร้องอันดังของกระแตนั้นพระองค์จึงตกพระทัยตื่นขึ้น และทันทีนั้นอสรพิษก็พลันเลื้อยกลับไปยังที่อยู่ของตนดังเดิม พระองค์ครั้นเห็นเหตุการณ์ดังนั้นเข้าจึงทรงดำริว่า “ชีวิตของเราที่รอดพ้นอันตรายมาได้นั้นก็เพราะกระแตตัวนี้”
ดังนั้น จึงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่นำเอาอาหารหรือเหยื่อมาให้แก่กระแตเป็นประจำ และให้นำพระราชโองการเที่ยวประกาศห้ามไม่ให้ใครมาทำร้ายสัตว์จำพวกนี้อีกต่อไปและตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาพระราชอุทยานเวฬุวันจึงได้สมัญญาสร้อยเพิ่มเติมตอนท้ายว่า “เวฬุวันกลันทกนิวาป” เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต
อนึ่งจำเดิมแต่นั้น ปวงประชาชนชาวราชคฤห์ก่อนที่จะไปเที่ยวชมพระราชอุทยานเวฬุวันจึงค่อยๆ เริ่มนิยมกันนำเอาอาหารเตรียมติดตัวไปเพื่อให้กระแตที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นครั้นมากเข้าๆ จนกลายเป็นสถาบันขึ้นมาว่า ผู้ใดก็ตามที่จะไปเที่ยวชมพระราชอุทยานเวฬุวัน ผู้นั้นจะต้องนำเอาอาหารเพื่อเป็นทานแก่กระแตติดตัวไปทุกครั้ง ดังนั้นกระแตในสมัยนั้นจึงนับว่าเป็นสัตว์ที่นอกจากจะโชคดีเที่ยววิ่งเล่นอย่างเป็นอิสระและอยู่อย่างเสรีในพระราชอุทยานแล้ว ยังมีอาหารกินอย่างสมบูรณ์อีกโสดหนึ่งด้วย ฯ

- พระคันธกุฎี สถานที่ประทับของสัมมาสัมพุทธเจ้า
คันธกุฎี คือ กุฏิที่อยู่ที่มีกลิ่นหอม ใช้เรียกที่อยู่พระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ ตั้งอยู่บนเนิน มีการประดับอิฐเก่าๆ โดยรอบ

- เปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าพิมพิสารถวายวัดแล้ว ลืมกรวดน้ำ อุทิศไปให้เปรตที่เป็นญาติ ตกกลางคืนญาติเหล่านั้นเป็นทุกข์หนัก ก็เลยปรากฏตัวให้เห็นว่า ตัวเองเป็นเปรต ส่งเสียงร้องโหยหวน อยู่ในวัง ได้เสด็จทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า ญาติที่ล่วงลับ ยังประสบทุกข์ ต้องการส่วนบุญจากพระองค์ จึงแนะนำให้บำเพ็ญพระราชกุศล กรวดน้ำอุทิศว่า อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย ขอส่วนกุศลนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเข้า ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุข ในอดีตชาติพระเจ้าพิมพิสารทำบุญทำทาน ตั้งโรงทานเลี้ยงพระ เลี้ยงมหาชน แต่ว่าญาติเหล่านี้ไม่มีกุศลศรัทธา คิดยักยอกเอาของที่จะถวายสงฆ์ไปใช้ไปกินเป็นของตัว ละโลกไปแล้วเลยต้องไปเกิดเป็นเปรต
พระเจ้าพิมพิสารจึงเป็นคนแรกที่กล่าวคำว่า อิทัง เม.... เราชาวพุทธคนไทยจึงนิยมกรวดน้ำอุทิศบุญแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

เขาคิชกูฏ
คิชกูฏ (คิชฺฌ+กูฏ, คิชฺฌ=แร้ง) คือ ภูเขาที่มียอดเหมือนแร้ง, ภูเขาที่มียอดเป็นที่อาศัยของแร้ง, ภูเขาที่มีแร้งอาศัยอยู่บนยอด บนเขาคิชกูฏ เป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระมูลคันธกุฎี เป็นรมณียสถาน ช่วงเข้าพรรษาพระองค์ทรงจำพรรษาใน พระเวฬุวัน ออกพรรษาพระองค์ประทับ ณ พระมูลคันธกุฎี บนเขาคิชฌกูฏ
พระเจ้าพิมพิสาร ถูกกักบริเวณขังในคุก ทรงทอดพระเนตรดูชายผ้าเหลืองของพระพุทธศาสนาบนคิชฌกูฏ ทำให้พระองค์มีพระชนม์ อยู่ต่ออีก อาฏานาฏิยสูตร เป็นสูตรที่ว่ายักษ์และภูตผีปีศาจทั้งหลายจะไม่ทำอันตราย และคุ้มครองให้ปลอดภัย มีพวกเทวดาที่ไม่เลื่อมใสในคำสอน ก็จะกลั่นแกล้งรังควานให้เดือดร้อนแก่ภิกษุผู้หลีกเร้นอาศัยอยู่ในป่า ท้าวเวสสุวัณได้กราบทูลขอพระพุทธองค์ทรงรับเอาอาฏานาฏิยะรักขาไว้ พระองค์ทรงรับโดยอาการดุษณี ทรงถ่ายทอดให้แก่พุทธบริษัทท่องจำคาถา
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต... สิงคาลสูตร ว่าด้วยเรื่องการบูชาทิศทั้งหก มีทิศเบื้องหน้าคือ พ่อแม่ เป็นต้น
อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การมาปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิสำหรับผู้แสวงบุญควรเลือกไปช่วงเช้าและช่วงเย็น ถ้าค่ำมากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ตามรายทาง จะไม่อนุญาตให้ขึ้นเขาเพื่อความปลอดภัย

สถานพระเทวทัตที่กลิ้งหินใส่พระพุทธเจ้า
สถานพระเทวทัตที่กลิ้งหินใส่พระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กับ พระคันธกุฎีบนเขาคิชฌกูฏ พระเทวทัตใช้คนอื่นปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าไม่สำเร็จ ในที่สุดตัดสินใจทำเอง ขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏ แล้วกลิ้งหินใส่พระพุทธเจ้า

ถ้ำสุกรขาตา
ถ้ำสุกรขาตา เป็นสถานที่พระสารีบุตรทรงบรรลุพระอรหันต์ภายในถ้ำขณะนั้นพระสารีบุตรกำลังถวายพัดพระบรมศาสดาอยู่เบื้องหลังพระองค์แสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพพาชกเรื่องอุบายแห่งการละทิฏฐิ ๓ ประการสำเร็จเป็นพระอรหันต์ยกย่องเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาเลิศทางปัญญาในวันนั้นเป็นวันมาฆบูชา ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

ถ้ำพระโมคคัลลานะ
หัมมิยัง แปลว่า เงื้อมเขา ซึ่งเป็นอยู่ของพระโมคคัลลานะ ถ้ำพระโมคคัลลานะ เป็นที่พักอาศัยของพระโมคคัลลานะ หลังจากอุปสมบทได้ ๗ วัน บำเพ็ญเพียรที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม พระองค์ทรงแสดงอุบายระงับความง่วง ๘ ประการ สำเร็จเป็นอรหันต์ ยกย่องเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เลิศทางมีฤทธิ์

คติ
คติ แปลตามศัพท์ว่า “การไป” “ภูมิอันเหล่าสัตว์ต้องไป ด้วยการเข้าถึงตามกรรมดีกรรมชั่ว” “ที่เป็นที่ไป” หมายถึง ที่ไป, ที่อยู่, ที่เกิดใหม่, ภพภูมิที่จะต้องไปเกิด คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ติ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ
: คมฺ + ติ = คมติ > คติ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของ “คติ” ไว้ดังนี้ -
(๑) การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง
(๒) ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ :
๑. นิรยะ = นรก
๒. ติรัจฉานโยนิ = กำเนิดดิรัจฉาน
๓. เปตติวิสัย = แดนเปรต
๔. มนุษย์ = สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล
๕. เทพ = ชาวสวรรค์ ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึง อกนิษฐพรหม
(ที่มา... facebook: ทองย้อย แสงสินชัย)

นิรยภูมิ หรือ นรก
นิรยภูมิ หรือ โลกนรก หมายถึง ดินแดนที่ปราศจากความสุขสบาย สัตว์ที่ตกลงไปสู่นรก เพราะบาปกรรมชั่วที่ตนกระทำไว้เป็นอาจิณกรรม นรกเป็นปรโลกฝ่ายทุคติภูมิ ที่มีโทษแห่งการกระทำอกุศลหรือความชั่วที่หนักที่สุดในบรรดาอบายภูมิทั้งหลาย เป็นโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ล้วนๆ ปราศจากความสุขโดยสิ้นเชิง สัตว์ที่ไปเกิดอยู่ในโลกนรกนี้ไม่มีความสุขแม้แต่วินาทีเดียว
คำว่า นรก มาจากคำว่า นิรย ซึ่งมาจากคำว่า นิร รวมกับคำว่า อย
นิร เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ปราศจาก ไม่มี
อย แปลว่า ความสุข ความเจริญ กุศลกรรรม
สถานที่ที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดมีอยู่ ๓๑ ภูมิ เมื่อตายแล้วจะต้องไปอยู่ที่ใด ก็มีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ เมื่อตอนยังมีชีวิตอยู่ เราชอบทำอย่างไร พอตายแล้วก็ต้องไปรับผลแห่งการกระทำของตนเอง

สัญชีวนรก มหานรกขุมที่ ๑
นรกขุมนี้เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบฆ่าสัตว์ ชอบบี้มดตบยุงเป็นประจำ หรือฆ่ามนุษย์ด้วยกัน รวมทั้งฆ่าตัวตายด้วย ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่๑ ชื่อว่า สัญชีวนรก ซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อรองรับผู้ที่ชอบการฆ่าโดยเฉพาะ
กาฬสุตตนรก มหานรกขุมที่ ๒
มหานรกขุมที่ ๒ เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบลักขโมย ฉ้อโกง ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ ๒ ชื่อว่า กาฬสุตตนรก
สังฆาฏนรก มหานรกขุมที่ ๓
เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบประพฤติผิดในกาม ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ ๓ ชื่อว่า สังฆาฏนรก
โรรุวนรก มหานรกขุมที่ ๔
เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบพูดโกหก พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ ๔ ชื่อว่า โรรุวนรก
มหาโรรุวนรก มหานรกขุมที่ ๕
เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบดื่มสุรา หรือเสพสิ่งมึนเมา ยาเสพติด ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ ๕ ชื่อว่า มหาโรรุวนรก
ตาปนนรก มหานรกขุมที่ ๖
เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบเล่นการพนันทุกชนิด ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ ๖ ชื่อว่า ตาปนนรก
มหาตาปนนรก มหานรกขุมที่ ๗
เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบเที่ยวกลางคืน มัวเมาในอบายมุข ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ ๗ ชื่อว่า มหาตาปนนรก
อเวจีนรก มหานรกขุมที่ ๘
นรกขุม ๘ นี้เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ทำอนันตริยกรรม เช่น ฆ่าบิดา มารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกกัน หรือทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ตายแล้วก็ต้องไปตกนรกขุมที่ 8 มีชื่อว่า อเวจีนรก (ถึงแม้จะทำแค่เพียงครั้งเดียว ไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ก็ถือเป็นกรรมที่หนักมาก ต้องตกอเวจีมหานรก ได้รับ ทัณฑ์ทรมานที่แสนสาหัส มีอายุยาวนานกว่านรกขุมอื่นๆ)
ในทางตรงกันข้าม ถ้าชอบทำทาน รักษาศีล นั่งสมาธิเจริญภาวนา หรือชอบบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ก็จะมีสวรรค์ ๖ ชั้น พรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น เป็นที่ไปเสวยผลบุญหลังจากละสังขารในโลกมนุษย์แล้ว

อุสสทนรก
อุสสทนรก คือ นรกที่เป็นขุมบริวาร เราเรียกลักษณะของอุสสทนรกว่า ขุมเช่นเดียวกับมหานรก อุสสทนรกมีขนาดเล็กกว่ามหานรก และ การทัณฑ์ทรมานก็เบาบางกว่า มีความทุกข์น้อยกว่า ไฟนรกก็ร้อนแรงน้อยกว่ามหานรก และยังพอมีเวลาว่างเว้นจากการทัณฑ์ทรมานบ้างเล็กน้อย
มหานรกเหมือนเป็นประธานของนรกทั้งปวง มหานรกขุมหนึ่งๆ จะมีอุสสทนรกตั้งอยู่โดยรอบทั้ง ๔ ทิศ ทิศละ ๔ ขุม รวมเป็น ๑๖ ขุม เมื่อรวมอุสสทนรกที่เป็นบริวารของมหานรกทุกขุมแล้ว จะมีจำนวนทั้งหมด ๑๒๘ ขุม อุสสทนรกทั้ง ๔ ขุมในแต่ละทิศ มีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นชื่อเหมือนกันกับอุสสทนรกในทิศอื่นๆ และเป็นเช่นนี้กับมหานรกทุกขุม ต่างกันแต่เพียงความหนักเบาของทุกข์โทษเท่านั้น
อุสสทนรกทั้ง ๔ ขุมในทิศหนึ่ง มีชื่อดังต่อไปนี้
๑. คูถนรก ๒. กุกกุฬนรก ๓. อสิปัตตนรก ๔. เวตรณีนรก
โดยจะขอกล่าวเฉพาะอุสสทนรกที่อยู่ในทิศใดทิศหนึ่งของสัญชีวมหานรกเท่านั้น นอกนั้นก็จะมีชื่อและลักษณะอย่างเดียวกันหมด
ขุมที่ ๑ คูถนรก
คูถนรก คือ นรกอุจจาระเน่า สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พ้นจากมหานรกแล้ว แต่ก็ยังไม่หลุดพ้นจากวงจรนรก ต้องเสวยทุกข์ต่อไป ในนรกขุมบริวารที่ใกล้ชิดกับมหานรกอันดับที่ 1 คือ คูถนรก จะถูกทรมานอยู่ในนรกอุจจาระ ลักษณะของคูถนรก เต็มไปด้วยหมู่หนอน มีปากแหลมดังเข็ม ตัวอ้วนพีใหญ่เท่าช้าง เมื่อสัตว์นรกตกลงมาสู่คูถนรก เจ้าหนอนนรกจะแสดงอาการดีอกดีใจ เข้ามาล้อมเกาะกัดกินเนื้อของสัตว์นรกนั้นอย่างเอร็ดอร่อยจนเหลือแต่กระดูก แล้วก็แทะกระดูกเข้าไปอีก หนอนบางตัวมีขนาดเล็กก็จะคลานชอนไชเข้าไปในปาก กัดกินปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ กระเพาะ แล้วก็ออกทางทวารด้านล่างและด้านบน เป็นอย่างนี้จนกว่าจะสิ้นกรรม

ขุมที่ ๒ กุกกุฬนรก
กุกกุฬนรก คือ นรกขี้เถ้าร้อน ครั้นพ้นจากกำแพงของคูถนรกแล้ว สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พ้นจากนรกอุจจาระเน่าแล้ว ยังต้องถูกทรมานในนรกขุมบริวารอันดับที่ ๒ คือ กุกกุฬนรก ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับคูถนรก ลักษณะของกุกกุฬนรก เต็มไปด้วยเถ้าร้อนสำหรับเผาสัตว์นรกทั้งหลายให้ได้รับทุกขเวทนาอันแก่กล้า ถูกเถ้าเผาสรีระให้ย่อยยับละเอียดเป็นจุณ เมื่อเศษบาปกรรมยังไม่สิ้นตราบใด ก็ต้องตายเกิดตลอดกาลนานจนกว่าจะสิ้นกรรม
ขุมที่ ๓ อสิปัตตนรก
อสิปัตตนรก คือ นรกป่าไม้ดาบ ครั้นพ้นจากกำแพงของกุกกุฬนรกแล้ว สัตว์นรกทั้งหลายที่มีอกุศลกรรมเหลืออยู่นั้น ถึงแม้พ้นจากนรกขี้เถ้าร้อนแล้ว จะต้องเจอนรกขุมบริวารอันดับที่ ๓ คือ อสิปัตตนรก ก็ยังต้องถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกป่าไม้ใบดาบ ซึ่งอยู่ติดต่อกับกุกกุฬนรก ลักษณะของอสิปัตตนรก จะมีลักษณะเป็นเหมือนอุทยาน มีต้นไม้คล้ายกับมะม่วง เมื่อสัตว์ที่ยังไม่หมดสิ้นกรรมชวนกันไปเดินเล่นในอุทยานนี้ เห็นมีต้นไม้ใหญ่ ตั้งใจว่าจะไปนั่งอยู่ใต้ร่มไม้นั้น แต่พอเข้าไปยังไม่ทันจะได้นั่งดั่งใจปรารถนา ก็มีลมพัดมาอย่างแรง ใบมะม่วงก็หลุดและปลิวลงมากลายเป็นหอกเป็นดาบ ทิ่มแทงร่างของสัตว์นรกเหล่านั้น จนแขนขาด คอขาด ขาขาด มีแผลเหวอะหวะเต็มไปทั่วร่างกาย เลือดแดงฉานออกมา จากนั้นก็มีสุนัขนรกร่างกายใหญ่โตเท่าช้างสาร วิ่งมากัดกินเลือดเนื้อของสัตว์นรกนั้นจนเหลือแต่กระดูก จากนั้นยังมีแร้งนรกซึ่งมีปากเป็นเหล็ก ตัวโตประมาณเท่าเกวียนเท่ารถ พากันมาโฉบเฉี่ยวยื้อแย่งจิกทึ้งเนื้อสัตว์นรก ฉีกกินเป็นอาหาร กรรมยังไม่สิ้น ต้องเสวยทุกขเวทนาไปอย่างนี้ตลอดเวลา
ขุมที่ ๔ เวตรณีนรก
เวตรณีนรก คือ นรกแม่น้ำเค็มมีหนามหวาย ครั้นเมื่อสัตว์นรกพ้นจากกำแพงของอสิปัตตนรก สัตว์นรกที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้จะหลุดพ้นจากนรกป่าไม้ดาบแล้ว ก็ยังไม่หมดสิ้นการทรมาน จะต้องมาสู่นรกขุมนี้อีก ซึ่งเป็นนรกขุมบริวารอันดับที่ ๔ อยู่ติดกับอสิปัตตนรก ลักษณะของเวตรณีนรก จะมีน้ำเค็ม แสบ ตั้งอยู่ชั่วกัป มีเครือหวายหนามเหล็กล้อมอยู่โดยรอบเป็นขอบขัณฑ์ มีดอกปทุม (ดอกบัว) ผุดบานล่อใจให้ชวนชม เมื่อสัตว์นรกเห็นแล้วก็เข้าใจว่าเป็นแม่น้ำใสสะอาดเย็นสนิทน่าอาบ น่าดื่ม ก็พากันดีอกดีใจ หวังจะอาบดื่มกินให้สบาย จึงวิ่งด้วยความเร็ว กระโจนลงไปในแม่น้ำ ทันใดนั้นเองเครือหวายเหล็ก ซึ่งคมเหมือนหอกเหมือนดาบ ก็บาดร่างกายทำให้เป็นแผลในน้ำเค็ม ทั้งเจ็บทั้งแสบ แล้วก็เกิดเป็นเปลวไฟลุกไหม้เผาร่าง เผาทั้งๆ ที่อยู่ในแม่น้ำ จนไหม้เกรียมเหมือนกับต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ บางตนร่างห้อยอยู่บนเครือหนาม ในไม่ช้าร่างนั้นก็ต้องตกลงไปโดนดอกบัวเหล็กที่มีกลีบแหลมคมเป็นกรด ซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำเค็มมีเปลวไฟติดอยู่ตลอดเวลา ในบัวเหล็กแดงก็บาดร่างกายขาดวิ่น สัตว์นรกคิดว่า ถ้าดำลงไปในแม่น้ำที่ลึกกว่านี้ คงจะหลุดพ้นจากการทรมานได้ จึงกลั้นใจดำน้ำลงไป แต่แล้วกลับถูกคมดาบซึ่งหงายอยู่ภายใต้น้ำนั้นบาดเอา เจ็บแสนสาหัส เท่านี้ยังไม่พอ ยังถูกนายนิรยบาลใช้ หอก หลาว แหลน จ้วงแทงเอา เหมือนกับมนุษย์ใช้ฉมวกแทงปลาในน้ำฉันใดฉันนั้น
รวมยมโลกของมหานรกทั้ง ๘ ขุม มีจำนวนทั้งหมด ๓๒๐ ขุม ยมโลก ๑๐ ขุม ในทิศหนึ่งๆ ของมหานรกทั้ง ๘ ขุมนั้น มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามลักษณะการทรมาน และมีชื่อเหมือนกันกับยมโลก ๑๐ ขุม ในทิศอื่น และในขุมอื่นๆ ยมโลก ๑๐ ขุม มีชื่อเรียก ดังนี้
๑. โลหกุมภีนรก ๖. ปิสสกปัพพตนรก
๒. สิมพลีนรก ๗. ธุสนรก
๓. อสินขนรก ๘. สีตโลสิตนรก
๔. ตามโพทกนรก ๙. สุนขนรก
๕. อโยคุฬนรก ๑๐. ยันตปาสาณนรก

ดิรัจฉาน
เดรัจฉาน มาจากภาษาบาลี ติรจฺฉาน แปลว่า ผู้ไปโดยส่วนขวาง (มีร่างกายขนานไปกับพื้นโลก) มีวาระพระบาลีที่ปรากฏอยู่ใน มหาวรรคสังยุตต์ ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดในพวกเทวดาหรือมนุษย์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้วกลับ ไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปตติวิสัย มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ติรัจฉานเมื่อจะแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ มีอยู่ ๔ ประเภท คือ ๑.อปทติรัจฉาน คือสัตว์เดรัจฉานประเภทที่ไม่มีเท้า ไม่มีขา จะไปไหนก็เลื้อยไป ได้แก่ งู ปลา และไส้เดือน เป็นต้น
๒.ทวิปทติรัจฉาน เป็นสัตว์ประเภทมี ๒ ปีก และ ๒ ขา ได้แก่ แร้ง กา นก เป็ดไก่ เป็นต้น
๓.จตุปทติรัจฉาน มี ๔ ขา เช่น สุนัข แมว ช้าง ม้า วัว เป็นต้น และประเภทสุดท้ายคือ
๔.พหุปทติรัจฉาน มีขามาก ได้แก่ กิ้งกือ ตะเข็บ ตะขาบ เป็นต้น

เปรต
ส่วน “เปโต” ศัพท์เดิมคือ “เปต” (เป-ตะ) แจกวิภัตติเป็น “เปโต” แปลทับศัพท์ว่า “เปรต”
เปรต คือ อดีตมนุษย์หรือเทวดาที่เคยทำบาปหนักได้ชดใช้กรรมส่วนใหญ่ในมหานรกอุสสทนรก และยมโลกแล้วแต่ยังมีเศษกรรมอยู่ทำให้ต้องมาเกิดเป็นเปรต มีความทุกข์ทรมานแสนสาหัส มีอายุขัยหลายล้านปีมนุษย์เปรตมีหลายจำพวก หลายตระกูลขึ้นอยู่กับกรรมชั่วที่เคยทำไว้ การจะพ้นจากสภาพเปรตได้นั้น ต้องอาศัยบุญที่มีผู้อุทิศให้ หรือต้องทนชดใช้ผลกรรมที่ได้ทำไว้จนหมดสิ้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงประมวลชนิดเปรตไว้ ๔ ชนิด ในหนังสือธรรมจารณ์ คือ
๑. รูปร่างไม่สมประกอบ ซูบผอม อดโซ ดั่งกล่าวแล้ว
๒. ร่างกายพิการ เช่น ร่างกายเป็นอย่างของมนุษย์ แต่ศีรษะเป็นอย่างของสัตว์ดิรัจฉาน เช่น เป็นกาบ้าง เป็นสุกรบ้าง เป็นงูบ้าง
๓. รูปร่างพิกล เสวยกัมมกรณ์อยู่ตามลำพังด้วยอำนาจบาปกรรม
๔. รูปร่างอย่างมนุษย์ปรกติ แม้เป็นผู้เสวยก็มี มีวิมานอยู่ แต่ในราตรีต้องออกวิมานไปเสวยกัมมกรณ์กว่าจะรุ่ง เรียกว่า เวมนิกเปรต โรงพยาบาลหมอชีวกโกมารภัจจ์
ชีวกัมพวัน หรือพระอารามสวนมะม่วง เป็นสวนป่ามะม่วงที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ อุทิศถวายเป็นสังฆาราม แด่พระพุทธเจ้าและ พระภิกษุสงฆ์ ปัจจุบันเหลือซากโบราณสถานให้เห็นเป็นซากหินเรียงรายกันอยู่ โรงพยาบาลหมอชีวกโกมารภัจจ์ ถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

มัททกุจฉิทายวัน
มัททกุจฉิทายวัน ตั้งอยู่เชิงเขาคิชฌกูฏ สถานที่พระนางโกศลเทวีอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารจะทำแท้งลูกในพระภรรค์

วิศวะศานติสถูป
วิศวะศานติสถูปตั้งอยู่บนเขารัตนคีรี ท่านสมณะฟูจิภิกษุจาก ญีปุ่นได้สร้างไว้มีกระเช้าให้ขึ้น และทางเท้า

รอยเกวียน
รอยเกวียนโบราณ เป็นร่องรอยแห่งความเจริญของการค้าขายของเมืองราชคฤห์กับแคว้นอื่นๆ ล้อเกวียนไปกัดเซาะหินจนเป็นร่อง

คุกคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร
คุกคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร คือบริเวณที่กักขังหมายที่จะปลง พระราชบิดา หวังที่จะเป็นกษัตริย์ เพราะว่าอชาตศัตรูราชกุมารได้รับการยุยงส่งเสริมจากพระเทวทัต

มนิยามัฐ

มนิยามัฐ เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๗ พระนคร (ฮินดูในยุคศังกราจารย์ มีการตั้งวัดใหญ่ขึ้นมาใน ๔ ทิศ เรียกว่า “มัฐ”)
ที่เก็บสมบัติของพระเจ้าพิมพิสาร
ที่เก็บสมบัติของพระเจ้าพิมพิสาร ลักษณะมีการขุดเจาะหินหน้าผ่าให้เป็นถ้ำ
ตโปทาราม
ตโปทาราม คือบ่อน้ำร้อน ในอดีตมีการอาบน้ำตามวรรณะ ต้นกำเนิดการบัญญัติทางพระวินัยสงฆ์ ๑๕ วันอาบน้ำได้ ๑ ครั้ง ตโปทาราม, ตโปธานที เป็นบ่อน้ำพุร้อนข้างในมีแร่กำมะถัน เหล็ก ทองแดง และเรเดียม อยู่เป็นจำนวนมาก การได้อาบจักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ในพระบาลีได้กล่าวไว้ว่า น้ำได้ไหลผ่านโลหกุมภีนรกมาแล้ว
ปัจจุบัน ตโปทาราม เป็นสถานที่บูชาทางศาสนาฮินดู ถือกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และผู้คนจากทั่วสารทิศจะมาอาบน้ำกันที่นี่ จะมีการอาบลดหลั่นตามชั้นวรรณะ วรรณะสูงจะอาบต้นน้ำพุ ส่วนวรรณะต่ำจะอาบน้ำข้างล่าง
ในช่วงฤดูหนาว ผู้เขียนได้พักอยู่ที่ราชคฤห์ และได้เข้าไปอาบน้ำในตโปทาราม พอเดินลงมาทำให้กายอบอุ่นมากปราศจากความหนาว พระถังซัมจั๋งได้เล่า มาที่นี่แล้วได้มีผู้คนชวนให้อาบน้ำอุ่นที่ ตโปทาราม
ต้นบัญญัติสรงน้ำ ๑๕ วัน/ครั้ง ในบริเวณตโปธานที ในสมัยครั้นพุทธกาลภิกษุสงฆ์ได้มาอาบน้ำ สรงน้ำจนเพลิน พระเจ้าพิมพิสารมารอนานมาก จนทำให้ประตูเมืองปิด ไม่สามารถเข้าราชนิเวศน์ได้ ทำให้พระองค์มาอาศัยนอนในวัดพระเวฬุวัน พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้ภิกษุอาบน้ำได้ทุก ๑๕ วัน ขออนุญาตให้ผ่อนผันอาบน้ำได้ทุกวัน พระกัจจายนะ เห็นความยากลำบากพระที่จำพรรษาที่เมือง กุรรฆระ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระวินัย ๕ ประการ หนึ่งในข้อนั้นคือความลำบากสรงน้ำ ๑๕ วันต่อครั้ง เพราะในปัจจันตชนบท มีอากาศร้อน ชาวเมืองนิยมอาบน้ำทุกวัน การอาบน้ำ ๑๕ วันต่อครั้ง จะกลายเป็นเรื่องแปลกสำหรับชาวพื้นเมือง อาจเป็นที่รังเกียจได้ และพระภิกษุไม่สบายตัว พระพุทธเจ้าทรงผ่อนผันและให้ถือปฏิบัติในปัจจันตชนบท ทุกแห่ง

ถ้ำสัตตบรรณคูหา
สถานที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๑ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาเขาเวภาระใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นราชูปถัมภ์

ลัฎฐิวัน
ลัฎฐิวัน คือสวนตาลหนุ่ม พระพุทธเจ้าได้พาภิกษุสงฆ์ (อดีตชฎิล ๓พี่น้อง และบริวาร) ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารมาเคยถวายการต้อนรับ จุดเริ่มต้นของการปักหลักพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ

ขนมขาชา (kha ja)
ขาชา, คาชะ (Kha ja) มีลักษณะกรอบ มี 2 รส คือเค็มกับหวาน ร้านขายขนมขาชามีนับสิบร้าน ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านสิเลา อยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างเมืองราชคฤห์กับนาลันทา เป็นขนมที่เก็บไว้กินได้นานเป็นหลายวัน
ตำนานของคนอินเดียยังเชื่ออีกว่า พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาที่นี่ ชาวบ้านได้นำขนมชนิดนี้มาถวาย คำว่า “ขาชา” (kha ja) ซึ่งมีความหมายว่า “กินแล้ว ก็ไป” พระพุทธองค์ฉันเสร็จแล้วเสด็จดำเนินต่อยังเมืองอื่น ชาวบ้านจึงเรียกขนมนี้ว่าขาชาแต่นั้นมา

เรื่องโกสิยเศรษฐีผู้มีความตระหนี่
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภเศรษฐีชื่อ “โกสิยะ” ผู้มีความตระหนี่ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ” เป็นต้น ในที่ไม่ไกลแห่งกรุงราชคฤห์ ได้มีนิคมชื่อ สักกระ, เศรษฐีคนหนึ่งชื่อ “โกสิยะ” มีความตระหนี่ มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ประจำอยู่ในนิคมนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูหมู่สัตว์ เห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผลของเศรษฐีพร้อมทั้งภรรยา ซึ่งอยู่ในที่สุดแห่งที่ ๔๕ โยชน์ หลังจากเข้าเฝ้าพระราชาแล้วกลับมา เห็นคนหนึ่งกำลังกินขนมกุมมาส (ขนมเบื้อง) ให้เกิดความกระหายในขนมนั้นขึ้น ไปสู่เรือนของตนแล้ว เมื่อเวลาล่วงไปๆ เขาผอมเหลืองลงทุกที ขึ้นไปชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น แล้วทอดกินเพียงคนเดียว พระศาสดาตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานเถระ เธอจงไป ณ ที่นั้น แล้วทรมานเศรษฐี ทำให้สิ้นพยศ
พระเถระนำเศรษฐีและภรรยาไปเฝ้าพระศาสดา ทั้งสองได้ถวายขนมเบื้องแด่พระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ ทรงตรัสสรรเสริญพระมหาโมคคัลลานะ ทรมานเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ ให้เห็นผลของการให้ทาน

เมืองราชคฤห์
เมือง...เลื่องลือศาสนา เมือง...ภูผาคิชฌกูฏ
เมือง...บุตรฆ่าพ่อ เมือง...หมอเทวดา
เมือง...มหาเศรษฐี เมือง...เบญจคีรีนคร
เมือง...สอนธรรมวันมาฆะ เมือง...พระบรมสารีริกธาตุ
เมือง...มหาราชลือชา เมือง...ม้าขื่นขม
เมือง...ขนมขาชา เมือง...สังคายนาครั้งแรก
เมือง...แขกแบ่งชนชั้น เมือง...เวฬุวันวัดป่า
เมือง...อัครสาวก เมือง...เปรตนรกขอส่วนบุญ

ที่มา... คู่มือพระธรรมวิทยากร



นาลันทา เมือง......พระราชาอุปถัมภก เมือง....ยอยกการศึกษา
เมือง....คลังสติ-ปัญญา เมือง....มหาวิทยาลัย
เมือง.....มาตุภูมิอัครสาวก เมือง....วิปโยคเมื่อล่มสลาย
เมือง...พระสงฆห์หลบล้ีหนีตาย เมือง....เป้าหมายทำลายลางคลังพระธรรม
เมือง...พระถังฯพากเพียรเรียนพระไตรปิฎก เมือง....ยาจกโห่ก้องร้องระส่ำ
เมือง....หลวงพ่อพุทธองค์ดำ เมือง....คราคร่ําผู้คนจน-มี
เมือง...สารีบุตรฉุดแม่จากมิจฉาฯ เมือง....รถม้าเอ้ืออาทรตามวิถี
เมือง....นิพพานพระธรรมเสนาบดี เมือง...เจดีย์ธาตุขันธ์ลูกกตัญญู
ที่มา...คู่มือพระธรรมวิทยากร

มหาวิทยาลัยนาลันทา
มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาที่เก่าที่สุดในโลกและเสื่อมสลายในที่สุด พระพุทธศาสนาห่างหายจากอินเดีย ๖๐๐ กว่าปี มีห้องสมุด ๓ แห่ง คือ รัตนาคร รัตนรัญชกะ รัตโนทธิ มีนักศึกษา ๑๐,๐๐๐ ท่าน ครูอาจารย์ ๑,๕๐๐ ท่าน เกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย ได้กล่าวไว้ว่า ห่างจากเมืองราชคฤห์ ๑ โยชน์ ( ๑๖ กิโลเมตร) ความหมายคำว่า นาลันทา บันทึก พระถัมชัมจั๋ง
น อลํ ททามิ = ไม่พอในการให้
นาลํ ทา = ให้ความชื่นใจ
อีกความหมายคือ นาลํ = ดอกบัว
ทาน =ให้

รวมกันคือ เมืองผู้ให้ดอกบัว, หรือเมืองผู้ให้ความรู้ และมีที่มาอีก นาลันทา คือเมืองพญานาคในภายมหาวิทยาลัยมีพระสถูปขนาดใหญ่ตั้งอยู่ เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์แห่งการเรียนรู้ ผู้มีปัญญาเหมือนกับพระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้า เพราะว่าเป็นที่เกิดที่นิพพานของพระสารีบุตร
ทุสสปาวาริกเศรษฐีได้ถวายสวนมะม่วงแก่พระพุทธเจ้าเพื่อสร้างอาราม เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ ชื่อ วัดปาวาริกัมพวัน เป็นการนำวัดหลายๆ วัดในบริเวณใกล้เคียงมาสร้างแหล่งเรียนรู้ จนกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่
ต่อมาศิษยานุศิษย์ของพระสารีบุตร ได้มาสร้างเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้ ได้รับการอุปถัมภ์เชิดชูจากกษัตริย์อาทิเช่น พระเจ้าอโศก-มหาราชเสด็จมาสร้างเจดีย์ ๒ องค์ กษัตริย์ในแคว้นมคธในยุคต่อๆ มา
พ.ศ. ๘๐๐ – ๙๕๓ ได้รับอุปถัมภ์จากราชวงศ์คุปตะ
พ.ศ. ๑๑๔๙ – ๑๒๒๓ ได้รับอุปถัมภ์จากพระเจ้าหรรษวรรธนะ
พ.ศ. ๑๓๐๓ – ๑๖๘๕ ได้รับอุปถัมภ์จากราชวงศ์ปาละ
ปัจจุบันทางรัฐบาลได้สร้างมหาวิทยาลัยนาลันทาแห่งใหม่ขึ้น เพื่อเชิดชูของเก่าที่ได้สูญหายไป

หลวงพ่อองค์ดำ
หลวงพ่อองค์ดำสร้างด้วยหินดำแกะสลักในสมัยพระเจ้าเทวปาละ ประมาณ พ.ศ. ๑๓๕๓ – ๑๓๙๓ อายุประมาณ ๑,๒๐๐ ปี เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ผู้คนในละแวกนั้นและชาวไทยให้ความเคารพสักการะอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสายปัจจุบันตั้งอยู่นอกรั้วมหาวิทยาลัย นาลันทาเก่า

วัดพุทธนานาชาติ
วัดพุทธนานาชาติอาทิเช่น วัดไทยนาลันทา วัดไทยสิริราชคฤห์

พระสูตรและชาดก
ปาฏิโมกข์ สามัญญผล เป็นต้น

กลุ่มพระชาวแคว้นมคธ
พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระราธะ พระอุปเสนะ พระมหาจุนทะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระมหาปันถก พระจุฬปันถก พระสภิยะ

ประวัติพระสารีบุตร
พระสารีบุตร หรือบุตรของนางสารี อยู่ที่หมู่บ้านอุปติสสคาม ตำบลนาลันทา มีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อ วังคันตะ ภรรยาชื่อนางสารี อุปติสสะและโกลิตะเป็นสหายกันตั้งแต่เล็ก วันหนึ่งไปเที่ยวงาน มหรสพเกิดความเบื่อ เพราะไม่สนุกเบิกบานใจเหมือนครั้งก่อน ทั้งสองต่างคิดว่า คนเรามีอายุไม่ถึง ๑๐๐ ปี จักตายเป็นแน่แท้ ถ้าอย่างนั้น มุ่งหาทางหลุดพ้น (แสวงหาโมกขธรรม)

- บวชในสำนักสัญชัยปริพาชก
ศึกษาในสำนักของอาจารย์สัญชัยจนจบในวิชา เมื่อเห็นว่าไม่มีประโยชน์ จึงมุ่งหน้าไปตามอาจารย์ สุดท้ายกลับมาที่เดิม ทำกติกากันว่า ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน ขอให้จงบอกแก่กันด้วย
- อุปติสสะพบพระอัสสชิ
ได้พบพระอัสสชิกำลังบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ ทีแรกคิดที่จะเข้าไปถาม แต่เห็นเป็นกาลไม่สมควร เมื่อพระอัสสชิไปสถานที่ฉันภัตตาหาร อุปติสสะจึงรีบจัดอาสนะถวาย นั่งปรนนิบัติ หลังเสร็จ ภัตตกิจ จึงถามว่า
“ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ใบหน้าของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชในสำนักของใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน และท่านชอบใจธรรมของใคร?” พระเถระตอบว่า “ปริพาชกผู้มีอายุ เราบวชจำเพาะพระมหา-สมณะศากยบุตร ผู้เสด็จออกจากศากยสกุล พระองค์เป็นศาสดาของ เราชอบใจธรรมของท่าน พระอัสสชิจึงกล่าวคาถาว่า
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ
พระตถาคตตรัสเหตุและความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้
(ธรรมที่เกิดแต่เหตุ คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ ทุกข์, เหตุแห่งธรรม คือ สมุทัย, ความดับแห่งธรรมเหล่านั้นคือ นิโรธและมรรคมีองค์ ๘)
อุปติสสะได้ตั้งอยู่ในโสดาบัน ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับ ไปเป็นธรรมดา” ขอให้พระอัสสชิไปเฝ้าพระบรมศาสดาล่วงหน้าก่อน ส่วนตนจะไปแสดงธรรมให้โกลิตะฟังอุปติสสะกล่าวคาถาบทเดิม โกลิตะตั้งอยู่ ในโสดาปัตติผล
- ชวนอาจารย์สัญชัย
ทั้งสองได้ชักชวนอาจารย์สัญชัยแต่ได้ถูกปฏิเสธ อาจารย์ถามกลับว่า
อาจารย์ : ในโลกนี้ คนโง่กับคนฉลาดอย่างไหนมากกว่ากัน
ศิษย์ : คนโง่ครับ คนฉลาดมีจำนวนน้อย
อาจารย์ : ถ้าอย่างนั้นพวกคนฉลาดๆ ควรไปสู่สำนักของ พระโคดม ส่วนพวกคนเขลาควรมาสำนักเรา ไปกันเถิด เราจักไม่ไป.... และได้พาบริวารไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ณ วัดเวฬุวัน
- ทูลขออุปสมบท

ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทอดพระเนตรเห็นทั้งสองเดินทางมาแต่ไกล จึงชี้ให้ภิกษุทั้งหลายว่า “บุคคลทั้งสองที่กำลังเดินมา จะเป็นอัครสาวกของเราในอนาคต” จบธรรมเทศนา ปริพาชก ๒๕๐ คน บรรลุพระอรหันต์ และได้ทูลขออุปสมบท พระโมคคัลลานะ อุปสมบทได้ ๗ วัน บำเพ็ญเพียรบ้าน กัลลวาลมุตตคาม พระองค์ทรงแสดงอุบายระงับความง่วง ๘ ประการ สำเร็จเป็นอรหันต์ ยกย่องเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เลิศทางมีฤทธิ์ พระสารีบุตรอุปสมบทได้ ๑๕ วัน ถวายพัดพระบรมศาสดาอยู่เบื้องหลังถ้ำสุกรขาตาพระองค์แสดงธรรมโปรดทีฆนขปริพพาชก (มีเล็บยาว) เป็นหลานของท่าน เรื่องอุบายแห่งการละทิฏฐิ ๓ ประการ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ส่วนฑีฆนขะ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระสารีบุตรได้รับยกย่องเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา เลิศทางปัญญา
- มารดาตำหนิที่ทิ้งทรัพย์ไปบวช
พระเถระพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป ไปบิณฑบาตยังเรือนมารดาในบ้านนาลกะ มารดานิมนต์แล้ว ถวายอาหารแล้วด่า
- ภิกษุทั้งหลายสรรเสริญพระเถระ
ภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันในโรงธรรมว่า “เมื่อมารดาของท่านด่าอยู่อย่างนั้น แม้เหตุสักว่าความโกรธ มิได้มีเลย” พระศาสดาตรัสว่า เราเรียกผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีตัณหาเครื่องฟูขึ้น ผู้ฝึกแล้ว มีสรีระในที่สุดนั้นว่าเป็นพราหมณ์
- พระสารีบุตรถูกภิกษุรูปหนึ่งฟ้อง
ออกพรรษาจะเทียวจาริกตามชนบทต่างๆ พระเถระทักทายปราศรัยกับภิกษุ มีภิกษุรูปหนึ่งพระเถระไม่ทันสังเกตไม่ได้ทักทาย เกิดความน้อยใจและโกรธ บังเอิญชายผ้าสังฆาฏิของพระเถระไปกระทบภิกษุรูปนั้น จึงนำเหตุนั้นไปฟ้องพระพุทธเจ้า
พระเถระได้อุปมาเปรียบเทียบตนเองเหมือนสิ่งของ ๙ อย่าง เช่น เหมือนเด็กจัณฑาล ที่มีความสงบเสงี่ยมเจียมตัวอยู่เสมอเวลาเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ เหมือนโค ที่ถูกตัดเขา ฝึกหัดมาดีแล้ว ย่อมไม่ทำร้ายใครๆ ภิกษุปุถุชนถึงกับตื้นตัน น้ำตาไหลออกมา กล่าวขอขมาโทษต่อพระเถระ
- ถูกพราหมณ์ตี พระเถระเป็นผู้มีขันติ ความอดทน พราหมณ์ผู้มีความเห็นผิด จะยั่วให้ท่านโกรธ ช่วงที่ท่านบิณฑบาต เดินไปข้างหลังใช้ฝามือตีกลางหลัง แต่ท่านไม่รู้สึกสะทกสะท้านเลย ความเร่าร้อนบังเกิดขึ้นทั่วร่างกายของพราหมณ์ ดังนั้นแล้ว จึงรีบขอขมาพระเถระ ท่านจึงอดโทษให้ นิมนต์พระเถระรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตน
- เคารพพระอัสสชิผู้เป็นอาจารย์
พระสารีบุตรเมื่อรู้ว่า พระอัสสชิอยู่ในทิศใด ก็จะประคองอัญชลีไปทางทิศนั้น นอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น
- ยักษ์ทุบศีรษะ
ตอนนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะอยู่ที่กโปตกันทราวิหาร ปลงผมใหม่นั่งเข้าสมาธิ มียักษ์สองสหาย ยักษ์อยากจะประหารที่ศีรษะของสมณะนี้ ยักษ์สหายอีกตนจึงห้ามไว้ ยักษ์นั้นไม่เชื่อได้ทุบศีรษะของท่านสารีบุตรเถระ (สามารถทำพญาช้างตั้ง ๗ ศอก หรือ ๘ ศอก ให้จมลงได้ หรือทำลายยอดภูเขาใหญ่) ยักษ์นั้นเร่าร้อน แล้วได้ตกลงไปสู่นรก
- สารีบุตรปราบวาทะของปริพาชก
นางปริพาชกต้องการจะโต้วาทะกับท่าน เมื่อแพ้แล้ว จึงขอบวชเป็นภิกษุณี ไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหันต์
- โปรดมารดาแล้วปรินิพพาน
เป็นธรรมเนียมที่พระอัครสาวกนิพพานก่อนพระบรมศาสดา เหลือเวลาเพียง ๗ วัน พระเถระขอถวายบังคมลาปรินิพพาน ที่ห้องเกิดในเรือนมารดา ฝ่ายนางพราหมณีทราบข่าวก็ดีใจ จึงสั่งให้คนจัดห้องพักให้ลูกชาย โยมแม่ได้เป็นแม่ของพระอรหันต์ถึง ๗ องค์ แต่ตนเองไม่ได้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย จึงทำให้เถระต้องไปโปรดมารดา
เทวดาชั้นต่างๆ ต้องการจะมาไหว้พระเถระ มีท้าวมหาราช ท้าวสักกะ และท้าวมหาพรหมชั้นสุทธาวาส นางพราหมณีนับถือพระพรหมอยู่แล้ว คิดว่าบุตรของเรามีอานุภาพเพียงนี้ พระพุทธเจ้าจะมีอานุภาพเพียงไหน เกิดปีติขึ้น หลังจากนั้น พระเถระได้แสดงธรรมพรรณนาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ยังมารดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ท่านปรินิพพาน ในวันปุรณมีขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๑๒ พระจุนทะได้นำอัฏฐิธาตุ และบริขารคือบาตรจีวรถวายแด่พระบรมศาสดารับสั่งใหบรรจุุอัฏฐิในเจดีย์ที่ซุ้มประตู ณ วัดพระเชตวัน
อดีตชาติ
ในอดีตชาติ ย้อนไปอสงไขยกัปยิ่งด้วยแสนกัป พระสารีบุตร ชื่อ สรทมาณพ พระโมคคัลลานะชื่อ สิริวัฑฒกุฎุมพี ทั้งสองเป็นเพื่อนเล่นด้วยกันมา บิดาล่วงลับแล้ว ได้มอบสมบัติให้ ท่านคิดว่า เราไม่รู้อัตภาพในโลกนี้ โลกอื่น ความตายเป็นของแน่นอน ควรบวชแสวงหาโมกขธรรม (ธรรมที่พ้นจากความตาย) ได้บวชเป็นดาบสจนได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ และมีคนติดตามบวชอีก ๗๔,๐๐๐ รูป
สมัยนั้น พระพุทธเจ้าอโนมทัสสี ได้อุบัติขึ้นแล้ว มีอัครสาวกคือ พระนิสภะเถระ และพระอโนมเถระ พระศาสดาได้เสด็จไปยังที่อยู่ของเขา ได้ปูอาสนะถวายกระทำเสนาสนะดอกไม้ถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา เมื่อจบเทศนา เว้นสรทดาบสเสีย ดาบส ๗๔,๐๐๐ รูป บรรลุพระอรหันต์ ทูลขอบวช สรทดาบสที่ไม่บรรลุ เพราะว่ามีจิตฟุ้งซ่าน
- ตั้งความปรารถนาเป็นอัครสาวก
อีกเหตุผลหนึ่งได้บรรลุคือ เห็นอัครสาวกแล้ว อยากจะเป็นเหมือนท่านบ้าง พระพุทธเจ้าที่จะอุบัติขึ้นในอนาคต ท่านจึงปริวิตก ไม่อาจทำให้ซึ่งมรรคผล ท่านถามพระพุทธเจ้าว่า ภิกษุที่นั่งติดพระองค์ชื่ออะไร พระองค์ตอบว่า นิสภเถระ สรทดาบสจึงได้ทำความปรารถนาว่า การกั้นฉัตรดอกไม้ตลอด ๗ วัน ด้วยผลสักการะนี้ ขอให้ได้เป็นอัครสาวกพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เหมือนนิสภเถระนี้ พระศาสดาทรงส่งอนาคตังสญาณ (ปัญญาหยั่งรู้อนาคต) ครั้นทรงเห็นแล้ว จึงตรัสว่า เธอจะเป็นอัครสาวกของพระโคดม นามว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ให้สหายปรารถนาสาวกที่สอง บอกข่าวแก่สหาย ให้ท่านจงปรารถนาตำแหน่งสาวกที่สองเถิด สิริวัฑฒกุฎุมพีทำมหาทานตลอด ๗ วัน ตั้งความปรารถนาตรงต่อพักตร์ พระองค์ทรงพยากรณ์ ท่านจักได้เป็นอัครสาวกที่สองของพระโคดมพระพุทธเจ้า สิริวัฑฒกุฎุมพีเสียชีวิตแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลก
สรทดาบส เจริญพรหมวิหาร ๔ บังเกิดในพรหมโลก

ประวัติพระโมคคัลลานะ
ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ เป็นบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณี บ้านโกลิตคาม
- อุบายแก้ง่วง ๘ ประการ
๑. คิดถึงเรื่องใดอยู่ ให้คิดถึงเรื่องนั้นให้มาก
๒. พิจารณาธรรมที่ได้สดับมา
๓. สาธยายที่ได้สดับมา
๔. ยอนช่องหูทั้งสองข้าง
๕. เอามือลูบตัว เอาน้ำล้างหน้า
๖. นึกถึงความสว่างหรือแสงสว่าง
๗. จงกรม เดินกลับไปกลับมา
๘. นอนแบบสีหไสยาสน์
และภิกษุไม่พึงชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล จักไม่พูดถ้อยคำอันเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน พึงเสพเสนาสนะอันสงัด ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญ
- พระโมคคัลลานะไปเทวโลก
พระเถระไปยังเทวโลก เห็นวิมานของเทพธิดา จึงถามว่า สมบัติของท่านทั้งหลาย ท่านได้เพราะทำกรรมอะไร บ้างก็ตอบว่า รักษาคำสัตย์ ไม่โกรธตอบ หรือได้ถวายไม้ผล เป็นต้น เมื่อกลับจากเทวโลก ได้กราบทูลถามพระพุทธองค์ ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกับพระโมคคัลลานะนั้นว่า “โมคคัลลานะ บุคคลกล่าวเพียงคำสัตย์ก็ดี ละเพียงความโกรธก็ดี ถวายทานเพียงเล็กน้อยก็ดี ย่อมไปถึงเทวโลกได้แท้ ดังนี้
- ปราบนันโทปนันทนาคราช
ตอนนั้น นาคราชอยู่ในข่ายพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เสด็จยังดาวดึงส์เทวโลกพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป อยู่เหนือวิมานนาคราช เกิดความไม่พอใจไปยังเชิงภูเขาสิเนรุ ขนดโอบวงภูเขาสิเนรุ ๗ รอบ แผ่พังพานไว้เบื้องบน แล้วเอาพังพานคว่ำลงบังภพดาวดึงส์ไว้ ให้ถึงการมองไม่เห็นเขาสิเนรุ พระโมคคัลลานะทูลขออาสาทรมานนาคราชนั้น กระทำให้ หมดพยศ พาไปยังสำนักพระบรมศาสดา และได้ขอถึงพระองค์เป็นสรณะ
- เขย่าบุพพารามปราสาทเตือนภิกษุใหม่
พวกภิกษุใหม่ๆ กล่าวเดรัจฉานกถา คือ การพูดเรื่องไร้สาระอันขัดขวางมรรค ผล นิพพาน พระโมคคัลลานะเอานิ้วหัวแม่เท้ากดยอดปราสาท ทำให้โอนเอียงไปมา ภิกษุใหม่ตกใจรีบมาออกเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา จบเทศนา ภิกษุได้เข้าถึงมรรคผล นิพพพาน
- เขย่าเวชยันตปราสาทของท้าวสักกะ
บันดาลให้เวชยันตปราสาทสั่นสะเทือน เพื่อเตือนสำนึกให้พระอินทร์ไม่ประมาทมัวเมา
- การปรินิพพานของพระโมคคัลลานะ
ลาภได้เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา ทำให้พวกเดียรถีย์เกิดความอิจฉา ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า พระโมคคัลลานะไปยังเทวโลกหรือนรก กลับมานำเรื่องบอกแก่มนุษย์ พวกเดียรถีย์ให้ทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะแก่กลุ่มโจรเพื่อฆ่าพระโมคคัลลานะ พระเถระ หลบออกไปทางช่องลูกกุญแจ พวกโจรทำลายมณฑล พวกเดียรถีย์นั้นไม่อาจจับพระเถระได้ พระเถระทราบภาวะแห่งอกุศลที่ท่านได้เคยทำไว้ จึงมิได้หลบเลี่ยง พวกโจรจับพระเถระ ทุบกระดูกให้แตกเป็นชิ้นเล็ก มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก แล้วโยนไว้หลังพุ่มไม้ พระเถระประสานกายด้วยฌาน แล้วไปสู่สำนักพระบรมศาสดา กราบทูลลาปรินิพพาน
ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงหน่วยสอดแนม รับสั่งให้จับสมณะเปลือย ๕๐๐ คนประหารชีวิต

- บุพพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ
เคยเกิดเป็นลูกชาวเมืองพาราณสี มารดาบิดาตาบอด ต่อมาได้นำหญิงสาวมาให้เขา อยู่ได้ไม่กี่วัน หญิงสาวเบื่อในการเลี้ยงดู นางได้ใส่ร้ายมารดาบิดา ด้วยการทิ้งข้าวของเกลื่อนทั่วบ้าน บอกสามีว่า เป็นการกระทำของพ่อแม่ สามีไม่เชื่อ ครั้นพูดบ่อยๆ เข้าก็เอนเอียงเข้าข้างกับภรรยา วางอุบายที่จะลวงฆ่ามารดาบิดา ระหว่างที่จะไปเยี่ยมญาติ จึงขอให้พ่อแม่ถือเชือกไว้ แล้วเปลี่ยนเสียงดุจโจร พ่อแม่ได้ยินเสียงนั้นกล่าว “ลูกเอ๋ย แม่และพ่อแก่แล้ว เจ้าจงรักษาตัวเจ้าเถิด” ทุบตีมารดาบิดา แม้ท่านจะร้องอยู่ ทิ้งศพไว้ในป่า แล้วกลับบ้าน
พระพุทธเจ้ารับสั่งเรื่อง พระโมคคัลลานะ ทำกรรมได้ตกนรกหลายแสนปี ด้วยวิบากที่ยังเหลือ จึงถูกทุบตี ละเอียดหมดสิ้น ๑๐๐ อัตภาพ

ประวัติพระมหากัสสปเถระ
พระมหากัสสปะ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปะบ้านมหาติฏฐะ แคว้นมคธ ชื่อเดิมของท่านคือ “ปิปผลิ” เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี วัย ๑๖ ปี พราหมณ์ตระกูลโกลิยะ ณ เมืองสาคลนคร แคว้นมคธ เมื่อปิปผลิมาณพ อายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้ปรึกษากันว่าจะหาภรรยาให้แก่บุตรชาย จึงได้มอบเงินและทองให้แก่พราหมณ์ ๘ คน เพื่อสืบแสวงหาสาวงานที่มีฐานะเสมอกัน พราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวสืบแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ ได้พบธิดาของโกลิยพราหมณ์นามว่า “ภัททกาปิลานี” แม้เวลาจะขึ้นเตียงนอนก็ขึ้นกันคนละข้าง มีแจกันดอกไม้ตั้งอยู่ตรงกลางเตียง ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองอยู่ร่วมกันนั้น มิได้สัมผัสถูกต้องกันเลย เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงานทุกอย่างจึงเป็นภาระของสองสามีภรรยา
จนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่ปิปผลิกำลังตรวจดูทาสและกรรมกรทำงานอยู่ในไร่นา ได้เห็นนกกาจิกกินสัตว์น้อยมีไส้เดือนเป็นต้น ก็รู้สึกสงสารและสลดใจที่สัตว์เหล่านั้นต้องตายเพราะตนเป็นเหตุ ส่วนนางภัททกาปิลานี ก็ให้คนนำเมล็ดถั่วงาออกมาตากที่ลานหน้าบ้าน เห็นหมู่นกกามาจิกกินตัวหนอนและแมลงต่าง ๆ ก็เกิดความสงสารและสลดใจเช่นกัน เมื่อสองสามีภรรยามีโอกาส อยู่กันตามลำพังได้สนทนาถึงเรื่องความในใจของกันและกันแล้ว จากนั้นทั้งสองก็มีความคิดตรงกันว่า“ผู้อยู่ครองเรือน แม้จะไม่ได้ลงมือทำการงานเอง แต่ก็ต้องคอยรับบาปที่ทาสและกรรมกรทำให้” จึงเกิดความเบื่อหน่ายเพศฆราวาสพร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติและบริวาร ส่วนทั้งสองสามีภรรยาพากันออกบวช พอถึงทางสองแพร่งจึงแยกทางกัน ปิปผลิไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานี ไปทางซ้าย
อุปสมบทด้วยวิธีโอวาท ๓ ข้อ
ปิปผลิ เดินทางไปตามลำดับ ได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับที่ภายใต้ร่มไทร ระหว่างกรุงราชคฤห์กับนาลันทา จึงน้อมกายกราบถวายบังคมแทบพระบาท กราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ ประทานการอุปสมบทด้วยวิธีให้รับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า
“โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา” โอวาท ๓ ข้อนั้นคือ
๑) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นพระเถระผู้เฒ่า ผู้มีพรรษาปานกลาง และทั้งผู้บวชใหม่
๒) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักฟังธรรม บทใดบทหนึ่งอันประกอบด้วยกุศลด้วยความตั้งใจฟังโดยเคารพ และพิจารณาจดจำเนื้อความธรรมบทนั้น
๓) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่ละสติไปในกาย คือ พิจารณากายเป็นอารมณ์โดยสม่ำเสมอ
บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบทได้ ๘ วัน ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรมสั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทานธุดงค์ ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด คือ
๑) ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร
๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
๓) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้ทรงธุดงค์ นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ:-
ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่งท่านได้พับผ้าสังฆาฏิของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่ง ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่าน แล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการคือ:-
๑) กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้งหลายควรถือเป็นแบบอย่าง
๒) กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคนใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น ตั้งจิตเป็นกลางว่า “ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็มีใจเป็นฉันนั้น”
๓) กัสสปะ มีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น
๔) ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช้สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง
ครั้งหนึ่งพระเถระพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิ เข้าฌานสมาบัติอยู่ ๗ วัน ออกจากฌานแล้วเข้าไปบิณฑบาต ในบ้านหญิงสาวคนหนึ่งเห็นพระเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้นำข้าวตอกใส่บาตร ฝ่ายนางกุลธิดานั้นมีจิตเอิบอิ่มด้วยทานที่ตนถวาย ขณะเดินกลับบ้านถูกงูพิษกัดตาย และได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า “ลาชา” (ลาชา = ข้าวตอก) มีวิมานทองประดับด้วยขันทองห้อยอยู่รอบ ๆ นางมองดูสมบัติทิพย์ที่ตนได้แล้วก็ทราบว่าได้มาเพราะถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นบุญเพียงเล็กน้อย นางต้องการที่จะเพิ่มผลบุญให้มากยิ่งขึ้น จึงลงจากเทวพิภพเข้าไปปัดกวาดเสนาสนะและบริเวณที่พักของพระเถระ จัดตั้งน้ำใช้น้ำฉันเสร็จแล้ว กลับยังวิมานของตน พระเถระคิดว่ากิจเหล่านี้คงจะมีพระภิกษุหรือสามเณรมาทำให้ ในวันที่สองที่สาม นางเทพธิดามาทำเหมือนเดิม แม้พระเถระก็คิดเช่นเดิม แต่พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดและเห็นแสงสว่างจากช่องกลอนประตูจึงถามว่า “นั่นใคร ?”
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเทพธิดาชื่อลาชา เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน”
พระเถระคิดว่า หญิงผู้เป็นอุปัฏฐากของเราชื่ออย่างนี้ไม่มี จึงเปิดประตูเห็นนางเทพธิดา กำลังปัดกวาดอยู่ จึงสอบถามทราบความโดยตลอดตั้งแต่ต้นแล้ว จึงกล่าวห้ามว่า “กิจที่เธอทำแล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ต่อแต่นี้เธอจงอย่างมาทำอีก เพราะในอนาคต จะมีพระธรรมกถึกยกเอาเหตุนี้เป็นตัวอย่างอ้างแก่พุทธบริษัททั้งหลายว่า “พระมหากัสสปะมีนางเทพธิดามาปฏิบัติใช้สอย ดังนั้น เธอจงกลับไปเถิด” นางเทพธิดาได้อ้อนวอนช้ำแล้วช้ำเล่าว่าขอพระคุณเจ้าอย่างทำให้ดิฉันประสบหายนะเลย ขอให้ดิฉันได้ครองสมบัติทิพย์นี้ตลอดกาลนานเถิด พระเถระเห็นว่านางเทพธิดาดื้อดึงไม่ยอมฟังคำ จึงโบกมือพร้อมกล่าวขับไล่นางออกไป นางลาชาเทพธิดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จงเหาะขึ้นไปบนอากาศยืนประนมมือร้องไห้เสียดายที่ไม่มีโอกาสทำทิพยสมบัติของตนให้ถาวรได้
หลังจากพระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน พระมหากัสสปะได้ทราบข่าวจากอาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ กล่าวจ้วงจาบล่วงเกิน ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้ เป็นหมวดหมู่
ในคัมภีร์พระสาวกนิพพานกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้วทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวันเดียวเท่านั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู
จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริยิ์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิตขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูขาทั้ง ๓ ลูกนั้นมีภูเขาเวภารบรรพตรวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน
ท่านยังอธิษฐาน ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั่งพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิดขึ้นเผาสรีระของท่านบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น

ประวัติพระมหาปันถกเถระ
พระมหาปันถก เป็นลูกชายของธิดาของธนเศรษฐี เมืองราชคฤห์ มีน้องชายอีกคนหนึ่ง ซึ่งพี่น้องทั้งสองคนนี้เดิมชื่อว่า “ปันถก” เหมือนกันแต่เพราะท่านเป็นคนพี่จึงได้นามว่า “มหาปันถก” ส่วนคนน้องได้นามว่า “จูฬปันถก” ทั้งสองพี่น้องถือว่าอยู่ในวรรณะจัณฑาล เพราะพ่อแม่ต่างวรรณะกันโดยพ่อเป็นวรรณศูทร ส่วนแม่เป็นวรรณแพศย์ มารดาของท่านนั้น เป็นธิดาของธนเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญเติบโตย่างเข้าสู่วัยสาว อยู่บนปราสาทชั้นสูงสุด คบหากับคนรับใช้ ต่อมาทั้งสองกลัวว่าบิดามารดา จึงพากันหนีออกจากบ้านไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านอื่น จนภรรยาตั้งครรภ์
เมื่อสามีออกไปทำงานข้างนอก นางจึงหนีออกจากบ้าน เดินทางมุ่งหน้าสู่บ้างเกิดของตนเอง แต่ครรภ์ของนางได้รับการกระทบกระเทือนจึงคลอดบุตรในระหว่างทาง ฝ่ายสามีกลับเข้าบ้านไม่พบภรรยา ออกติดตามโดยด่วน ได้มาพบภรรยาคลอดลูกอยู่ในระหว่างทาง นั้นก็เสร็จสิ้นลงแล้ว จึงพากันกลับสู่บ้านของตน และได้ตั้งชื่อกุมารนั้นว่า “ปันถก” เพราะว่าเกิดในระหว่างหนทางครั้นต่อมา นางได้ตั้งครรภ์เป็นครั้งที่สอง และเหตุการณ์ก็เป็นเหมือนครั้งแรก นางได้คลอดลูกระหว่างทางอีก จนในที่สุดบิดามารดาอดทนต่อการรบเร้าไม่ไหว จึงตัดสินใจพาลูกทั้งสองไปพบ ตา ยาย ที่เมืองราชคฤห์
ฝ่ายเศรษฐียังมีความแค้นเคืองอยู่ จึงบอกแก่คนที่มาส่งข่าวว่า “สองผัวเมียนั้น อย่ามาให้เห็นหน้าเลย ถ้าอยากได้ทรัพย์สินเงินทอง ก็จงเอาไปเลี้ยงชีพเถิด แต่ขอให้ส่งหลานชายทั้งสองคนมาให้ก็แล้วกัน” ฝ่ายเศรษฐีก็เลี้ยงดูหลาน ๆ ด้วยความรักใคร่ พาไปฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาที่วัดเวฬุวันเป็นประจำ แต่ถึงอย่างไร หลานทั้งสองก็สร้างความลำบากใจแก่เศรษฐีผู้เป็นตาอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อมีคนถามว่า “หลานชายทั้งสองคนนี้เป็นบุตรของลูกสาวคนไหนของท่าน” ก็รู้สึกละอายที่จะตอบ “เป็นบุตรของลูกสาวคนที่หนีตามชายหนุ่มไป”
ดังนั้น เมื่อต่อมา มหาปันถก หลานคนโตเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กล่าวขออนุญาตเพื่อบรรพชาเป็นสามเณร อายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระบรมศาสดาได้ทรงมอบหมายให้ท่านรับหน้าที่ “ภัตตุทเทศก์” ผู้แจกจ่ายภัตตาหารและกิจนิมนต์ ท่านได้ระลึกถึงน้องชายของท่าน จึงไปขออนุญาตจากคุณตาแล้วพาจูฬปันถก ผู้เป็นน้องชายมาบวช
พระมหาปันถก เป็นผู้มีความชำนาญในการเจริญวิปัสสนา จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้เจริญวิปัสสนา ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

ประวัติพระจูฬปันถกเถระ
พระจูฬปันถก เป็นน้องชายพระมหาปันถก เมื่อพระมหาปันถก พระพี่ชายมีความปรารถนาจะให้จูฬปันถก น้องชายมีความสุขเช่นนั้น ผู้เป็นพี่ชายได้สอนคาถาพรรณนาพุทธคุณหนึ่งคาถา ความว่า...
ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ
ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ
องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ
ตปนุตมาทิจฺจมิวนฺตลิกเข ฯ
“ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท ขยายกลีบแย้มบาน ตั้งแต่ เวลารุ่งอรุณยามเช้า กลิ่นเกษรหอมระเหยไม่รู้จบเธอจงพินิจดู พระสักยมุนีอังคีรส ผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงทิวากรส่องสว่าง อยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น” ด้วยคาถาเพียงคาถาเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าพระจูฬปันถก เรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้ ท่านพระมหาปันถกพี่ชาย พยายามเคี่ยวเข็ญอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดก็เห็นว่าท่านเป็นคนโง่เขลาปัญญาทึบ เป็นคนอาภัพในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถจะบรรลุคุณพิเศษเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาได้ จึงตำหนิประณามท่านแล้วขับไล่ออกจาก สำนักไป ในวันนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้กราบอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ไปเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของตน ในฉันภัตตาหารที่บ้านของหมอชีวกโกมารภัจจ์นั้น เว้นเฉพาะพระจูฬปันถก เพียงรูปเดียวเหลือไว้ในพระอาราม พระจูฬปันถก เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในชีวิตและวาสนาของตนเอง คิดว่าตนเองเป็นอาภัพบุคคลในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถที่จะบรรลุโลกุตตรธรรมได้ จึงตัดสินใจที่จะสึกออกไห้เป็นฆราวาสจึงได้หลบออกจากวัดตั้งแต่เช้าตรู่ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นเธอเดินมาจึงตรัสถามว่า จูฬปันถก นั้นเธอจะไปไหน
ข้าพระพุทธเจ้าจะไปลาสิกขา พระเจ้าข้า
“จูฬปัถก เธอมิได้บวชเพื่อที่ชาย เธอบวชเพื่อตถาคตต่างหาก เมื่อพี่ชายขับไล่เธอ เหตุไฉนเธอจึงไม่มาหาตถาคต มาอยู่กับตถาคตจะประเสริฐกว่า” พระบรมศาสดา พาเธอไปที่พระคันธกุฏี ประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ผืนเล็กๆ ให้เธอผืนหนึ่ง แล้วทรงแนะนำให้เธอบริกรรมด้วยคาถาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ เริ่มปฏิบัติบริกรรมคาถาลูบคลำผ้าที่พระพุทธองค์ประทานให้เธอบริกรรมได้ไม่นาน ผ้าขาวที่สะอาดบริสุทธิ์ผืนนั้น ก็เริ่มมีสีคล้ำเศร้าหมองเหมือนผ้าเช็ดมือ จึงคิดขึ้นว่า “ผ้าผืนนี้เดิมทีมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่อาศัยการถูกต้องสัมผัสกับอัตภาพของเรา จึงกลายเป็นผ้าสกปรก เศร้าหมอง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ” แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานยกผ้าผืนนั้นขึ้นเปรียบเทียบกับ อัตตภาพร่างกายเป็นอารมณ์ ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ คือปัญญาอันแตกฉานมี ๔ ประการคือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
ครั้งรุ่งเช้า เมื่อหมอชีวกน้อมนำภัตตาหารเข้าไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ทรงปิดบาตรแล้วตรัสว่า “ยังมีพระภิกษุอีกรูปหนึ่ง อยู่ที่วัด” หมอชีวกจึงส่งคนไปนิมนต์ให้ท่านมาฉันภัตตาหาร ขณะนั้น พระจูฬปันถก เพื่อจะประกาศความเป็นพระอรหันต์ของตน ให้ปรากฏ จึงได้เนรมิตพระภิกษุขึ้นถึงจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ในพระอารามอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ กัน บ้างก็สาธยายพุทธคุณ บ้างก็ซักจีวร บ้างก็ย้อมจีวร เป็นต้น
เมื่อคนรับใช้มาถึงวัดได้เห็นพระภิกษุจำนวนมากมายอย่างนั้น จึงรีบกลับไปแจ้งแก่หมอชีวก พระพุทธองค์ทรงสดับอยู่ด้วย จึงรับสั่งให้คนใช้นั้นไปนิมนต์ท่านที่ชื่อจูฬปันถก คนรับใช้ไปกราบนิมนต์ตาม พระดำรัสนั้น ด้วยคำว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้า พระบรมศาสดารับสั่งให้มานิมนต์พระจูฬปันถก ขอรับ” ปรากฏว่าพระภิกษุทุกรูปต่างก็พูดเหมือนกันว่า “อาตมา ชื่อพระจูฬปันถก” คนรับใช้ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงต้องกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดา ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีก พระพุทธองค์ ตรัสแนะว่า:- “ถ้าพระภิกษุรูปใดพูดขึ้นก่อน เธอจงจับมือภิกษุรูปนั้นไว้แล้วนำท่านมา ส่วนพระภิกษุที่เหลือก็จะหายไปเอง”
คนรับใช้ ปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำนั้นแล้ว ได้นำพระจูฬปันถก สู่ที่นิมนต์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาทรงมอบให้ท่านเป็นผู้กล่าวภัตตานุโมทนา อันเป็นการเสริมศรัทธาแก่ทายกทายิกา
บุพกรรมของพระจูฬปันถก
ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระจูฬปันถก ได้บวชเป็นพระภิกษุในครั้งนั้นด้วย ท่านเป็นผู้มีปัญญาดี จำทรงหลักธรรมคำสอนได้เร็วแม่นยำ ท่านเห็นเพื่อนภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งปัญญาทึบ ท่องสาธยายหัวข้อธรรมเพียงบทเดียวก็จำไม่ได้ จึงหัวเราะเยาะท่าน ทำให้ภิกษุรูปนั้นเกิดความอับอายเลิกเรียนสาธยายหัวข้อธรรมนั้น เพราะกรรมเก่าในครั้งนั้นจึงเป็นผล ติดตามให้ท่านมีปัญญาทึบโง่เขลาในอัตภาพนี้
พระจูฬปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เป็นกำลังช่วยกิจการพระศาสนาตามความสามารถของท่านและโดยที่ท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมโนมยิทธิ พระบรมศาสดาจึงทรงยกยองท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
ประวัติชีวกโกมารภัจจ์
ชีวกโกมารภัจจ์ เป็นลูกนางสาลวดี หญิงโสเภณีในเมืองราชคฤห์ เมื่อคลอดบุตรชาย จึงนำไปทิ้งกองขยะ เพราะไม่สามารถสืบสายอาชีพได้ อภัยราชกุมาร พบเข้า จึงนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมตั้งชื่อให้ว่าชีวกโกมารภัจจ์ แปลว่า ผู้ยังมีชีวิตรอดมาได้ ตอนเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดมาก
- เรียนแพทย์ที่ตักกสิลา
เมื่อเติบโต ทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า จึงหนีไปกับกองเกวียนพ่อค้าไปยังเมืองตักกสิลา ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาแพทย์กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ชื่อ พระฤาษีโรคาพฤกษตริณณา เรียนอยู่ ๗ ปีจนจบ ปกติหลักสูตรหมอที่ตักกศิลาเรียน ๑๖ ปี
ปรึกษาอาจารย์ในความรู้ของตนอาจจะไม่สมบูรณ์ อาจารย์จึงสั่งให้ไปหาต้นไม้ ใบไม้ พืชที่ใช้ทำยาไม่ได้ เอามาให้อาจารย์ เขาไปในป่าหาอยู่หลายวัน ไม่พบพืชที่ทำยาไม่ได้ ไปรายงานแบบผิดหวัง กลัวว่าจะถูกตำหนิ แต่อาจารย์บอกว่า เธอเรียนจบแล้ว ออกไปรักษาคนไข้ได้ ลาอาจารย์กลับบ้านเกิดเมืองนอน มุ่งหน้าสู่เมืองราชคฤห์

- คนไข้รายแรก
เสบียงที่อาจารย์มอบให้ใกล้จะหมด ระหว่างทางได้รักษาภริยาเศรษฐีเมืองสาเกตเป็นโรคปวดศีรษะเป็นเวลา ๗ ปี หมอชีวกประกอบยาให้นัตถุ์เข้าทางจมูก ฤทธิ์ยาทำให้คนไข้อาเจียนออกมาทางปาก ได้รับค่าตอบแทน ๑๖,๐๐๐ กหาปณะ ถึงเมืองราชคฤห์ได้เข้าเฝ้าพระอภัยราชกุมาร ได้ถวายเงินรางวัลที่ได้จากการรักษา แต่พระอภัยกุมารนำคืนให้

- ประวัติการรักษาโรคครั้งสำคัญ
๑. รักษาโรคริดสีดวงทวารของพระเจ้าพิมพิสาร จนได้รับราชทานสวนมะม่วง และแต่งตั้งให้เป็นแพทย์หลวง
๒. ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ ปวดมาเกือบ ๑๐ ปี
๓. ผ่าตัดโรคฝีในลำไส้ให้ลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี
๔. รักษาโรควัณโรคปอดของพระเจ้าจัณฑปัชโชต เมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี
หมอชีวกได้ผสมยาโดยเคี่ยวใส่เนยใส นำไปถวายพระเจ้าจัณฑ-ปัชโชต รีบไปที่โรงช้าง เพื่อขอช้างชื่อภัททวดี โดยออกอุบายว่าไปเก็บตัวยาในป่า รีบออกจากกรุงอุชเชนี พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยแล้ว ตัวยาละลายได้กลิ่นเนยใส ทรงโกรธมาก รับสั่งให้ทหารไปจับตัวหมอชีวกกลับมาลงโทษ ทหารฝีเท้าเร็วก็ถูกหมอชีวกหลอกให้กินยาระบายจนถ่ายท้องหมดเรี่ยวแรง จนหมอชีวกหลบหนีไปได้
หลังจากนั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชต หายเป็นปกติ รู้สึกขอบใจหมอชีวก ได้ราชทานผ้าเนื้อดีจากแคว้นกาสี หมอชีวกเห็นว่าผ้าเนื้อดีสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงเก็บรักษาไว้
- แพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์
พระเจ้าพิมพิสาร ยังมอบให้เป็นแพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ และเคยได้ถวายการรักษาพระศาสดาครั้งสำคัญ ๒ ครั้ง ครั้งแรก ได้ปรุงยาระบาย เพื่อระบายสิ่งหมักหมมในพระวรกายออก
ครั้งที่สอง ตอนที่พระเทวทัตกลิ้งหินหมายปลงพระชนม์พระศาสดา

- กราบทูลขอพรห้ามบวชคนที่มีโรคติดต่อ
หมอชีวกรักษาพระภิกษุสงฆ์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย บางคนมาบวชเพื่อหวังรักษาโรค พอหายก็สึกออกไปเป็นโยม บางคนมาบวชหวังรักษาโรคได้นำเชื้อโรคมาแพร่เชื้อภายในวัด ด้วยเหตุดังกล่าว กราบทูลขอพรว่า คนที่มีโรคติดต่อ ๕ ชนิด ไม่สามารถบวชได้ในพระพุทธศาสนาคือ
๑. กุฏฐัง โรคเรื้อน
๒. คัณโฑ โรคฝีดาษ
๓. กิลาโส โรคกลาก
๔. โสโส โรคไข้มองคร่อ
๕. อปมาโร โรคลมบ้าหมู

- กราบทูลขอพรให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้
ก่อนที่จะถวายผ้าเนื้อดีจากแคว้นกาสี ได้กราบทูลขอพรว่า ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตตามที่ขอ ท่านหมอคงเห็นความลำบากของภิกษุสงฆ์ใช้ผ้าบังสุกุล คือผ้าที่ทิ้งตามกองขยะ หรือผ้าห่อศพที่ทิ้งไว้ตามป่า พระศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนาบุญ จบพระธรรมเทศนา หมอชีวกโกมารภัจได้ดวงตาเห็นธรรมคือพระโสดาบัน
- สร้างวัดชีวกัมพวัน
วัดชีวกัมพวัน มาคำว่า ชีวก + อัมพวัน หมอชีวกใช้พื้นที่สวนมะม่วงถวายเป็นอารามไว้พระพุทธศาสนา มีพระคันธกุฎีพระพุทธเจ้า กุฎีสงฆ์ ศาลาฟังธรรม บ่อน้ำ และกำแพงรอบวัด หมอชีวกทำการรักษาพระเจ้าพิมพิสารจนหายขาด พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์และที่ดิน แต่หมอชีวกรับเพียงอย่างเดียวคือสวนมะม่วง ด้วยเหตุที่วัดเวฬุวันอยู่ไกลบ้าน ไปมาไม่สะดวก เพราะปกติหมอชีวกเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าวันละ ๒ เวลาคือ เช้า-เย็น ในวันฉลองพระอาราม หลั่งน้ำทักษิโณทกให้ตกลงบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศาสดา กล่าวคำอุทิศถวายให้เป็นศาสนสถานอยู่จำพรรษาของภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔
- พาพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระเทวทัตยุยงอชาตศัตรูราชกุมาร ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร หลังจากนั้นไม่นาน พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทราบข่าวสะดุ้งกลัวอย่างมาก ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ กลัดกลุ้มใจเป็นที่สุด วันหนึ่งนอนไม่หลับจึงเรียกอำมาตย์เข้าเฝ้าเพื่อปรึกษาว่า มีสมณพราหมณ์ท่านใด ที่ทำให้จิตใจสงบได้บ้าง พวกอำมาตย์ได้เสนอเดียรถีย์อาจารย์ของตน ได้แก่ ครูทั้ง ๖ ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูเคยไปฟังมาแล้ว แต่ไร้สาระทั้งสิ้น
พระเจ้าอชาตศัตรู กราบทูลแนะนำให้ไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมบรมศาสดา ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับบ้านของตน พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา สามัญญผลสูตร จบเทศนา ถ้าพระองค์ไม่ได้ฆ่าบิดา จะได้บรรลุธรรมชั้นใดชั้นหนึ่ง
หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ทำคุณประโยชน์ แก่พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน พระบรมศาสดาได้ทรงยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ในฝ่ายผู้เลื่อมใสในบุคคล

ประวัติศาสตร์นาลันทา
พระศาสดา เสด็จมาประทับหลายครั้ง ณ ปาวาริกกัมพวันของ ท่าน ทุสสปาวาริกเศรษฐี

- เป็นสถานที่เกิดและนิพพานของท่านพระสารีบุตร
- สมัยพุทธกาล ชื่อหมู่บ้านนาลกะ - สารีบุตร - โมคคัลลานะเกิดที่นี่
- เมื่อสารีบุตรนิพพานที่นี่ ชาวเมืองถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงพากันปรับแต่งห้องเกิด
-นิพพานเป็นเจติยสถาน เพื่อการสักการะบูชา ต่อมาศิษยานุศิษย์ของท่านสารีบุตรสร้างกุฏิ วิหารรอบเจดีย์ใช้เป็นที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม จนถึง สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นาลันทามหาวิทยาลัยของโลก
ฯพณฯศรีเยาวหราลเนห์รู (ใน Glimpses of world History ) ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพในอินเดียยุคนั้นมี ๔ เมือง คือ ตักกสิลา, มถุรา, อุชเชนี และ นาลันทา แต่ต่างประเทศยอมรับคือ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”

นาลันทาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
หลังสังคายนาครั้งที่ ๓ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕ พระเจ้าอโศกฯ เสด็จมา สร้างเจดีย์บูชาไว้ ๒ องค์ เพื่อบูชาพระสารีบุตรและโมคคัลลานะ และสร้างกุฏิวิหาร ณ บริเวณวัดปาวาริกัมพวันใกล้ ๆ เจดีย์ให้เป็นที่พำนักแก่สงฆ์ผู้คงแก่เรียน นาลันทาสมัยนาคารชุนเป็นสมภาร

สมัยนี้นิยมเรียนเรื่องสุญญตา ความว่าง ความปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น มีการสอบสัมภาษณ์ปฏิภาณผู้เข้าเรียน นาลันทาสมัยราชวงศ์คุปตะ
- พ.ศ. ๘๐๐ เศษพระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๑ ( ศักราทิตย์ราชา ) มาเมืองนาลันทา เห็นการศึกษาเจริญรุ่งเรือง จึงให้การอุปถัมภ์สร้างสังฆารามถวายสงฆ์ พระเจ้าพุทธคุปตะ พระเจ้าตถาคตคุปตะ พระเจ้าพาลาทิตยะและพระเจ้าวัชระ ต่างสร้างวัดถวายและให้ความอุปถัมภ์อย่างดี
- พ.ศ. ๙๔๔ – ๙๕๓ หลวงจีนฟานเหียน มาแต่ไม่มีบันทึกอะไรมากนัก
-พ.ศ. ๑๑๔๙- ๑๑๙๑ พระองค์ให้ความอุปถัมภ์เป็นอย่างดีเยี่ยมเมตตาพระราชทานหมู่บ้าน ๑๐๐ ตำบลเพื่อผลประโยชนของนาลันทาจัดอาสาสมัครหมู่บ้านละ ๒ คน ต่อมาเพิ่มอีก ๑๐๐ ตำบล เป็น ๒๐๐ ตำบล พระองค์นิมนต์พระสงฆ์ประชุมและฉันที่วัง ณ เมืองกาโนชปีหนึ่ง ๒๑ วันจนถือเป็นประเพณีปฏิบัติ

สมัยพระเจ้าหรรษวรรธนะ -พ.ศ. ๑๑๗๒ – ๑๑๘๗ พระถังซัมจั๋ง มาสืบพระศาสนาได้บันทึกไว้ว่ามีนักศึกษา ๑๐,๐๐๐ ท่าน ครู – อาจารย์ ๑๕๐๐ วิชาการที่เล่าเรียนมี ๕ วิชา ได้แก่
๑. พุทธปรัชญา
๒. ตรรกวิทยา
๓. ไวยากรณ์ หรือ วรรณคดี
๔. ศาสนาพราหมณ์
๕. แพทย์ศาสตร์
วิชาบังคับ คือ พระไตรปิฎกทั้งของเถรวาทและมหายาน
ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันโมริยะสร้างพระพุทธรูปทองแดงขนาดสูง ๘๐ ศอก ในวิหาร ๖ แห่ง และมีห้องสมุด ๓ แห่ง คือ - รัตนสาคร
- รัตนรัญชกะ
- รัตโนทธิ
ขนาดสูง ๙ ชั้น มีนักศึกษาจากต่างประเทศ เช่น จีน, ชวา, สุมาตรา, มองโกเลีย, ธิเบต และเกาหลี ฯ -พ.ศ. ๑๒๒๓ นาลันทามีนักศึกษามาเพิ่มอีกถึง ๓-๔ พัน และเจริญรุ่งเรืองต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ

สมัยราชวงศ์ปาละ
ราชวงศ์ปาละปกครองชมพูทวีป ในปี พ.ศ. ๑๓๐๓ – ๑๖๘๕ ประมาณ ๔๐๐ ปีพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ได้สร้างสังฆารามเพิ่มขึ้นและพัฒนาขยายสาขาของมหาวิทยาลัยเพิ่มอีก ๔ แห่ง คือ
๑.) มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา
๒.) มหาวิทยาลัยโสมปุระ
๓.) มหาวิทยาลัยโอทันตะบุรี
๔.) มหาวิทยาลัยซากัททละ
-พ.ศ. ๑๓๕๓ – ๑๓๙๓ สมัยพระเจ้าปาละ ได้มีกษัตริย์จากสุมาตราพระนามว่าพาลาปุตตเทวะ ส่งพระนักศึกษามาเรียน และขออนุญาตสร้างสังฆารามถวาย ๑ แห่ง เพื่อเป็นที่พัก

สมัยเสื่อม
-พ.ศ. ๑๑๗๒ มุสลิมเติร์กรุกรานอินเดีย ขยายพื้นที่ยึดครองจากทางด้านทิศตะวันตก
-พ.ศ. ๑๗๖๖ มาถึงนาลันทา มีแม่ทัพใหญ่ภักทียะขิลจิ มอบหมายลูกชาย คือ “ อิคทิยะ ขิลจิ ” กรีฑาทัพมาทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา และเผาอาคาร, วิหาร, สถานที่, ตำรา, บรรดาพระสงฆ์ถูกฆ่า ถูกทำร้าย บ้างก็หนีตาย เผาห้องสมุด, ทำลายพระพุทธรูป เมื่อพวกเขาทำลายอย่าง สาแก่ใจแล้ว จึงถอยทัพกลับไปที่ค่ายใหญ่
ครู-อาจารย์ ประมาณ ๗๐ ท่าน นำโดยท่านมุทิตาภัทร พากันไปซ่อมแซมทำการสอนต่ออีก ๑๒ ปี ในปี พ.ศ. ๑๗๗๘ มีนักบวชฮินดู หมางใจกับพระสงฆ์ในนาลันทาก็ทำการเผาซํ้าอีกเป็นครั้งที่ ๒ จนวอดวายไม่สามารถฟื้นฟูได้ ถูกฝังจมอยู่ใต้ดินกินเวลาถึง ๖๒๕ ปี
- พ.ศ. ๒๓๕๘ ท่านหลอด ฮามินตัน อ่านบันทึกของถังซัมจั๋ง จึงเริ่มทำการขุดค้นพบเพียงพระพุทธรูป และเทวรูป ๒ องค์
- พ.ศ. ๒๔๐๓ ท่านเซอร์คันนิ่งแฮม จึงทำการขุดค้นใหม่ โดยมี MR. M.M. บรอดเล่ย์ และดร. สปูนเนอร์ เป็นผู้ช่วยจึงประสบความสำเร็จมหาวิทยาลัยจึงได้ปรากฏร่องลอยแห่งความยิ่งใหญ่อลังการให้เราได้ชม
ที่มา...คู่มือพระธรรมวิทยากร







โพธิสิกขาลัย (Bodhisikkhalai)
โทร 0-3587-3065, 085-7777-184 แฟกซ์ 0-3587-3058
Line ID: 0857777184
เว็บไซต์ : www.bodhisikkhalai.com
อีเมล: bodhisikkhalai@gmail.com


Copyright © 2011 All Rights Reserved