ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
เมนูหลัก
ประวัติความเป็นมา
ติดต่อสอบถาม
หนังสือ
เอกสารยื่น ศ.ต.ภ.
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
พระพุทธรูป
ศิลปะคันธาระ
ศิลปะคุปตะ
ศิลปะปาละ
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย
นิโครธาราม
รามคามสถูป นครเทวทหะ
ลุมพินี
สาวัตถี
สังกัสสนคร
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นอวันตี
Flag Counter
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลพุทธสถาน
สาญจี
ถ้ำอชันตา
ถ้ำเอลโลร่า
ถ้ำออรังกาบัด
ถ้ำกัณเหรี
อโยธยา
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลอินเดีย
นิวเดลี
อัครา
ฟาเตห์ปูร์ สิครี
ราชสถาน
หริทวาร, ฤาษีเกษ
จัมมู - แคชเมียร์
เลห์-ลาดักห์
อัมริตสาร์
มะนาลี-ชิมลา
ดารัมชาลา
เมืองลัคเนา
โกลกาตา
สะสาราม
พาราณสี
นิลกาย
มุมไบ
ข้อมูลอินใต้
ข้อมูลอินเดียใต้
รัฐเตลังคานา
เมืองกาญจีปุรัม
ฮัมปิ
รัฐอานธรประเทศ
ข้อมูลศรีลังกา
ข้อมูลศรีลังกา
ไหว้พระศรีลังกา
ข้อมูลอินโดนีเซีย
ข้อมูลอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ บาหลี
ข้อมูลพม่า
ข้อมูลพม่า
ย่างกุ้ง/ ไจโท้/หงสา/ สิเรียม
มัณฑะเลย์/พุกาม/อินเล/
ข้อมูลสิงคโปร์
ข้อมูลสิงคโปร์
สิงคโปร์
ข้อมูลมาเลเซีย
ข้อมูลมาเลเซีย
มาเลเซีย
ข้อมูลกัมพูชา
ข้อมูลกัมพูชา
เสียมเรียบ/นครวัด/นครธม
ข้อมูลลาว
ข้อมูลลาว
เวียงจันทร์/วังเวียง
หลวงพระบาง
ลาวใต้
ข้อมูลลาว
ข้อมูเวียดนาม
ฮานอย/ซาปา
ดานัง
โฮจิมินห์
ข้อมูลอินเดีย
โปรแกรมทัวร์ เดินทางคนเดี่ยว
สี่สังเวชฯ+อัครา+ราชสถาน+เดลี(21วัน)
สี่สังเวชฯ+สาญจี+อชันตา+เอโลร่า+มุมไบ (14วัน)
สี่สังเวชฯ+อัครา,ทัชมาฮาล+จัยปูร์+เดลี(11วัน)
ข้อมูลลาว
ข้อมูลทวีปยุโรป
กรุงเทพ-ลอนดอน
อิตาลี
อังกฤษ

ศรีลังกา (SRI LANKA)


โคลัมโบ, อนุราธปุระ, โปโลนนารุวะ, ดัมบูลลา, นูวาราเอลิยา  

ศรีลังกา (SRI LANKA)
เมืองโคลัมโบ (Colombo City)
- วัดกัลณียาราชมหาวิหาร, วัดเกละนิยา
(Kelaniya Raja Maha Viharaya)
- วัดคงคาราม, กังการามายา (Gangaramaya Temple)
เมืองอนุราธปุระ (Anuradhapura City)
- ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (Jaya Sri Maha Bodhi)
- โลหะปราสาท (Lovamahapaya)
- สุวรรณมาลิกเจดีย์ (Ruwanwelisaya Maha Stupa)
- พระเจดีย์ถูปาราม (Thuparamaya)
- เจตวนา มหาสถูป (Jetavanaramaya)
- พระสถูปอภัยคีรี (Abhayagiri Dagaba)
- วัดอิสุรุมุณิยะ (Isurumuniya)
- วัดมหินตเล (Mihintale temple)
เมืองโปโลนนารุวะ (Polonnaruwa City)
รูปหินแกะสลักพระเจ้าปรากรมพาหุ (Statue of Parakramabahu)
- พระราชวัง (Royal Palace)
- วาตะทะเก (Vatadage Shrine)
- สัตตมหาปราสาท (Satmahal Prasada)
- สมุดศิลาจารึก (Stone Book)
- กัลวิหาร (Kal Vihara)
- พระสถูปโสมาธิยะ ชัยยะ (Somawathiya Chaitya)
- พระสถูป (Rankoth Vehera)
เมืองดัมบูลลา (Dambulla City)
- วัดถ้ำดัมบูลลา (Dambulla cave temple
- เมืองศรีคีรียา (Sigiriya City)
เมืองมะตะเล (Matale)
- อาโลกวิหาร, เอลุ (Alu Viharaya Rock Cave Temple)
เมืองแคนดี้ (Kandy City)
- วัดพระเขี้ยวแก้ว, วัดดาลดามัลลิกาวะ (Dalada Maligawa)
- วัดมัลละวัตตะ, วัดบุปผาราม (Malwatta temple)
- วัดสุริยโกฎ (Suriyagoda Rajamaha Viharaya)
เมืองนูวาราเอลิยา (Nuwara eliya)
-ไร่ชาซีลอน (Tea Plantation)




วัดคงคาราม, กังการามายา (Gangaramaya Temple)


วัดกัลณียาราชมหาวิหาร, วัดเกละนิยา (Kelaniya Raja Maha Viharaya)


เมืองโคลัมโบ (Colombo City)

โคลัมโบ (Colombo)

โคลัมโบเป็นเมืองหลวง เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของศรีลังกา มีท่าเรือ (Port) ที่สำคัญ เพราะอยู่กึ่งกลางเส้นทางเดินเรือผ่านมหาสมุทรอินเดีย ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ สินค้าออกที่สำคัญของเมืองนี้คือยางพารา มะพร้าว และชา

วัดกัลยาณี (Kelaniya Temple)
เป็นวัดใหญ่นิกายสยามวงศ์ ภายในห้องวิหารของวัด มีจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม เรื่องราวในพทุธประวัติ ชาดก และตำนานต่างๆ เช่น ภาพเจ้าชายทันตกุมาร กับเจ้าหญิงเหมมาลา อัญเชิญพระทันตธาตุ(พระเขี้ยวแก้ว) จากอินเดียมาลังกา ภายในวัดแห่งนี้มีต้นโพธิ์ใหญ่ 1 ใน 32 ต้น ที่แยกหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระ ภาพพระพุทธโมสะถวายคัมภีร์วิสุทธิมรรคแก่เจ้าคณะมหาวิหาร ในกรุงอนุราธปุระ

วัดคงคาราม (Gangaramaya Temple)
เป็นวัดของนิกายสยามวงศ์ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพทุธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่กำลังโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง5 ส่วนรายล้อมไปด้วยพระสาวก เต็มไปด้วยพระพุทธรูปและพระบริวาร ประดับประดาด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง รูปปั้นเทวดาที่งดงาม

ทางวัดยังมีพิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บรักษาโบราณวัตถุและสิ่งมีค่าต่างๆ มีงาช้างจำนวนมาก สิ่งของที่ได้รับบริจาคจากต่างประเทศชาวพุทธ รวมทั้งไทยด้วย

วัดคงคารามยังเป็นสถานที่เริ่มต้นของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (Buddhist Sunday School) เปิดสอนเป็นคร้ังแรกในศรีลังกา เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๔ โดย การแนะนําของพันเอก เฮนรี ออลคอต (Henry S. Olcott) ซึ่งเป็นคนอเมริกานับที่หันมานับถือพระพุทธศาสนาและมีบทบาทสําคัญยิ่งในการ ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในศรีลังกาในยุคที่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ปัจจุบันชาวศรีลังกาเรียกโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ว่าธัมมะสกูล (Dhamma School) หรือโรงเรียนธรรมะ นายเฮนรี ออลคอต ได้ส่งเสริมการตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวัน อาทิตย์

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของวัดในเมืองไทยก็ได้รับแนวคิดแบบแผนจากศรีลังกาเช่นกัน

วัดทีปทุตตมาราม (Dipaduttamarama Purana Thai Raja Maha Viharaya)

วัดทีปทุตตมาราม ตั้งอยู่ที่ Kotahena,Colombo13 เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงโคลัมโบสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2318 วัดนี้มีความสำคัญต่อชุมชนชาวพุทธในศรีลังกาเพราะเป็นที่จำพรรษาของ Ven. Migettuwatte Gunananda Maha Thero ซึ่งได้พัฒนาวัดในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2416 จนกลายเป็นวัดขนาดใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศในยุคนั้น โดยวัดเป็นศูนย์กลางในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกา และโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ก็ได้เกิดขึ้นในยุคนี้ นอกจากนี้ พระรูปดังกล่าวยังเป็นนักต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนาในยุคที่ศรีลังกาอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ทั้งนี้ธงฉัพพรรณรังสี (ธงหกสี) ได้รับการออกแบบ ณ วัดแห่งนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2428

วัดทีปทุตตมารามเป็นวัดที่มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ลึกซึ้งกับประเทศไทยเนื่องจากพระชินวรวงศ์ (พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์) เคยเป็นเจ้าอาวาสระหว่างปี พ.ศ. 2448-2453 และได้รับการสถาปนาเป็นสังฆนายกแห่งนครโคลัมโบของนิกายรามัญและอมรปุระ

วัดมังคะตะ ปุราณวิหาร กะทะวะฏะ (Mankada Purana Vihan Kadawata)
มาทำบุญทอดผ้าป่าสร้างห้องน้ำ (วัจจกุฎี)

ตลาดเพ็ตตาฮ์ (Pettah Markets) ตลาดพื้นเมือง

ตลาดเพ็ตตาฮ์ เป็นย่านแห่งหนึ่งทางตะวันออกของป้อมสนามใจกลางเมืองโคลัมโบ เป็นย่านเชิงพาณิชย์ที่คึกคักที่สุดในประเทศศรีลังกา โดยเป็นที่ตั้งของร้านขายส่งกับขายปลีก, สิ่งก่อสร้าง, สถาบันการค้าและ องค์การอื่นเป็นจำนวนมาก
เมืองอนุราธปุระ (Anuradhapura City)

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (Jaya Sri Maha Bodhi)


โลหะปราสาท (Lovamahapaya)


สุวรรณมาลิกเจดีย์ (Ruwanwelisaya Maha Stupa)


สุวรรณมาลิกเจดีย์ (Ruwanwelisaya Maha Stupa)


พระเจดีย์ถูปาราม (Thuparamaya)


เจตวนา มหาสถูป (Jetavanaramaya)


พระสถูปอภัยคีรี (Abhayagiri Dagaba)


วัดอิสุรุมุณิยะ (Isurumuniya)


วัดมหินตเล (Mihintale temple)


วัดมหินตเล (Mihintale temple)

เมืองอนุราธปุระ (Anuradhapura)
อนุราธปุระ อยู่ห่างจากโคลัมโบไปทางทิศเหนือราว 206 กิโลเมตร เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของศรีลังกา นานกว่า 1,200 ปี ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองที่เป็นต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์ ปัจจุบันองค์กรยูเนสโกได้รับการประกาศให้ในเขตโบราณพุทธสถานอนุราธปุระ หรือเขตสวนเมฆวัน เป็นเมืองมรดกโลก (World Heritage Sites)
พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ลังกาทวีป (Devanampiya Tissa of Anuradhapura) กับพระเจ้าอโศกมหาราชKing Ashoka) แห่งชมพูทวีป เป็นกษัตริย์ที่มีสัมพันธไมตรีต่อกัน และไม่เคยพบเจอกันมาก่อนด้วย
1. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (Bodhi tree) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งตอนกิ่งจากต้นเดิม ณ สถานตรัสรู้พุทธคยา โดยพระนางสังฆมิตตาเถรี ราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช อัญเชิญไปถวายพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เมื่อพ.ศ.236 วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน12
พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ให้นิมนต์พระเถรีนามว่าสังฆมิตตา พระสังฆมิตตาไปศรีลังกา เพื่อบวชสตรีทั้งหลายและอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์มาด้วย
ซึ่งพระเจ้าอโศกตั้งใจที่จะมอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ให้กับศรีลังกาก่อนหน้านี้แล้ว จึงได้เตรียมไว้ พระเจ้าอโศกมีความดำริว่าเราจะส่งต้นพระศรีมหาโพธิโดยไม่ใช้ศาสตราตัดได้อย่างไร พระเจ้าอโศกจึงถามพระภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ ท่านได้บอกว่า พระพุทธเจ้าทรงได้อธิษฐานไว้แล้วว่า ต้นโพธิ์จะประดิษฐานที่ศรีลังกา กิ่งมหาโพธิ์ทางทิศใต้จงขาดเองแล้วประดิษฐานในกระถางทอง
เป็นต้นโพธิ์ทีเก่าแก่ที่สุด ถูกจารึกไว้ในกินเนสบุคส์ของโลก เพราะมีการตรวจเนื้อเยื่อของไม้ ปัจจุบันมีอายุประมาณ 2,300 ปี
2. โลหะปราสาท (Loha Pasada)
โลวามหาปายะ หรือ โลหะปราสาท ปราสาทที่มียอดเป็นโลหะ ตั้งอยู่ระหว่างต้นโพธิ์และสถูปรุวันเวลิในป่ามหาเมฆ ราว พ.ศ.๓๘๗ พระเจ้าทุฏฐคามมณีอภัย กษัตริย์ผู้ครองกรุงลังกา ได้จำลองแบบสร้างอาคารหลังใหญ่โต ด้านหนึ่งกว้างถึง ๗๕ เมตร มีเสาหินพันกว่าต้นรองรับตัวปราสาทซึ่งเป็นเรือนไม้ ฝังประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง สูง ๙ ชั้น ชั้นหนึ่งๆ มียอดชั้นละ ๑๐๐ ยอด มีห้องทั้งหมด ๑,๐๐๐ ห้อง หลังคามุงด้วยอิฐทองแดง เรียกว่า“โลหะปราสาท” เช่นกัน ที่แห่งนี้ได้ชื่อว่า “โลวามหาปายะ” ในเวลานั้นเพราะหลังคาปูด้วยกระเบื้องโลหะ ดังนั้นจึงได้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Brazen Palace (โลหะปราสาท)
3. สุวรรณมาลีเจดีย์ (Ruwanwelisaya Stupa)
พระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา/ สุวรรณมาลิกเจดีย์/ รัตนมาลี/ เหมปาลี/ รุวันเวลิสยา พระมหาเจดีย์มีขนาดใหญ่ปูด้วยก้อนหินภูเขา โดยใช้ ช้างลากหินเหล่านั้นมา เพราะฉะนั้นเราจะเห็นการสร้างช้างล้อมไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ กับช้างที่ได้ช่วยในการก่อสร้างพระมหาเจดีย์นี้ด้วย พระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา ประวัติความเป็นมานั้น พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ได้ให้ ดอกจำปากับพระมหินเถระ พระมหินเถระจึงโปรยดอกไม้ลงไปในแผ่นดินบริเวณหนึ่ง แผ่นดินก็ไหว พระราชาจึงได้ถามพระเถระว่าเหตุใดแผ่นดินจึงไหว พระเถระทูลตอบ พระราชาว่า ณ บริเวณนี้ จะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์ อันไม่มีใครเหมือนเลย พระราชาจึงได้ถามพระเถระว่าใครจะเป็นผู้สร้าง พระเถระทูลว่าไม่ใช่พระองค์สร้างแต่ จะเป็นพระนัดดา(หลาน)คือพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยเป็นผู้สร้างพระมหาเจดีย์นี้ สมัยต่อมาในสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย พระองค์ได้ทรงทำสงครามกับพระราชา ชาวทมิฬและทรงได้รับชัยชนะ จึงได้สร้างพระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยาไว้เป็นอนุสรณ์ และภายในก็ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย ซึ่งพระมหาเจดีย์นี้เองเมื่อถึงคราวสิ้น พระศาสนา พระบรมสารีริกธาตุจากที่ต่างๆจะมารวมตัวกันที่พระมหาเจดีย์นี้และไปสู่ นาคเจดีย์และท้ายสุดไปรวมกันที่โพธิบัลลังค์ ปรากฏเป็นรูปพระพุทธเจ้าอีกครั้งแต่ไม่ มีมนุษย์เหล่าใดเห็นเลย และเตโชธาตุคือไฟก็ลุกโชนพระบรมสารีริกธาตุหมดไม่เหลือ อันเป็นการอันตรธานของพระศาสนาอย่างสิ้นเชิง สุวรรณมาลิกเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดกว้าง 100 เมตร สูง 100 เมตร 
4. ถูปาราม (Thuparamaya)
ถูปาราม มาจากคำว่า ถูป+อาราม พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงสร้างมหาวิหารและถูปารามเจดีย์ขึ้นมาเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญ(กระดูกไหปลาร้า)เบื้องขวา โดยมีพระมหินทเถระเป็นประธานในการควบคุมดูแลการก่อสร้าง
เมื่อ พ.ศ. ๑๒๘ ถูปารามยังเป็นสถานที่สังคายนาครั้งที่4 โดยมีพระมหินทเถระทำหน้าที่ปุจฉา พระอริฏฐมหาเถระ เป็นผู้วิสัชนา พระสงฆ์อรหันต์จำนวน ๖๘,๐๐๐ รูป พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นองค์ศาสนูปถัมภก ทำอยู่เป็นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ
? การทำสังคายนาครั้งนี้ บางมติไม่ยอมรับเพราะสาเหตุไม่ชัดเจน และเวลาห่างจากการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในอินเดียเพียง ๒ ปีเท่านั้น
ส่วนสถาปัตยกรรมถูปาราม หลังคารูปโดมคลุมไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยวางอยู่บนเสาหินแกรนิตรูป 8 เหลี่ยม 3 แถว เรียงรายอยู่รอบเจดีย์ แต่ละต้นสูงราว 40-50 ฟุต หัวเสาสลักเป็นลวดลายกลีบบัว มีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามยุคสมัยเรื่อยมา
ปัจจุบันเหลือเพียงองค์เจดีย์สีขาว ที่สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2405 หรือราว 100 ปีเศษ ซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปรอบพระเจดีย์ ซึ่งสร้างขึ้นมาภายหลัง ฉะนั้น ถูปารามจึงมีอายุราว 2,300 ปีมาแล้ว
เจดีย์อภัยคีรี (Abayagiriya)
เจดีย์อภัยคีรี สร้างโดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย เมื่อราว 2,100 ปี ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่มากเป็นอันดับสองรองจากเจดีย์เชตวัน เส้นผ่านศูนย์กลาง 110 เมตร สูง 113 เมตร เคยเป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์มากกว่า 5,000 รูป ด้านหน้าของวัดมีสระน้ำขนาดใหญ่อายุกว่า 1,300 ปี เป็นที่สรงน้ำของพระ-สงฆ์
เจดีย์เชตวัน (Jetavanaramaya)
สถูปเชตวัน สร้างด้วยอิฐทั้งองค์ มีความสูง 122 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 113 เมตร เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกในยุคสมัยเดียวกัน เป็นรองลงมาจากปิรามิด 2 แห่งในอียิปต์ฐานเจดีย์ บริเวณโดยรอบองค์พระมหาเจดีย์ มีซากโบราณสถานต่างๆ เช่น อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา กุฏิพระสงฆ์ ศาลาโรงธรรม อ่างเก็บน้ำ ที่สรงน้ำพระ โรงทาน และสำนักสงฆ์
วัดอิสุรุมณิยะ (Isurumuniya Temple)
วัดอิสุรุมณิยะ สร้างโดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เดิมเคยเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูมาก่อน โดยวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ติดกับเนินเขาขนาดเล็ก ที่มีภาพสลักบนหน้าผา เป็นภาพการเสด็จลงจากสวรรค์ของแม่พระคงคา ณ มาวลีปุรัม ในอินเดีย มีภาพแกะสลักและประติมากรรมหลายชิ้น ที่ปัจจุบันได้จัดเก็บและแสดงไว้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ ให้นักท่องเที่ยวศรีลังกาได้เข้ามาชื่นชมและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ปฏิมากรรมคู่รัก ได้รับการยกย่องว่ามีความอ่อนหวานน่ารักที่สุดชิ้นหนึ่งของศรีลังกา
มิหินตะเล (Mihintale) เป็นสถานที่แห่งแรกที่พระพุทธศาสนาประดิษฐานบนผืนเกาะลังกา เมื่อครั้งพระมหินทเถระและคณะได้เดินทางเป็นสมณฑูตเผยแพร่พระพุทธศาสนามาที่เกาะลังกา ซึ่งในขณะนั้นผู้คนบนเกาะลังกายังมีความเชื่อในการนับถือทะเลมหาสมุทร ต้นไม้ ภูเขา ดังนั้นเมื่อพระมหินทเถระ ได้แสดงธรรมครั้งแรกจึงแสดงธรรมที่ชี้ให้เห็นกรรมดีกรรมชั่ว จนทำให้ชาวเกาะลังกาได้บรรลุธรรม พระเจดีย์องค์นี้บรรจุพระอัฐิธาตุของพระมหินทเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ออกบวชเป็นสมณฑูตเผยแพร่พระพุทธศาสนามายังทวีปลังกานั่นเอง
บันทึกหลวงจีนฟาเหียน ภิกษุชาวจีน ที่เดินทางมายังลังกาช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ได้บันทึกไว้ว่า มีพระสงฆ์จำวัดอยู่ที่มิหินตาเลประมาณ 2,000 รูป
โรงพยาบาลหรือเวชศาลาแห่งมิหินตาเล
โรงพยาบาลที่มิหินตาเล คงสร้างขึ้นในพระเจ้าเสนะที่ 2 (พ.ศ.1396-1430) ดังที่ปรากฏในคัมภีร์มหาวงศ์และคัมภีร์จุลวงศ์ว่า ทรงสร้างโรงพยาบาลที่ Chetiya-pabbatha อ่างน้ำ ในห้องอาบน้ำร้อนหรือห้องอบไอน้ำ หินบดยา หน้าห้องคลังยา วัสดุที่ใช้ทำอ่างแช่น้ำมันสมุนไพร อาจมีทั้งหิน ไม้ หรือโลหะ
จากหลักฐานต่าง ๆ โรงพยาบาลมิหินตาเล สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์ การบริหารจัดการโรงพยาบาล การบริการสังคมของฝ่ายปกครองและฝ่ายศาสนา

เมืองโปโลนนารุวะ (Polonnaruwa City)

พระราชวัง (Royal Palace)


วาตะทะเก (Vatadage Shrine)


สัตตมหาปราสาท (Satmahal Prasada)


สมุดศิลาจารึก (Stone Book)


กัลวิหาร (Kal Vihara)


กัลวิหาร (Kal Vihara)


กัลวิหาร (Kal Vihara)


พระสถูป (Rankoth Vehera)

โปโลนนารุวะ (Polonnaruwa) เมืองเก่าโปโลนนารุวะ เมืองหลวงแห่งที่สองของศรีลังกา ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 1598-1779  ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งพระพุทธศาสนา และเป็นยุคที่ศิลปะถ่ายทอดไปถึงดินแดนสุวรรณภูมิ รูปแกะลสัก พระเจ้าปรากกัมพาหุ พระเจ้าปรากกัมพาหุทรงใช้พระหัตถ์ทั้งสองถือไม้แอก คือไม้วางขวางบนคอวัวหรือควายใช้ไถนา คราดนา หรือเทียมเกวียน เป็นต้น ไม้แอกอยู่บนคอสัตว์เมื่อใด บ่งถึงความหนัก การใช้พละกำลัง ดุจเหมือนพระองค์ถือไม้แอก ที่ต้องรับภาระอันหนักของปวงชน ทะเลสาบปรากกรัมพาหุ ราชวังศ์ ที่ตัดสินคดี วะฎะทาเค แหฎะทาเค ศิลาจาริก กัลวิหาร (Gal Vihara) กัลวิหาร แปลว่า วิหารหิน หรือ อารามหิน เดิมชื่อ อุตตราราม สร้างโดยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ใน พ.ศ. 1696 – 1729 เป็นวิหารที่สลักบนวิหารหินแกรนิต ตั้งอยู่บนเนินเขา โดยสลักเป็นพระพุทธรูป 4 องค์เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน องค์แรก เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ องค์ที่สอง เป็นพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ องค์ที่สาม พระพุทธรูปประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองขึ้นไขว้กันในระดับหน้าอก (พระอุระ) ที่เรียกว่า ”พระพุทธรูปปางรำพึง” สูง 7 เมตร องค์ที่สี่ ปางปรินิพพาน ความยาวถึง 14 เมตร อิฐ เดิมมีวิหารก่ออิฐปกคลุ่มอยู่โดยรอบพระพุทธรูปทั้ง 4 องค์ มีร่องรอยของอาคารปรากฏอยู่ เป็นแนวฐานก่อด้วยอิฐ
เมืองดัมบูลลา

วัดถ้ำดัมบูลลา (Dambulla cave temple)


วัดถ้ำดัมบูลลา (Dambulla cave temple)


วัดถ้ำดัมบูลลา (Dambulla cave temple)

วัดถ้ำดัมบุลลา (Dambulla Cave Temple) วัดถ้ำดัมบุลลา หรือวัดราชมหาวิหาร วัดถ้ำดัมบูลลาตั้งอยู่บนยอดเขาหินแกรนิตมหึมา สูงจากพื้นราบเบื้องล่างกว่า 160 เมตร ตัวถ้ำเคยใช้เป็นที่หลบภัยของกษัตริย์วาลากัมบาหุ เป็นการนำถ้ำมาเป็นวัดอารามที่อยู่ที่อาศัย ตั้งอยู่บนภูเขาห่างจากสีกิริยา ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 24 กิโลเมตร มีภาพสีจิตรกรรมฝาผนังงดงามและพระพุทธรูปวิจิตรงดงาม เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 อายุเก่าแก่กว่า 800 ปี เป็นศาสนสถานที่ได้ขึ้นเป็นแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโก แต่ละถ้ำมีขนาดไม่เท่ากันเรียงรายตามความยาวของภูเขา ซึ่งประกอบด้วย 5 ถ้ำ

ถ้ำที่ 1 เป็นถ้ำที่เก่าที่สุด ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ขนาดใหญ่ แกะสลักจากหินอ่อนยาว 49 เมตร

ถ้ำที่ 2 มีพระพุทธรูป 150 องค์ ภาพเขียนฝาผนังบนเพดานถ้ำ ทัม แปลว่าก้อนหิน พุลละ แปลว่าน้ำพุ ในถ้ำนี้มีก้อนหินก้อนหนึ่ง ซึ่งมีการทำตะแกรงเหล็กครอบไว้ สมัยก่อนจะมีน้ำพุผุดขึ้นมา และข้างบนจะมีน้ำหยดลงมาจากเพดานถ้ำ มองดูคล้ายกับรูปปลาตัวใหญ่กำลังว่ายน้ำอยู่บนเพดานของถ้ำ และมีรูปปั้นกษัตริย์สิงหล

ถ้ำที่ 3 ชื่อว่ามหาอลุต ซึ่งด้านในประดิษฐานพระนอนขนาดใหญ่ 30 ฟุต พระพุทธรูปประทับนั่งและพระพุทธรูปยืนปางต่างๆ 

ถ้ำที่ 4 เป็นถ้ำที่ใหญ่ที่สุด มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง บนทเพดานถ้ำ มีการเขียนภาพเขียนตามรอยคดโค้งของผนังถ้ำ รอบผนังถ้ำเป็นรูปบุคคลมากมาย เฉพาะรูปของพระพุทธเจ้ามีถึง 48 ภาพและภาพของเทวดา เช่น พระอุปุลวัน และพระสมัน เป็นเทวดาประจำแคว้น ประทับอยู่ที่ยอดเขาศรีปาทะในภูเขาอาดัมส์

ถ้ำที่ 5 ประดิษฐานพระเจดีย์ พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง

ปรารภเหตุสังคายนาครั้งที่5 ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่หลบภัยของกษัตริย์วาลากัมบาหุ (King Valagambahu) ผู้หนีการรุกรานของชาวทมิฬจากเมืองอนุราธปุระมาอยู่ที่นี่  กระทั่งพระองค์ขับไล่ข้าศึกไปได้  ตอนหลังทาบูรณะวัดถ้ำดัมบูลลาขึ้น ช่วงที่หลบภัยอยู่ในวัด ได้ศึกษาธรรมวินัยได้เห็นความเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนา จึงปรารภเหตุสังคายนาครั้งที่5

วัดทองคำดัมบูลลา” (The Golden Temple of Dambulla) วัดทองคำดัมบุลลา เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ตีนเขา บันไดทางขึ้นสู่ถ้ำดัมบูลลา เพิ่งมีการสร้างเจดีย์สีทองและพระพุทธรูปสีทององค์ใหญ่


เมืองศรีคีรียา (Sigiriya City)


เมืองมะตะเล (Matale)

อาโลกวิหาร, เอลุ (Alu Viharaya Rock Cave Temple)


เมืองแคนดี้ (Kandy City)

วัดพระเขี้ยวแก้ว, วัดดาลดามัลลิกาวะ (Dalada Maligawa)


วัดพระเขี้ยวแก้ว, วัดดาลดามัลลิกาวะ (Dalada Maligawa)


วัดมัลละวัตตะ, วัดบุปผาราม (Malwatta temple)


วัดสุริยโกฎ (Suriyagoda Rajamaha Viharaya)

เมืองแคนดี้ (Kandy Coty)

เมืองแคนดี้ ตั้งอยู่บนยอดเขา สูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 500 เมตร เป็นเมืองมรดกโลก เคยเป็นที่มั่นสุดท้ายของกษัตริย์สิงหล ก่อนการยกดินแดนให้กับจักรวรรดิอังกฤษใน ค.ศ. 1815หลังจากที่ได้ต่อต้านชาวโปรตุเกส และชาวดัตช์มานานถึงสามศตวรรษ เมืองแคนดี้ เดิมเรียกว่า ศิริวัฒนานคร หรือ สิงหขันธนคร ชาวเมืองสิงหลเรียก ขันธะ หมายถึงกองหินหรือภูเขา เมื่อต่างชาติเข้าครองเมือง ขันธะ จึงออกสำเนียงตามฝรั่งว่า แคนดิ หรือ แคนดี้

ประวัติความเป็นมาพระเขี้ยวแก้ว (The History Of The Buddha Tooth Relic
ถูปารหบุคคล 4
ถูปรหบุคคล คือบุคคลผู้ควรแก่สถูป, ผู้มีคุณความดีพิเศษควรสร้างสถูปไว้เคารพบูชา
       1. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
       2. พระปัจเจกพุทธเจ้า
       3. พระตถาคตสาวก (พระอรหันต์)
       4. พระเจ้าจักรพรรดิ

ครั้งหนึ่ง เมื่อโทณพราหมณ์เดินทางอยู่ระหว่างเมืองอุกกัฎฐะ กับเมืองเสตัพยะ พร้อมหมู่ศิษย์ได้พบรอยพระพุทธบาท และได้เห็นรอบกงจักรในรอยพระพุทธบาท จึงรำพึงว่า รอยเท้านี้คงไม่ใช่ของมนุษย์ธรรมดาแน่นอน จึงเข้าไปทูลถามพระพุทธองค์ว่าเป็นใคร พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า พระองค์ไม่ใช่เทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ หรือมนุษย์ เพราะทรงละอาสวกิเลส ที่เป็นต้นเหตุให้เป็นอย่างนั้นหมดสิ้นแล้ว โทณพราหมณ์ ได้ฟังแล้วก็บรรลุสามัญผลสามคือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล และอนาคามิผล สามารถแต่งคำประพันธ์สรรเสริญพระพุทธคุณ เรียกว่า "โทณคัชชิตะ" ได้ถึง 1,200 บท

- ระงับศึกแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ
ข่าวพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองกุสินาราแล้ว เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งนครนี้พร้อมด้วยคณะสงฆ์ได้ถวายพระเพลิงแล้ว คณะฑูตทั้ง ๗ พระนคร เดินทางมาถึงเมืองกุสินาราก็ได้ยื่นพระราชสาส์นนั้นแก่เจ้ามัลลกษัตริย์ ในพระราชสาส์นนั้น ขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์ตัดสินแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุ
"พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงสรรเสริญขันติธรรมและสามัคคีธรรม แล้วเราทั้งหลายจะมาทะเลาะ วิวาททำสงครามกันเพราะพระบรมสารีริกธาตุเป็นเหตุทำไม มาแบ่งกันให้ได้เท่าๆ กันดีกว่า พระบรม สารีริกธาตุจักได้แพร่หลายและเป็นประโยชน์แก่มหาชนทั่วโลก"
เมื่อโทณพราหมณ์ได้สดับคำยินยอมพร้อมเพรียงของกษัตริย์ทั้งปวงเช่นนั้น ก็ให้เปิดประตูเมืองกุสินารา อัญเชิญกษัตริย์ทั้งปวงเข้ามาในภายใน แล้วให้อัญเชิญไปประชุมพร้อมกันยังพระโรงราชสัณฐาคาร ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้วให้เปิดพระหีบทองน้อย ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ให้กษัตริย์ทั้งปวง พร้อมกันถวายอภิวาท สมตามมโนรถ

ขณะนั้น จึงได้หยิบพระทักษิณทาฐธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว ข้างขวา เบื้องบน ขึ้นซ่อนไว้ในมวยผม แล้วจัดการตักตวงพระบรมสารีริกธาตุด้วยทะนานทอง ถวายกษัตริย์ทั้ง ๘ พระนคร ซึ่งประทับอยู่ ณ ที่นั้น ได้พระนครละ ๒ ทะนานเท่า ๆ กันพอดี รวมพระบรมธาตุทั้งสิ้นเป็น ๑๖ ทะนานด้วยกัน ดังนี้

1. กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี
2. กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์
3. กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ
4. กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม
5. มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ
6. กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา
7. พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์
8. มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา
9. กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร ไว้ที่เมืองปิปผลิวัน (กษัตริย์โมริยะมาหลังจากที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุเรียบร้อยแล้วจึงได้แค่เถ้าถ่านที่เหลือไป) 10. โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ที่เมืองกุสินารา (โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้สร้างสถูปเอาไว้เก็บ ทะนาน ที่ใช้ตวงไว้ด้วย)
*นอกจากนี้ ยังมีพระบรมสารีริกธาตุอีกส่วนและเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้า ก็ได้ถูกแบ่งไปยังเมืองต่างๆด้วย
* โทณสูตร ได้กล่าวไว้ โทณพราหมณ์ เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในไตรเพท(พราหมณ์) บรรดากษัตริย์ยกย่องนับถือ ตอนหลัง ได้ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้า บรรลุเป็นอนาคามี
1. พระทันตธาตุ อยู่ใน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เมืองคันธารวิสัย, เมืองกาลิงคราช, และ นาคบุรี (เข้าใจว่าเป็นเมืองบาดาล)
2. พระทันตธาตุที่เหลือ และ พระเกศธาตุ และ พระโลมา เทวดาได้นำไปไว้ยังจักวาลหนึ่งๆ จักรวาลละอย่าง (ไม่มีระบุชื่อไว้ว่าที่ไหนบ้าง)
3. บาตร , ไม้เท้า และ จีวร อยู่ใน วชิรานคร
4. ผ้าปัจจัตถรณะ อยู่ใน สีหฬ
5. ธมกรกและประคตเอว อยู่ใน นครปาฏลิบุตร
6. ผ้าอาบน้ำ อยู่ในจำปานคร
7. อุณณาโลม อยู่ใน แคว้นโกศล
8. ผ้ากาสาวพัสตร์ อยู่ในพรหมโลก
9. ผ้าโพก อยู่ในดาวดึงส์
10. ผ้านิสีทนะ อยู่ในอวันตีชนบท
11. ผ้าลาด อยู่ในดาวดึงส์
12. ไม้สีไฟ อยู่ในมิถิลานคร
13. ผ้ากรองน้ำ อยู่ในวิเทหรัฐ
14. มีดและกล่องเข็มอยู่ในอินทปัตถนคร

ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทำการรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดมาไว้ที่เดียวกันอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 300 ปีหลังปรินิพพาน พระเจ้าอโศกมหาราช ได้โปรดให้นำพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดที่กระจายไปบรรจุในพระวิหาร 84,000 วิหารที่ทรงสร้างไว้

พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ คือพระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งตามลักขณสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ได้กล่าวถึงมหาปุริสลักขณะ 32 ประการ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง ลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษว่า "เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์" ข้อมูลนี้จึงทำให้เชื่อกันว่า พระเขี้ยวแก้วมีทั้งหมด 4 องค์

พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ท้าวสักกะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวา ประดิษฐานที่แคว้นกลิงคะ แล้วจึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ลังกาทวีป (วัดพระเขี้ยวแก้ว ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน)

พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐาน ณ แคว้นคันธาระ แล้วเชื่อว่าถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เมืองฉางอัน ประเทศจีน (ซีอาน) โดยพระภิกษุฟาเหียนเมื่อคราวจาริกไปสืบพระศาสนายังอินเดีย ปัจจุบัน พระเขี้ยวแก้วองค์นี้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง

พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ประดิษฐานในภพพญานาค

พระเขี้ยวแก้วจำลอง ในพิพิธภัณฑ์เมืองโคลอมโบ ศรีลังกา เป็นที่เชื่อกันว่า บนโลกมนุษย์ของเรานี้ มีพระเขี้ยวแก้วขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ 2 องค์

นอกจากนี้ พระเขี้ยวแก้วยังจัดเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แยกกระจัดกระจาย องค์มีลักษณะแข็งแกร่งรวมกันแน่น พุทธศาสนิกชนจึงมีความศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระเขี้ยวแก้วเป็นอย่างมาก

- วัดพระเขี้ยวแก้ว (Buddha Tooth Relic Temple)
วัดพระเขี้ยวแก้ว/วัดดาลดา มัลลิกาวะ (Sri Dalada Maligawa or the Temple of the Sacred Tooth Relic) เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว (Sacred Tooth Relic) พระทันตธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วัดศรีทัลฒามัลลิกาววิหาร (สิงหล: ???? ???? ???????) หรือวัดพระเขี้ยวแก้วเมืองกัณฏิ เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (สยามวงศ์) ตั้งอยู่ริมทะเลสาบกัณฏิ เมืองกัณฏิ ประเทศศรีลังกา เป็นวัดที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวาของพระพุทธเจ้า และมีส่วนให้เมืองกัณฏิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก

วัดพระเขี้ยวแก้ว สร้างโดยพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 1 พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุดท้ายของประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2138 โดยตัววัดตั้งอยู่ในพื้นที่ ๆ เคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังโบราณ เนื่องจากความเชื่อของชาวสิงหลที่เชื่อว่าผู้ที่รักษาพระเขี้ยวแก้วไว้ย่อมถือว่ามีสิทธิชอบธรรมในการเป็นปกครองอาณาจักรมาแต่โบราณ ปัจจุบันวัดพระเขี้ยวแก้ว เป็นวัดที่อยู่ในความดูแลของพระมหาสังฆนายก สยามวงศ์ ซึ่งมีอยู่สองฝ่าย คือ ฝ่ายมัลลวัตตะ (คามวาสี) และอัสคิริยะ (อรัญวาสี) ซึ่งจะแบ่งกันปกครองรักษาพระเขี้ยวแก้วสลับกันทุกปี โดยพระเขี้ยวแก้วประดิษฐานในพระสถูปประดับอัญมณีขนาดใหญ่ซ้อนกันหลายชั้น ภายในพระคันธกุฎีวิหารที่มีการป้องกันรักษาเข้มงวดทั้งจากกองกำลังทหารซึ่งประจำการที่วัดและพระสงฆ์ ซึ่งพระสงฆ์จะกระทำพุทธบูชาเป็นประจำทุก ๆ วันในช่วงเช้า เที่ยง และเย็น

- วัดบุปผาราม (Buppharam Temple)
วัดบุปผาราม หรือวัดมัลวัตตะ, วัดพระอุบาลี ตั้งอยู่ริมทะเลสาบแคนดี้ เป็นวัดที่พระอุบาลีและคณะสมณฑูตจากกรุงศรีอยุธยามาทำการบรรพชาให้ภิกษุชาวศรีลังกา ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ “ลัทธิสยามวงศ์


เมืองนูวาราเอลิยา (Nuwara eliya)

ไร่ชาซีลอน (Tea Plantation)

นูวารา เอลิยา (Nuwara Eliya)
นูวารา เอลิยา แปลว่า นูวาราเอเลีย เมืองภูเขาของศรีลังกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแคนดี้ มีความสูง 1,889 เมตร ประชากร 2.1 ล้าน (1981) ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาห่างจากโคลัมโบ 180 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในภูเขากลาง อุณหภูมิที่ 4--16? ปกคลุมไปด้วยหมอก อากาศจะหนาวทั้งปี ได้รับการขนานนามว่า “ลิตเติ้ลอิงแลนด์”(Little England) อดีตเมืองตากอากาศของชาวอังกฤษ สมัยประเทศศรีลังกาอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ

เป็นการสัมผัสธรรมชาติ เที่ยวชมวิถีเกษตรกรรมชาวไร่ชา ที่นี่เป็นดินแดนแห่งการปลูกชา เที่ยวชิม ชมไร่ชา และโรงงาน ตลอดจนชมความงามทางธรรมชาติ

น้ำตกแรมโบดา (Ramboda Waterfall) เป็นน้ำตกชื่อเสียงของศรีลังกา สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นทางผ่านที่ตั้งอยู่ริมทาง

ไร่ชา เขานูวารา เอลิยา (Tea Plantation)
ไร่ชาซีลอนเป็นชาที่มีชื่อเสียง เป็นแหล่งปลูกชาระดับโลก เป็นชาที่ดีที่สุดในโลก (The best tea in the world) บนเขานูวารา เอลิยา ยังมีกาแฟ สตรอว์เบอร์รี่พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ พืชผลเมืองหนาวเป็นจำนวนมาก

ชาซีลอน (Ceylon Tea) เป็นชาประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในโลก มีจุดเด่นอยู่ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติเข้ม ล้ำลึก กลมกล่อม ไม่แต่งสี และกลิ่น และสีสันที่ออกน้ำตาลทองอมแดงดูสวยงาม

เมื่อเกือบ 200 ปี อังกฤษได้นำผู้คนจากอินเดียตอนใต้คือเป็นชาวทมิฬนาฑู มาช่วยเก็บใบชา ช่วงที่อังกฤษมอบเอกราชให้ศรีลังกา ชีวิตแรงงานพลัดถิ่นไม่สามารถกลับอินเดียได้ หลายคนเลือกปักหลักปักฐาน จนทั่งถึงทุกวันนี้

โรงงานผลิตชา (Tea Factory)
บนเขาไร่ชา ในเมือง นูวารา เอลิยา ยังมีให้เห็นในโรงแรมเก่าแก่ใหญ่ๆ หลายแห่งอาทิเช่น ดัมโร (Damro), เปสโร (Pedro) ชมวิธีการผลิตชาทุกขั้นตอน เริ่มการรับชื้อใบชาสดจากชาวสวน บริเวณที่คัดเกรดใบชา โรงบ่มใบชาจะเป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ ทำรางตากใบชาหลายแถว การบ่มใบชาให้แห้ง เตาเผาถ่านขนาดใหญ่ จนถึงบรรจุกล่องออกขาย การคัดเกรดใบชา 3 ระดับ คือ ใบชาที่ยอดอ่อนสุด ผ่านการบ่มโดยผ่านแสงพระอาทิตย์ จะไม่ใช่อุณหภูมิจากเครื่องจักรหรือเตาถ่าน จะมีราคาแพง

ฉะนั้น คุณภาพ (Quality) ชาไม่แตกต่างกันมากนัก จะต่างก็แต่รสชาติ

จุดนั่งดื่มชาของทางโรงงาน มีบริการชาร้อนๆ ให้ดื่มชาฟรี สั่งเค้กเพิ่มเสียตังค์

ร้าน (Shop) ทางโรงงาน มีผลิตภัณฑ์ชาสำเร็จรูปมีหลาย package ทั้งแบบเล็ก แบบใหญ่ หลากหลายรส หลายกลิ่น เป็นของฝากอย่างดีจากศรีลังกา

ไปรษณีย์โบราณ (Nuwara Eliya Post Office)
ไปรษณีย์สีชมพูที่มีชื่อเสียงอยู่ตรงข้ามกับสถานีขนส่ง และวิคตอเรีย อาคารสไตล์อังกฤษ (ฟื้นฟูราชวงศ์ดอร์ดอร์) อายุกว่าร้อยปี สไตล์ ยังมีหอนาฬิกาบนหลังคา ผนังด้านนอกประกอบด้วยอิฐสีแดงและปูนขาว
มาที่นี่จะต้องมาเช็คอิน ส่งโปสการ์ด

อุทยานแห่งชาติ (National Park)

ซาฟารีศรีลังกา








โพธิสิกขาลัย (Bodhisikkhalai)
โทร 0-3587-3065, 085-7777-184 แฟกซ์ 0-3587-3058
Line ID: 0857777184
เว็บไซต์ : www.bodhisikkhalai.com
อีเมล: bodhisikkhalai@gmail.com


Copyright © 2011 All Rights Reserved