ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
|
|
|
|
|
|
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินใต้
|
ข้อมูลศรีลังกา
|
ข้อมูลอินโดนีเซีย
|
ข้อมูลพม่า
|
ข้อมูลสิงคโปร์
|
ข้อมูลมาเลเซีย
|
ข้อมูลกัมพูชา
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลทวีปยุโรป
|
ข้อมูลทวีปแอฟริกา (Africa)
|
ข้อมูลทวีปอเมริกา (America)
|
|
กบิลพัสดุ์ (Kapilavastu) (Kapilavastu)
กรุงกบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย (Kapilavastu)
กบิลพัสดุ์สมัยปัจจุบัน
กรุงกบิลพัสดุ์ ในปัจจุบัน เป็นเพียงชนบทเล็กๆ อยู่ที่ Piparawa จังหวัดสิทถัตถะนคร (Sidharathnagar) ชายแดน เขตประเทศอินเดีย ต่อกับประเทศเนปาล
พระราชวัง และบ้านเมือง เหลือให้เห็นแต่เพียง ซากอิฐซากหิน ซึ่งมีไม่มาก ส่วนใหญ่น่าจะจมอยู่ใต้พื้นดิน ที่ยังไม่มีการขุดค้นหากันแต่อย่างใด ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของกองโบราณคดีอินเดีย
สภาพผอบหินสบู่ (Soap Stone) ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมอักษรพรหมีที่สลักเป็นหลักฐานว่า นี้คือพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากศากยวงศ์ ที่ถูกอัญเชิญเข้าเมืองไทย
- ปัจจุบันชื่อ ปิปผราหวา(Piprahwa) อยู่ห่างจากเนาการห์(Nawgarh) 35 ก.ม. ห่างจากโครักขปูร์ (Gorakhpur)๑๑๐ก.ม.
- นักโบราณคดีที่ทำการขุดค้นยืนยัน เป็นโบราณสถานเขากบิลพัสดุ์ที่หลังจากถวายพระเพลิงพุทธสรีระพระพุทธเจ้า ได้รับส่วนแบ่งมาประดิษฐานไว้ ห่างจากฐานกบิลพัสดุ์ฝั่งเนปาลเพียง ๑๕ ก.ม. เท่านั้น
- สันนิษฐานว่า เจ้าศากยวงศ์ที่รอดพ้นจากการทำลายของเจ้าชายวิทูฑภะได้ เมื่อเจ้าชายวิทูฑภะสิ้นพระชนม์ จึงรวบรวมไพร่พลสร้างขึ้นมาใหม่ จึงได้อยู่ ณ สถานที่นี้
- ปิปราหว่านี้น่าจะเป็นเขตมหาสังฆาราม เพราะมีหลักฐานเป็นพระสถูปเจดีย์ ที่ประชุมสงฆ์
- พ.ศ.๑๑๗๓ พระถังซัมจั๋งเดินทางมาเยือน มีบันทึกว่า กบิลพัสดุ์บริเวณนี้โดยรอบ ๔๐๐๐ลี้,นครหลวง ๑๐๐๐ลี้ ล้วนเป็นซากปรักหักพัง กำแพงวัง ๑๕ ลี้
- มีวังเก่าของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระประยูรญาติสายศากยะมีพระตำหนักที่อสิตดาบสเข้ามาราชสำนักทำนายพระลักษณะมหาบุรุษ
- พ.ศ.๒๔๓๙ นายวิลเลี่ยม เป๊ปเป้ หัวหน้าผ่ายขุดค้นได้พบผอบหินสบู่ ๓ ใบ หม้อแก้ว ๓ ใบ ภายในบรรจุของล้ำค่าและพระบรมสารีริกธาตุ
- พ.ศ.๒๔๔๑ มอบถวายเสด็จพ่อ ร.๕ โดยมีพระยาสุขุมนัยพินิจ และหลวงพินิจอักษร มารับ ณ เมืองโครักขปูร์
- สถูปหนึ่งสูง ๑ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕ เมตร
-สถูปสอง สูงเมตรเศษ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๙ เมตร
-สถูปสาม สูงเมตรเศษ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๓ เมตร
-มีห้องประชุม มีหมู่กุฏิสงฆ์ และมหาสังฆาราม
ประวัติการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุณเจดีย์ภูเขาทอง
วัดสระเกศฯ
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๑ มิตเตอร์ วิลเลี่ยม แคลกตัน เปปเป ชาวอังกฤษได้ขุดค้นอัฐิธาตุในพระสถูป มีอักษรจารึกอย่างเก่าแก่ที่สุดในอินเดียบอกว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เวลานั้นมาเครสเคอสัน เป็นอุปราชครองอินเดียอยู่ แต่ก่อนเคยอยู่ที่กรุงเทพฯ มีความคุ้นเคยกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสงค์จะแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ทางราชวังจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม เปรียญ) แต่ครั้งยังเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต เป็นผู้แทนประเทศไทย ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้นและครั้งนั้น พระบรมสารีริกธาตุที่เหลือ โปรดสร้างพระเจดีย์ทองสัมฤทธิ์เป็นที่บรรจุ แล้วโปรดให้ประกอบพระราชพิธีบรรจุในพระเจดีย์บนยอดบรมบรรพต เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๒ การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุคราวนี้ ทรงพระประชวรจึงเสด็จพระราชดำเนินไม่ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ
กรมขุนนครราชสีมา เสด็จแทนพระองค์
กบิลพัสดุ์ใหม่แห่งนี้ ห่างจากลุมพินีวันทางทิศเหนือ ๒๒ กิโลเมตร สันนิษฐานว่า เจ้าศากยวงศ์ได้มาสร้างวังใหม่ หลังจากถูกพระเจ้าวิฑูทภะไล่ฆ่าจนตาย
|
|