ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
|
|
|
|
|
|
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินใต้
|
ข้อมูลศรีลังกา
|
ข้อมูลอินโดนีเซีย
|
ข้อมูลพม่า
|
ข้อมูลสิงคโปร์
|
ข้อมูลมาเลเซีย
|
ข้อมูลกัมพูชา
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลทวีปยุโรป
|
ข้อมูลทวีปแอฟริกา (Africa)
|
ข้อมูลทวีปอเมริกา (America)
|
|
สารนาถ
สารนาถ
สารนาถ คือ ที่พึ่งของกวาง มาจากคำว่า สารังคะ + นาถ เป็นจุดเดียวกันกับป่าอิสิปตนมฤคทายวันและห่างตัวเมืองพาราณสี ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ป่าอิสิปตนมฤคทายวันคือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ชื่อ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ อิสิปตนกับมฤคทายวัน
อิสิ = ฤาษี, ปตน = ประชุม, ตกลง
มฤค = เนื้อ ได้แก่ กวาง ละมั่ง
ทาย = ให้ วน = ป่า
ป่าเป็นที่ให้อภัยทานแก่จำพวกเนื้อ และเป็นที่ประชุมตกลงของเหล่าฤาษี
ธัมเมกขสถูป
ธัมเมกขสถูป คือสถานที่เห็นธรรม มาจากคำว่า ธรรมะ + อิกขะ
เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเทศนากัณฑ์แรก พ.ศ.๒๓๔ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จธรรมยาตราทรงสร้างพระสถูปขนาดใหญ่เป็นรูปทรงกรวย ฐานทรงกลม สูง ๓๓ เมตร ผ่าศูนย์กลาง ๒๘ เมตร พ.ศ. ๒๓๖๕ อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม ได้ทำการทรงค้นพบ
หลักธรรมที่ทรงแสดง : ขึ้น ๑๕ ค่ำ อาสาฬหมาส พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาชื่อ ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ธรรมจักร แปลว่า ล้อแห่งธรรม ปวัตตน แปลว่า ให้เป็นไป หรือหมุน สูตร แปลว่าพระสูตร
พระสูตรที่ว่าด้วยการหมุนล้อแห่งธรรม ใจความคือที่สุด ๒ อย่าง บรรพชิตไม่ควรนิยมยินดี
๑. กามสุขขัลลิกานุโยค คือ การทำตนให้พัวพันด้วยสุขในกาม
๒. อัตตกิลมถานุโยค คือ การทำตนให้ลำบากเป็นทุกข์
ทั้งสองทางนี้ไม่ใช่ทางพระอริยะควรเดินสายกลางมัชฌิมาปฏิปทาหรือมรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริออกจากกาม ไม่พยาบาท ไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ เว้นจากทุจริต ๔
๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือ เว้นจากทุจริต ๓
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ เพียรใน ๔ สถาน
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔
และทรงแสดงอริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการคือ
๑. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์
๔. มรรค คือ หนทางที่จะดับทุกข์
พระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น โกณทัญญะได้บรรลุพระโสดาบันได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา พระองค์เปล่งอุทานว่า อัญญาสิ วต โภ โกณทัญโญ แปลว่า โกณทัญญะ ได้รู้แล้วหนอ คำว่า อัญญา จึงเป็นคำนำหน้าชื่อท่าน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โกณทัญญะทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ด้วยพระวาจาว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ท่านเป็นพระสงฆ์รูปแรก เป็นการเกิดขึ้นของพระรัตนตรัยที่ครบสมบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาคือ วันอาสาฬหบูชา
ธัมมราชิกสถูป
ธัมมราชิกสถูป คือสถานที่ตรึกระลึกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัตตลักษณสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ผู้ที่ยังยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ส่วนพระสถูปเหลือเพียงแค่ฐานเป็นวงกลม สูงจากพื้นประมาณ ๑ เมตร ส่วนองค์ได้สูญหายไปหมดแล้ว พระเจ้าอโศกทรงสร้างไว้ เดิมสูง ๖๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๓ เมตร
หลักธรรมที่ทรงแสดง: วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๙ แห่งเดือนสาวนะทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร คือพระสูตรที่แสดงถึงลักษณะไม่มีตัวไม่มีตน ใจความคือ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ปัญจวัคคีย์พิจารณาตามกระแสธรรมนั้น พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานสำเร็จเป็นอรหันต์ทั้งหมด ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์ คือ พระบรมศาสดา ๑ และปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ พระอัญญาโกณทัญญะ ๑ พระวัปปะ ๑
พระภัททิยะ ๑ พระมหานามะ ๑ พระอัสสชิ ๑
เสาหินศิลาจารึกพระเจ้าอโศก
เสาหินจารึก มีจุดประสงค์เพื่อประกาศข้อมูลข่าวสาร ราชโองการหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ข้อประพฤติปฏิบัติสำหรับประชาชน เสาเป็นหินทรายแดง จากเมืองจูนาร์ สิงห์เป็นตราประจำราชการของพระองค์ การสร้างเสาหินจารึก จะมีรูปสัตว์ อาทิเช่น สิงห์ ช้าง ม้า เป็นต้น ส่วนที่สารนาถจะเป็นมีสิงห์ ๔ หัวหันหลังชนกัน (จตุรสิงห์) ซึ่งแตกต่าง จากที่อื่น สูง ๑๕.๒๕ เมตร เสาหินหักลงมา ส่วนหัวสิงห์ปัจจุบันได้เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ
ส่วนประกอบ ความหมายของเสาหิน
๑. บนสุด ธรรมจักร มี ๒๔ ชี่ หมายถึงปฏิจจสมุปบาท
๒. สิงห์ ๔ หัว หมายถึง การขยายคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายังทิศต่างๆ
๓. รูปสัตว์ ๔ ชนิด คือ
สิงห์ คือ บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมบันลือสีหนาท
ช้าง คือ ผู้มีปัญญา พระนางสิริมายาทรงสุบินนิมิตเห็นช้างเผือก
ม้า คือ ความเร็ว เสด็จออกผนวชทรงม้ากัณฑกะ
วัว คือ ความอดทน พระองค์ได้ปฐมฌาณในวันแรกนาขวัญ
๔. ดอกบัว หมายถึง ขณะที่พระองค์ประสูติมีดอกบัวผุดขึ้นรองรับ
๕. ความหมายของอักษรพราหมี ถอดใจความออกได้ว่า
ข้าฯ ได้ทำให้สงฆ์สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวแล้ว บุคคลใดๆ จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ไม่อาจทำลายสงฆ์ได้ก็แล หากบุคคลใด จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี ก็ตาม จักทำสงฆ์ให้แตกกัน บุคคลนั้นจักต้องถูกบังคับให้นุ่งผ้าขาว และไปอาศัยอยู่ ณ สถานที่อื่น (นอกวัด) พึงแจ้งสาส์นพระบรมราชโองการนี้ให้ทราบทั่วกัน
พระมูลคันธกุฎี
พระมูลคันธกุฎี คือกุฏิหลังแรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำพรรษาแรก ณ ป่าอิสิปตนมฤคมทายวัน มีความหมายคือ มูล แรก, คันธ ของหอม, กุฎี กุฏิที่อยู่ เดิมสูง ๖๑ เมตร กว้าง ๑๘ เมตร
ยสะเจดีย์
ยสะเจดีย์ สถานที่ยสะกุลบุตรได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ปัจจุบันมีเสา ๔ ต้นสูงประมาณเกือบ ๓ เมตร ปกคลุมพระสถูปองค์เล็กๆ อยู่
ยสะเป็นบุตรของเศรษฐีเมืองพาราณสี มีปราสาท ๓ หลัง วันหนึ่งเห็นหญิงนอนหลับมีอาการต่างๆ เกิดความเบื่อหน่าย เดินออกจากบ้านมุ่งหน้าทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พลางบ่นว่า ที่นี่วุ่นวายหนอที่นี่ขัดข้องหนอ พระองค์ตรัสว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญทางนี้เถิดเราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ทรงแสดงอนุปุพพีกถา ๕ ประการ
๑. ทานกถา พรรณนาถึงการให้การบริจาค
๒. สีลกถา พรรณนาถึงการรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย
๓. สัคคกถา พรรณนาถึงสวรรค์ คือผลของการให้ทาน และ รักษาศีล
๔. กามาทีนวกถา พรรณนาถึงโทษของความใคร่ในกาม
๕. เนกขัมมานิสังสกถา พรรณนาถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม และอริยสัจ ๔ จนทำให้ยสะได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน บิดายสะเมื่อไม่เห็นลูกจึงออกตามหาได้พบพระพุทธเจ้าได้ ฟังอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ บรรลุเป็นพระโสดาบัน เป็นอุบาสกที่ถึงรัตนะตรัยเป็นที่พึ่งคนแรก ส่วนยสะได้ฟังซ้ำอีกสำเร็จพระอรหันต์ ยสะทูลขอบวช พระองค์ประทานด้วยพระดำรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด
พอตอนเช้าได้เสด็จยังบ้านบิดายสะและโปรดมารดาและภรรยาเก่าของยสะทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ จบธรรมเทศนา หญิงทั้งสองได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เป็นอุบาสิกาคนแรกของโลกที่ขอถึง
พระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต ต่อมาสหายของยสะ ๕๔ คน ที่ปรากฏชื่อคือ วิมละ สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ ทราบข่าวยสะบวช ได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้ฟังพระธรรมเทศนาจบ สำเร็จพระอรหันต์ขออุปสมบท ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้น ในโลก ๖๑ องค์
เจาขัณฑีสถูป
สถานที่พระพุทธเจ้าพบปัญจวัคคีย์ครั้งแรก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างไว้ ปัจจุบันมีความสูง ๒๑ เมตร เป็นสถูปมีขนาดใหญ่ ช่วงที่กษัตริย์มุลิมเรืองอำนาจ ใน พ.ศ. ๒๐๗๕ หุมายุนเคยมาหลบเป็นเวลา ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๑๑๙ พระเจ้าอักบาร์ ได้สร้างต่อเติมส่วนบนให้เป็นทรงแปดเหลี่ยม
ตอนหนึ่งของพุทธประวัติ : ปัญจวัคคีย์พอเห็นพุทธองค์เสด็จมาแต่ไกล ตั้งกฎกติกาว่าจะไม่ลุกรับ แต่จะปูอาสนะไว้ พอพระองค์เสด็จมาถึงต่างลืมกฎกติกาที่ นัดหมายกันไว้ พากันลุกขึ้นรับบาตรจีวร แต่ยังใช้คำพูดที่ไม่ให้ความเคารพ ไม่สมควรด้วยคำว่า อาวุโส โคตมะพระองค์ตรัสบอกว่า ดูกรปัญจวัคคีย์ ตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง และปฏิบัติตามคำของตถาคตไม่นานก็จะได้ตรัสรู้ตาม ปัญจวัคคีย์กล่าวคัดค้าน อาวุโส โคตมะ ท่านจะตรัสรู้ได้อย่างไร ในเมื่อท่านละจากความเพียรมาเป็นผู้มักมาก พระองค์ตรัสถึง ๓ ครั้ง วาจาเช่นนี้ ตถาคตเคยตรัสมาก่อนหรือไหม ปัญจวัคคีย์หวนระลึกถึงความหลังดูว่า คงจะได้ตรัสรู้จริงตาม พระวาจา จึงพร้อมกันขอประทานอภัยโทษและตั้งใจฟังธรรม
นาลกะ
หลังจากโปรดปัญจวัคคีย์ได้ ๗ วัน นาลกะหลานชายกาฬเทวิล ดาบส ได้เดินทางจากป่าหิมพานต์ กราบทูลด้วยข้อปฏิบัติของนักบวช พระพุทธองค์ตรัสเรื่อง โมเนยยะปฏิบัติ ๓ ประการ
๑. กายโมเนยยะ
๒. วจีโมเนยยะ
๓. มโนโมเนยยะ
ท่านดำรงอยู่ได้ ๙ เดือน ก็นิพพาน ณ ภูเขาหิงคุนิก พระพุทธองค์เสด็จไปทรงกระทำฌาปนกิจ สร้างสถูปครอบไว้
ลำดับต่อมา ทรงโปรดยสกุลบุตรให้สำเร็จเป็นอรหันต์
ส่งสาวกประกาศพระศาสนา
มีพระสาวกพอเป็นกำลังในการเผยแผ่หลักธรรม จึงตรัสเรียก ประชุมแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง แม้เธอก็ เหมือนกัน เธอทั้งหลายจงเที่ยวไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนอัน มาก อย่าไปทางเดียวกัน ๒ องค์ จงแสดงธรรมในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด แม้เราเองจะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อจะแสดงธรรม
พระสาวกทั้ง ๖๐ รูป ได้จาริกประกาศพระศาสนาตามแคว้น เมืองต่างๆ
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีสารนาถ (Archaeological Museum Sarnath)
อาคารพิพิธภัณฑ์
อาคารพิพิธภัณฑ์ จะแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ ทางเข้าฝั่งซ้ายมือจะเป็นพระพุทธรูป อาทิเช่น พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาฝั่งขวามือ จะเป็นเทวรูปของศาสนาฮินดู
เสาหัวสิงห์ ๔ ทิศ
สิงห์หันหลังชนกันทั้ง ๔ ทิศ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ คือต้นแบบของตราประจำแผ่นดินอินเดีย ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่บนยอดเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช แต่หักลงมาปัจจุบันอินเดียใช้หัวสิงห์นี้เป็นตราราชการ ถือเป็นสัญญลักษณ์ประจำชาติ มีปรากฏอยู่ในธนบัตร-ธงชาติของอินเดีย
ใต้หัวสิงห์ดังกล่าว คือ สตฺยเมว ชยเต หมายถึง ความจริงชนะทุกสิ่ง ได้ถูกนำมาเป็นคำขวัญประจำชาติ
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
พระพุทธปฏิมา ปางปฐมเทศนา หรือปางแสดงธรรมจักร สร้างในสมัยคุปตะ ประมาณปี พ.ศ. ๘๐๐-๑๒๐๐ พระพุทธรูปนี้ถูกค้นพบที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ในแวดวงพระพุทธศิลป์นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามที่สุดในโลกองค์หนึ่ง
องค์พระสร้างจากหินทรายเมืองจูนาร์ มีความสูงจากฐานถึงพระรัศมี ๑.๖ เมตร หน้าตักกว้าง ๐.๗๙ เมตร
พระพุทธลักษณะ
๑. องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชรในท่าแสดงธรรม เป็นพุทธจริยาพระมหากรุณาที่ทรงแสดงธรรม
๒. บนคือพระฉัพพรรณรังสี ปรากฏเป็นรูปเทวดา ๒ ตน กำลังโปรยดอกไม้ เพื่อสักการะบูชา
ฐานหรือแท่น
๑. มีกวางสองตัวหมอบอยู่ทั้งสองข้าง
๒. ตรงกลางเป็นรูปธรรมจักร
๓. ถัดจากล้ออธรรมจักรมีรูปแกะสลักของกลุ่มคน หมายถึงพุทธบริษัทที่จะช่วยกันหมุนกงล้อธรรมจักรของพระพุทธศาสนาให้ยาตราไปที่ต่างๆ
สร้างโดยพระนางกุมารราชเทวี พระมเหสีของพระเจ้าโควินท-จันทร์แห่งราชวงศ์โควินทะ เมืองกาโนช ปัจจุบันสันนิษฐานคือเมือง ลัคเนาว์
รูปตารา (Figure of Tara)
พระนางตารา พระโพธิสัตว์ตารา หรือ พระแม่ตารา เป็นภาษาสันสกฤต (มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า ดารา) เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนา ฝ่ายวัชรยาน แนวคิดการนับถือเริ่มเมื่อราว
พุทธศตวรรษที่ 8 เชื่อกันว่าแนวคิดการบูชาพระนางตาราเริ่มขึ้นในอินเดียเพื่อต่อต้านพิธีกรรมสตี โดยถือว่าเป็นชายาของ
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในอินเดีย เนปาลและทิเบต ส่วนในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์แทน (หญิง)
พระนางตาราได้รับการยกย่องว่าเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า พระนางตาราเกิดจากน้ำตาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อมองเห็นว่าสัตว์โลกมีแต่ความทุกข์ เมื่อน้ำตาของพระองค์ไหลลงมาจนกลายเป็นทะเลสาบ จึงเกิดดอกบัวขึ้น และในดอกบัวนั้นมีพระนางตาราสถิตย์อยู่ พระนางตาราก็มีหลายปาง
ส่วนในศาสนา พรามหณ์-ฮินดู พระนางตารา เป็นเทพนามว่า Parvati (พระแม่ปารวตี หรือพระแม่ศรีมหาอุมาเทวี) จะพบว่าชื่อนี้ไปตรงกับพระนาม ๑๐๘ แห่งองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี (พระนามที่ ๗๘ พระแม่ตาราแห่งเมืองกิษกินธาหรือขีดขินน์ )
สตี (Sati) สามารถหมายถึง พระนามหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี สตี (พิธีกรรม) เป็นพิธีเผาตัวตายตามสามีของหญิงหม้ายชาวอินเดีย ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู
พระมูลคันธกุฎีวิหาร
พระมูลคันธกุฎีวิหาร อนาคาริก ธรรมปาละอนุสรณ์, พระประธาน พระพุทธปฏิมา ปางปฐมเทศนาจำลอง, จิตรกรรมฝาผนัง
ภายในวิหาร ภาพเล่าพระพุทธเจ้ากับเหตุการณ์ต่างๆ, ต้นพระศรีมหาโพธิ์, หินแกรนิตสีดำ จารึกบทพระธัมมจักรกัปวัตนสูตร ภาษานานาชาติ หลายประเทศ หลายภาษา รายแวดล้อมพระศรีมหาโพธิ, รูปเหมือนท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ตั้งตระหง่านงดงาม
วัดพุทธนานาชาติ
วัดพุทธนานาชาติ มีวัดไทยสารนาถ วัดไทยพาราณสี (กำลังก่อสร้าง) วัดธิเบต วัดพม่า วัดจีนฯลฯ
พระสูตรและชาดก
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อนัตตลักษณสูตร และสุวรรณสามชาดก เป็นต้น
กลุ่มพระชาวแคว้นกาสี
กลุ่มพระชฎิล ๓ พี่น้อง คือ พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ
พระคยากัสสปะ
และพระยสะ เพื่อนเก่า ๔ รูป พระวิมละ พระสุพาหุ
พระปุณณชิ และพระควัมปติ
ประวัติพระอัญญาโกณฑัญญะ
พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ หมู่บ้านโทณวัตถุ
ใกล้กับกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ศึกษาในศิลปวิทยาจนจบไตรเพท
พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหาร และได้คัดเลือกพราหมณ์ให้ ๘ คน เพื่อทำนายพระลักษณะพระกุมาร หนึ่งในจำนวนนั้นมีโกฑัญญะซึ่งเป็นพราหมณ์หนุ่มที่มีอายุน้อยที่สุด พราหมณ์ ๗ คนแรก ได้ชูมือเป็น ๒ นิ้วคือ
๑. ถ้าพระกุมารดำรงอยู่ในเพศฆราวาส จักได้เป็นจักรพรรดิ
๒. ถ้าพระกุมารออกบวช จักได้เป็นศาสดาเอกของโลก
ส่วนโกณทัญญะพราหมณ์ชูเพียงนิ้วเดียวว่า พระกุมารจักเสด็จออกบวช และจักได้เป็นศาสดาเอกของโลก
เมื่อครั้งที่พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา โกณฑัญญะพรามหณ์ บุตรพราหมณ์อีก ๔ ท่าน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ
อัสสชิ เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ ได้ออกบวชติดตามเฝ้าอุปัฏฐาก ทรงบำเพ็ญอยู่ถึง ๖ ปี ก็ยังไม่ได้บรรลุ และได้หันมาเสวย พระกระยาหารตามปกติ ปัญจวัคคีย์เห็นดังนั้นแล้ว หลีกหนีละทิ้งพระองค์ เดินไปยังเมืองพาราณสี
อดีตชาติพระอัญญาโกณฑัญญะ
ในสมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ เข้าเฝ้าพร้อมพวกเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าตั้งสาวกไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เกิดศรัทธาปรารถนาจะเป็นเช่นนั้นบ้าง จากนั้นได้ถวายมหาทานติดต่อกัน ๗ วัน นำผ้าเนื้อดีเลิศวางถวายไว้แทบยุคลบาทกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุที่ได้แต่งตั้งด้วยเถิด ขอให้รู้แจ้งธรรมก่อนใคร
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า ในสมัยของพระพุทธเจ้าโคดม เธอจักได้ออกบวช รู้แจ้งธรรมก่อนใคร และได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู ได้ฟังแล้วเกิดปีติโสมนัส ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จ ดับขันธปรินิพพาน ได้กำแพงแก้วล้อมพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีกธาตุ
ได้สร้างเรือนแก้วภายในเจดีย์อีก
ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสี ท่านเกิดเป็นบุตรของกฎุมพี ชาวเมืองพันธุมดี มีชื่อ มหากาล มีน้องชื่อ จูฬกาล ไม่มีความเลื่อมในพระพุทธเจ้า ทั้งสองขัดแย้งในเรื่องการทำบุญ ในที่สุดได้แบ่งนาออกเป็น ๒ ส่วน มหากาลได้นำข้าวสาลีมาทำบุญถวายก่อน จนสิ้นอายุขัย พอถึงปัจจุบันชาติความปรารถนาความตั้งใจได้สำเร็จทุกประการ
ประวัติพระยสะ
อดีตชาติของพระยสะ ได้พบพระพุทธเจ้าคือ สุเมธะ สิทธัตถะ กัสสปะ ชาติที่พบพระพุทธเจ้าสุเมธะ ท่านเกิดเป็นพญานาค วันหนึ่งได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก มายังที่อยู่ของตน ได้ถวายทาน และถวายผ้าไตรจีวร จากนั้นได้ตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุอรหัตผล
พระพุทธเจ้าเห็นด้วยพระญาณว่า ความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่ จึงพยากรณ์ว่า
ในอีก ๓๐,๐๐๐ กัปข้างหน้าพระพุทธเจ้าโคดมเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้บรรลุอรหัตผล
เกิดความปีติโสมนัส ได้ทำบุญอื่นสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
ชาติที่พบพระพุทธเจ้าสิทธัตถะ เกิดเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองสุทัสสนะ ได้นำแก้ว ๗ ประการบูชาต้นกรรณิการ์ อันเป็นต้นไม้ตรัสรู้ จากชาตินั้นบุญได้ส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนถึงพระพุทธองค์ใหม่
ชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะ สละเรือนออกบวชบำเพ็ญ สมณธรรม ในช่วงพุทธันดร มีอยู่ชาติหนึ่งได้เกิดเป็นคนอาสาเก็บศพ กับเพื่อน ๕๔ คน ศพที่ไม่มีญาติ วันหนึ่งได้พบหญิงตายทั้งกลม ขณะเผาอยู่นั้นท่านเกิดอสุภสัญญา คือความรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ของสวยงาม จึงเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก็ได้อสุภสัญญาเช่นเดียวกัน
อสุภสัญญาในอดีตชาติได้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในชาติปัจจุบัน คือพอเห็นหญิงนางรำเรอที่กำลังหลับใหลอยู่ เหมือนกับซากศพในป่าช้า จึงเกิดความเบื่อหนาย
คัมภีร์มโนรถปูรณีว่า กล่าวว่า นางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้นั่นเอง นางกับลูกสะใภ้เป็นอุบาสิกานับถือพระรัตนตรัยคู่แรกในโลก
พระยสะบรรลุเป็นพระอรหันต์ขณะยังเป็นฆราวาส มิได้รับเอตทัคคะ เพราะว่าท่านมิได้จิตปรารถนา ตั้งจิตปรารถนาเพื่อบรรลุอรหัตผล คำพูดของท่านมีความว่า เนื้อตัวมีกลิ่นหอม ร่างกายประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ เราก็ได้บรรลุวิชชา ๓ เราทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้แล้ว
นางสุปปิยาอุบาสิกา
สุปปิยา เป็นชาวเมืองกรุงพาราณสี ต่อมาพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จมาเมืองพาราณสี
นางได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฟังธรรม และได้สำเร็จเป็นโสดาปัตติผล
ไปพระวิหาร (อิสิปตนมฤคทายวันวิหาร)
อุบาสิกานั้น ปกติก็จะไปสู่อาราม เที่ยวเยี่ยมวิหารและบริเวณทั่วทุกแห่ง เพื่อดูว่ามีภิกษุรูปใดอาพาธ หรือสอบถามภิกษุรูปที่อาพาธถึงความต้องการสิ่งใดเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อที่นางจะได้จัดหามาถวาย ขณะนั้นมีภิกษุรูปหนึ่งบอกกับอุบาสิกาว่า อาตมาดื่มยาถ่าย อาตมาต้องการน้ำเนื้อต้ม
อุบาสิกาสุปปิยารับคำ สั่งคนรับใช้ให้ไปหาซื้อเนื้อสัตว์ที่เขาขายมา แล้วเที่ยวหาซื้อทั่วพระนครพาราณสีก็มิได้พบเนื้อสัตว์ที่เขาขาย เพราะวันนี้ห้ามฆ่าสัตว์
อุบาสิกาสุปปิยาจึงได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุอาพาธรูปนั้นแล เมื่อไม่ได้ฉันน้ำเนื้อต้ม อาพาธจักมากขึ้น หรือจักถึงมรณภาพ แล้วได้หยิบมีด เฉือนเนื้อต้นขาต้มถวายพระ สั่งคนรับใช้นำต้มเนื้อนี้ถวายภิกษุรูปที่อาพาธอยู่ในวิหาร อนึ่ง ผู้ใดถามถึงฉัน จงบอกว่าป่วย แล้วเอาผ้าห่มพันขา เข้าห้องนอนบนเตียง
วันรุ่งขึ้นสามีได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์รับอาหารบิณฑบาตที่บ้าน พระองค์ได้ตรัสถามถึงนางสุปปิยา ตรัสให้ออกมา ทันทีที่เห็นพระพุทธเจ้าแผลใหญ่ที่ขานั้นได้เกิดเนื้องอกขึ้นเต็ม มีผิวและขนละเอียดขึ้น พระบรมศาสดาได้ทราบสาเหตุอาการอาพาธของนาง ทรงตำหนิภิกษุที่ขอเนื้อกับอุบาสิกาสุปปิยา
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงไม่ได้พิจารณา แล้วฉันเนื้อเล่า เธอฉันเนื้อมนุษย์แล้ว การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ต่อมา ทรงห้ามฉันเนื้อช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เนื้อโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว
เอตทัคคะ
ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนา พวกอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนานางสุปปิยา อุบาสิกาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกา ผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้
ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต
ดังได้สดับมา นางสุปปิยาอุบาสิกานี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสาวดี ต่อมากำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้ จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไปเพื่อปรารถนาตำแหน่งนั้น ครั้นสิ้นชีวิตลงแล้ว นางเวียนว่ายอยู่ในภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป
นันทิยะอุบาสก (ผู้มีทิพยสมบัติย่อมบังเกิดคอยท่า)
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี สมัยนั้น ตระกูลที่สมบูรณ์ดัวยศรัทธาในกรุงพาราณสีมีบุตรชื่อนันทิยะ เป็นอุบาสก ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นทายกเป็นทานบดี เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์
ครั้งนั้น บิดามารดาของเขามีความประสงค์จะนำหญิงสาวชื่อเรวดี ธิดาของลุงมาแต่เรือนที่พวกญาติอยู่กันพร้อมหน้า แต่นางเป็นคนไม่มีศรัทธา มีปกติไม่ให้ทานนันทิยะจึงไม่ต้องการนาง มารดาของนันทิยะจึงพูดกับเรวดีว่า แม่หนู เจ้ามาเรือนนี้แล้ว จงเอาโคมัยสดไล้ทาที่นั่งของภิกษุสงฆ์ ปูลาดอาสนะ ตั้งเชิงรองบาตร เวลาภิกษุทั้งหลายมา จงไหว้ รับบาตร นิมนต์ให้นั่ง เอาที่กรองน้ำกรองน้ำดื่มแล้วล้างบาตรเวลาพระฉันเสร็จแล้ว อย่างนี้จักเป็นที่ยินดีของลูกฉัน นางก็ได้ทำตามคำสั่งสอน ลำดับนั้น บิดามารดาบอกนันทิยะว่า เรวดีเป็นหญิงที่พอสั่งสอนได้เมื่อนันทิยะรับว่าดีแล้ว จึงกำหนดวันแล้วทำพิธีอาวาหมงคล
ครั้งนั้น นันทิยะกล่าวกับนางว่า ถ้าเธอจักบำรุงภิกษุสงฆ์และบิดามารดาของฉัน เมื่อเป็นอย่างนี้ เธอก็อยู่ในเรือนนี้ได้อย่าประมาทนะ นางรับคำว่าดีแล้ว เป็นเหมือนมีศรัทธาอยู่ตลอดเวลา อนุวัตรตามสามี คลอดบุตร ๒ คน บิดามารดาของนันทิยะได้ทำกาละตายแล้ว ความเป็นใหญ่ทุกอย่างในเรือนจึงได้ตกอยู่แกนางคนเดียว
แม้นันทิยะก็ได้เป็นมหาทานบดี เริ่มตั้งทานถวายภิกษุสงฆ์ เริ่มตั้งปากวัตร (หุงข้าวเป็นประจำ) ที่ประตูเรือนไว้สำหรับคนยากไร้และคนเดินทางเป็นต้น เขาสร้างศาลา ๔ หลัง ประดับด้วยห้อง ๔ ห้อง ที่อิสิปตนมหาวิหาร ให้จัดตั้งเตียงตั่งเป็นต้น ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วหลั่งน้ำทักษิโณทกลงในพระหัตถ์ของพระตถาคตเพื่อมอบถวายพร้อมกับการถวายน้ำทักษิโณทกนั้น ได้มีปราสาททิพย์ล้วนแล้วไปด้วยรัตนะ ๗ ประการทั้งยาวและกว้าง ๑๒ โยชน์โดยรอบ สูงร้อยโยชน์ เอิกเกริกไปด้วยหมู่นางอัปสรพันหนึ่ง ได้ผุดขึ้น ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะไปเที่ยวเทวจาริกเป็นปราสาทนั้น ถามพวกเทพบุตรที่มาไหว้ว่า นี้ปราสาทของใคร เทพบุตรทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เจ้าของปราสาทหลังนี้ชื่อนันทิยะ เป็นบุตรของกุฎุมพี กรุงพาราณสี ในโลกมนุษย์ได้สร้างศาลา ๔ หลัง ที่อิสิปตนมหาวิหาร ถวายสงฆ์ ปราสามหลังนี้บังเกิดขึ้นสำหรับนันทิยะนั้น
แม้เหล่าเทพอัปสรที่บังเกิดในปราสาทก็ไหว้พระเถระ กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกดีฉันบังเกิดในปราสาทนี้เพื่อเป็นบริจาริกาของอุบาสกชื่อนันทิยะ กรุงพาราณสี ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า เหล่าเทพธิดาที่บังเกิดเพื่อเป็นบริจาริกาของท่าน เมื่อท่านชักช้าอยู่ ก็งุ่มง่าน ชื่อว่าสมบัติในเทวโลก ย่อมเป็นที่พอใจยิ่ง เหมือนทุบภาชนะดินแล้วรับเอาภาชนะทองฉะนั้นแล้วกล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกแก่เขา เพื่อให้เขามาในที่นี้
พระเถระรับคำว่าดีแล้ว รีบมาจากเทวโลก ทูลถามพระผู้มีพระ-ภาคเจ้าท่ามกลางบริษัทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิพยสมบัติย่อมบังเกิดคอยท่าคนที่ทำบุญแล้วแต่ยังอยู่ในมนุษยโลกนี้หรือพระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ทิพยสมบัติที่บังเกิดคอยท่านันทิยะในเทวโลก เธอได้เห็นเองแล้วมิใช่หรือ เหตุไรเธอจึงถามเรา พระโมคคัลลานเถระกราบทูลว่า ทิพยสมบัติบังเกิดขึ้นคอยท่าอยู่อย่างนั้น พระเจ้าข้า
ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อทรงแสดงแก่พระเถระนั้นว่า มิตรและพวกพ้องทั้งหลายย่อมยินดีต้อนรับคนที่จากไปนานแล้วกลับมาฉันใด บุญทั้งหลายของตนๆ ย่อมต้อนรับประดับประคองบุคคลที่ทำบุญไว้ ผู้จากโลกนี้ไปปรโลก ฉันนั้น
เอรกปัตตะนาคราช
พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ได้กล่าวถึงเรื่อง นาคราชชื่อว่า เอรกปัตตะ หน้าที่ ๒๒๓ - ๓๓๐
พระศาสดา ทรงประทับใต้โคนต้นซึก ๗ ต้น ณ กรุงพาราณสี
ทรงปรารภนาคชื่อเอรกปัตตะ
- ไม่ปลงอาบัติเล็กน้อย ก่อนให้โทษ
สมัยศาสนากัสสปะพุทธเจ้า ได้มีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ วันหนึ่งได้นั่งเรือในแม่น้ำคงคา เรือที่แล่นได้เกิดการสั่นไหว ท่านได้ใช้มือจับใบตะไคร้น้ำจนขาด ภิกษุหนุ่มเห็นว่าเป็นอาบัติเล็กน้อย ไม่แสดงอาบัติ
ในตอนมรณภาพ เป็นประดุจใบตะไคร้น้ำผูกคอ อยากจะปลงอาบัติ แต่ไม่มีภิกษุอื่น เกิดความเดือดร้อนใจขึ้นว่า ตนมีศีลไม่บริสุทธิ์ เมื่อตายไปแล้ว ได้เกิดเป็นพระยานาค
- พระยานาคออกอุบาย เพื่อทราบการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า
ต่อมาพระยานาคได้กำเนิดธิดา เขามีความคิดว่า ตอนนี้พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วหรือยัง โดยออกอุบายด้วยวิธีนี้คือ ผู้ใดนำเพลงขับ แก้เพลงขับของเราได้ เราจักยกลูกสาวให้พร้อมกับนาคพิภพอันใหญ่แก่ผู้นั้น
ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน พระยานาคแผ่พังพานใหญ่ใน แม่น้ำคงคา วางธิดาไว้บนพังพานนั้น ให้ฟ้อนรำขับร้องว่า
ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่า ชื่อว่าพระราชา?
อย่างไรเล่า พระราชาชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?
อย่างไรเล่า ชื่อว่าปราศจากธุลี, อย่างไร? ท่านจึงเรียกว่า คนพาล
ปรากฏว่าผู้คนจากในเมืองนอกเมืองพากันมาแก้เพลงขับ ตามกำลังสติปัญญาของตน ไม่มีผู้ใดตอบถูก จนผ่านล่วงเลยไปหนึ่งพุทธันดร
- พระศาสดาทรงผูกเพลงขับแก้
ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายได้อุบัติขึ้นแล้ว วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูโลก มีเอรกปัตตนาคราช เป็นต้น และทรงเห็นมาณพชื่อว่า อุตตระ อยู่ในข่ายพระญาณของพระองค์
เวลานั้น พระพุทธองค์เห็นมาณพเดินไปไม่ไกล จึงตรัสว่า อุตตระ
อุตตระ อะไร พระเจ้าข้า
พระศาสดา เธอจงมานี่ก่อน
มาณพได้ถวายบังคม นั่งลงไม่ห่างจากพระองค์ พระศาสดาได้ตรัสถามว่า เธอจะไปไหน
อุตตระ จะไปร้องขับเพลงกับธิดาของเอรกปัตต-
นาคราช
พระศาสดา เธอรู้เพลงขับแก้แล้วหรือ
อุตตระ ข้าพระองค์ทราบ พระเจ้าข้า
พระศาสดา เธอจงกล่าวเพลงเหล่านั้นมาดูก่อน
แนะอุตตระว่า นั่นไม่ใช่เพลงขับแก้ เราจักให้เพลงขับแก้แก่เธอ
เธอต้องเรียนเพลงขับแก้ให้ได้
อุตตรมาณพ เป็นการดี พระเจ้าข้า
- อุตตรมาณพเรียนเพลงแก้จากพระศาสดา
พระศาสดาตรัสกับอุตตระว่า ถ้านางนาคมาณวิกาขับเพลง เธอพึงขับเพลงแก้อย่างนี้ว่า
ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ชื่อพระราชา
พระราชาผู้กำหนัดอยู่ ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร
ผู้ไม่กำหนัดอยู่ ชื่อว่าปราศจากธุลี
ผู้กำหนัดอยู่ ท่านเรียกว่า คนพาล
คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป,
บัณฑิตย่อมบรรเทาอย่างไร,
อย่างไร จึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ,
ท่านจงขับเพลงขับแก้แก่นางว่า
คนพาลอันห้วงน้ำ (คือกามโอฆะเป็นต้น) ย่อมพัดไป
บัณฑิตย่อมบรรเทา (โอฆะนั้น) เสียด้วยความเพียร
บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวงท่านเรียกว่า ผู้มีจิตเกษมจากโยคะ
พระพุทธเจ้าได้ประทานเพลงขับแก้ อุตตรมาณพกำลังเรียนเพลงขับแก้ ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน นางนาคมาณวิกา ขับเพลงโต้แก้ อุตตรมาณพก็ขับเพลงแก้แก่นาง สลับกันถามและตอบไปมาจนจบแห่งคาถานั้น
- นาคราชทราบว่าพระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว
พระยานาคได้ฟังเพลงขับแก้ รู้ทันทีว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกแล้ว ตนไม่เคยฟังคาถานี้ ตลอดหนึ่งพุทธันดร ดีอกดีใจ จึงเอาหางฟาดน้ำ คลื่นน้ำขนาดใหญ่ได้กระทบฝั่งทั้งสอง ทำให้ผู้คนได้ตกจมลงในแม่น้ำ จากนั้นยกมหาชนที่กำลังจมน้ำขึ้นมาไว้บนพังพาน เอาไว้บนบกเหมือนเดิม
นาคราชเข้าไปถามมาณพว่า ตอนนี้พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน
อุตตรมานพได้พานาคราชเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มหาชนจำนวนมากก็ไปเหมือนกัน ได้ถวายบังคมศาสดา ได้ยืนร้องไห้อยู่ ได้เล่าเรื่องของตนเองให้ฟังว่า ด้วยเหตุที่ได้จับตะไคร้น้ำให้ขาดเพียงเล็กน้อย ทำให้ต้องมาเกิดเป็นสัตว์ที่เลื้อยไปด้วยอก (อเหตุกสัตว์) เฝ้ารอการอุบัติของพระพุทธเจ้าอยู่ ๑ พุทธันดร
ลำดับนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า
กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.
ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก,
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก,
การได้ฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก,
การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก
- นาคราชไม่ได้บรรลุธรรม
จบพระธรรมเทศนา ผู้คนจำนวนมากได้บรรลุธรรม หรือประมาณ ๘ หมื่น ๔ พัน นาคราชควรที่จะได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน แต่กลับไม่ได้ เพราะว่าร่างกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน
สังคารวะพราหมณ์ (อาบน้ำที่แม่น้ำคงคาวันละสามครั้ง)
ครั้งหนึ่ง ณ เมืองสาวัตถี ได้มีพราหมณ์ชื่อสังคารวะ ผู้มีความเชื่อถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการอาบน้ำในแม่น้ำคงคาวันละ สามครั้งคือ เช้า กลางวัน และเย็น โดยมีความเชื่อว่าบาปใดที่ได้กระทำไว้ในยามราตรี ปาบนั้นจะชำระได้ด้วยการอาบน้ำในเวลาเช้า ในเวลากลางวัน อาบน้ำเพื่อล้างบาปที่ทำตั้งแต่เช้าจนเที่ยง และอาบน้ำในเวลาเย็นเพื่อล้างบาปอันจะเกิดขึ้นในเวลาหลังเที่ยง น้ำที่จะอาบนั้นจะต้องเป็นน้ำจากแม่น้ำคงคา โดยถือว่าเป็นแม่น้ำจากสววรค์ ผ่านเศียรพระสิวะผู้เป็นเจ้ามาแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย และเมื่ออาบน้ำจากแม่น้ำคงคาทุกวันเมื่อตายแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ได้สถิตย์อยู่กับพระผู้เป็นเจ้าด้วยเหตุนี้จึงเป็นของธรรมดาที่จะเห็นโยคีและผู้บำเพ็ญพรต นิกายต่างๆ ฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือแถบภูเขาหิมาลัย ทรมานตนอยู่ด้วยวิธีแปลกๆ ตามแค่ตนจะเห็นอย่างไหนดี และเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าได้เช่น นอนบนหนามยืนยกขาเดียวอ้าปากกินลม บูชาไฟ และบูชาพระอาทิตย์ ซึ่งก็มีอยู่ไม่น้อยที่บำเพ็ญจิตจนบรรลุฌานขั้นต่างๆ
ครั้งหนึ่งพระอานนท์ได้พบสังคารวะพราหมณ์และเห็นว่าสังคารวะพราหมณ์มีจริยปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส จึงมากราบทูลพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปโปรดสังคารวะพราหมณ์ ซึ่งพระองค์ได้เสด็จไปเยี่ยมพราหมณ์นั้น และได้ตรัสถามพรามหณ์ว่า พราหมณ์ ขณะนี้ท่านยังอาบน้ำดำเกล้าที่แม่น้ำคงคาวันละสามครั้งอยู่หรือ
พราหมณ์ตอบว่า ยังอาบอยู่พระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ได้ตรัสถามเหตุผล และพราหมณ์ได้ตอบตามที่ตนเองเชื่อว่าน้ำในแม่น้ำคงคานั้นสามารถชำระบาปมลทินได้จริงๆ
พระองค์ได้ถามอีกว่า บาปมลทินนั้นอยู่ที่กายหรืออยู่ที่ใจ
พราหมณ์ตอบว่า อยู่ที่ใจสิพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์จึงได้กล่าวว่า เมื่อบาปอยู่ที่ใจแล้วการอาบนน้ำชำระล่างกายนั้นจะสามารถซึมซาบลงไปล้างใจได้หรือ
พราหมณ์ตอบว่า น้ำนั้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งสามารถชำระล้างใจได้
พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพราหมณ์ว่า ความเชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงช้อเท็จจริงซึ่งมีอยู่ที่ตัวมันอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นตามที่เราเชื่อหรือ
พราหมณ์คิดแล้วตอบว่า เป็นไปไม่ได้เลย ความเชื่อไม่สามารถบิดเบือนความจริงได้ ความจริงเป็นของคงตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม
พระพุทธองค์ทรงตรัสต่อไปว่า เป็นอันว่าท่านยอมรับว่าความเชื่อไม่อาจไปบิดเบือนความจริงได้ การที่ท่านเชื่อว่าน้ำในแม่น้ำคงคาสามารถล้างบาปมลทินได้นั้น มันจะเป็นจริงอย่างที่เชื่อหรือ
อุปมาเหมือนบุรุษที่หลงทางในป่าและบ่ายหน้าไปทางทิศหนึ่ง ซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นทิศตะวันออกแต่ความจริงเป็นทิศตะวันตก ความเชื่อของเขาไม่อาจไปเปลี่ยนทิศตะวันตกให้เป็นทิศตะวันออกได้ฉันใด ความเชื่อของพราหมณ์เป็นอันมากที่เชื่อว่าแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถล้างบาปได้ก็ไม่อาจทำให้แม่น้ำนั้นล้างบาปได้จริง
เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่งที่มีหม้อทองแดงอยู่ใบหนึ่งมันเปื้อนเปรอะด้วยสิ่งปฏิกูลทั้งภายในและภายนอก แต่บุรุษได้ทำการล้างภายนอกเท่านั้นหาได้ล้างภายในไม่ ท่านคิดว่าสิ่งปฏิกูลภายในจะหมดไปด้วยหรือ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ภายในจะหมดซึ่งสิ่งปฏิกูล บุรุษนั้นจึงเหนื่อยแรงเปล่าไม่สามารถทำให้หม้อนั้นสะอาดได้
ดูก่อนพราหมณ์ เราได้กล่าวว่า การทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตว่าเป็นสิ่งทำให้จิตใจสกปรก และสามารถชำระล้างได้ด้วยธรรม คือการทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต มิใช่ด้วยการอาบน้ำธรรมดา น้ำดื่มของบุคคลผู้มีกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ย่อมเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปในตัวแล้ว มีศีลเป็นท่าลง เป็นที่ที่ผู้รู้นิยมอาบกัน อาบแล้วสามารถข้ามฝั่งได้โดยตัวไม่เปียกเถิด
พราหมณ์ได้ยินดังนั้นก็แจ่มแจ้งในหลักคำสอนของพระองค์ แล้วปฏิญาณตนเป็นอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ตั้งแต่นั้นจวบจนสิ้นลมหายใจ
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอนธรรมะแก่สังคารวะพราหมณ์ด้วยความจริง ซึ่งสังคารวะพราหมณ์ได้ทำการตริตรองแล้วเห็นถึงความจริงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง จนเข้าใจว่าความเชื่อที่ตนมีอยู่นั้น เป็นเพียงความเชื่อที่ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ประการใด แต่หากสังคารวะพราหมณ์เชื่อตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งมีเหตุผลเป็นเพียงความจริงสามารถพิสูจน์ได้โดยกระทำการใดๆ ด้วยกายสุจริต วจีสุทริต และมโนสุจริต นั้นย่อมเป็นความจริงที่ว่าด้วยผลของการกระทำนั้น จะไม่ก่อให้เกิดบาปใดๆ ขึ้น และเป็นการตัดซึ่งกิเลสมัวเมาจิต ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ สามารถดับทุกข์อันจะเกิดจากกิเลสตัณา อุปทานต่างๆ ได้ซึ่งตัวการกระทำ หรือกรรมนั่นหละที่จะเป็นตัวชี้วัดว่าใครดีหรือไม่ดีบริสุทธิ์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ทํ หีนปฺปณตตาย.
กรรมย่อมจำแนกสัตว์โลกให้ทรามและประณีต ดังนี้
|
|