ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
|
|
|
|
|
|
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินใต้
|
ข้อมูลศรีลังกา
|
ข้อมูลอินโดนีเซีย
|
ข้อมูลพม่า
|
ข้อมูลสิงคโปร์
|
ข้อมูลมาเลเซีย
|
ข้อมูลกัมพูชา
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลทวีปยุโรป
|
ข้อมูลทวีปแอฟริกา (Africa)
|
ข้อมูลทวีปอเมริกา (America)
|
|
อโยธยา - สาเกต
อโยธยา - สาเกต
พระเจ้าปเสนทิโกศล ขอเศรษฐีธนัญชัยไปอยู่แคว้นโกศล สร้างเมืองขึ้นใหม่ที่ลุ่มน้ำสรภูนี้ ซึ่งห่างจากเมืองสาวัตถีเพียง ๗ ประโยชน์เท่านั้น (๑๑๒ กิโลเมตร)
พระพุทธองค์ และหมู่สงฆ์ผู้จาริกมากจากทิศทั้ง ๔ พระพุทธเจ้า
เคยเสด็จมาและแสดงธรรมโปรดชาวเมืองสาเกต
เป็นเมืองที่พระอานนท์ได้กราบทูลเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ สาวัตถี, ราชคฤห์, โกสัมพี, พาราณสี, นครจัมปา, และเมืองสาเกต
ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยรัฐ ๓๐ รูป วันเข้าพรรษามาบรรจบ เข้าพรรษา ณ อารามเมืองสาเกต อันเป็นปฐมเหตุแห่งผ้ากฐินทาน
พระควัมปติ - ประจำทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
พระควัมปติ เป็นกลุ่มเพื่อนพระยสะ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆราวาส และได้ออกบวชตาม พระกลุ่มนี้มี ๕๔ รูป แต่ที่ปรากฏชื่อและได้รับจัดเข้าเป็นพระอสีติมหาสาวกมีเพียง ๔ รูป คือ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ
และพระควัมปติ
พระควัมปติ เกิดในวรรณะไวศยะ ในตระกูลเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี แคว้นกาสี เมื่อท่านทราบว่า ยสะ ออกบวช ท่านและสหาย จึงพร้อมใจกันเดินทางไปหาพระยสะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ด้วยความศรัทธา พระยสะได้พาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า หลังจากกราบทูลให้ทรงทราบถึงประวัติส่วนตัวของแต่ละท่านแล้วได้ทูลขอให้พระ พุทธเจ้าแสดงธรรมให้ฟัง พระพุทธเจ้าได้ตรวจดูอุปนิสัยแล้วก็ได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ให้ฟังตามลำดับ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ทั้ง ๔ ท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นพระโสดาบัน ครั้นแล้วได้ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาอย่างที่ทรงประทานแก่ พระปัญจวัคคีย์
หลังจากบวชแล้ว พระพุทธเจ้ายังคงแสดงธรรมโปรดอยู่เนือง ๆ
ไม่ช้าก็ได้บรรลุอรหัตผล และอยู่ในคณะพระธรรมจาริกรุ่นแรกที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๖๐ รูป
พระควัมปติ คราวหนึ่งได้จำพรรษาอยู่ ณ ป่าอัญชนวัน เมืองสาเกตกับพระพุทธเจ้าและ พระภิกษุสามเณรจำนวนมากปรากฏว่า เสนาสนะไม่พอ พระภิกษุและสามเณรที่ไม่ได้เสนาสนะต้องพากันไปจำวัดตามหาดทรายชายฝั่งแม่น้ำ สรภูซึ่งอยู่ใกล้ ๆ วิหาร ตกเที่ยงคืนเกิดฝนตกน้ำหลาก พระเณรต้องหนีน้ำกันจ้าละหวั่น ความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรง ใช้พระควัมปติให้ไปใช้ฤทธิ์กั้นสายน้ำช่วยพระและเณรที่กำลังเดือดร้อน ท่านไปตามพุทธบัญชาแล้วใช้พลังฤทธิ์กั้นสายน้ำไม่ให้ไหลมารบกวนพระและเณรอีก อยู่มาวันหนึ่งท่านกำลังนั่งแสดงธรรมให้เทวดาฟัง พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสสรรเสริญท่านว่า เทวดาและมนุษย์ต่างพากันนอบน้อมพระควัมปติ ผู้ใช้ฤทธิ์ห้ามแม่น้ำสรภูไม่ให้ไหล
พระควัมปติมิได้มีตำแหน่งเอตทัคคะ ทั้งนี้เพราะท่านมิได้ตั้งความปรารถนาตำแหน่งเอตทัคคะใด ๆ ไว้แต่อดีตชาติเช่นเดียวกับพระยสะ เพียงแต่ได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อการเป็นพระมหาสาวกไว้เท่านั้น
หลังพุทธกาล
สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สักการะพุทธสถานนครสาเกต
ได้สร้างพระอารามกุฏิสงฆ์พร้อมปักเสาหินพระบรมราชโองการประกาศธรรมไว้ ๑ ต้น
พระอัศวโฆษ เป็นชาวเมืองสาเกต แคว้นอโยธยา บุตรของนาสุวรรณเกษี ท่านเป็นบุตรพราหมณ์และรอบรู้พระเวทอย่างแตกฉาน เมื่อครั้งยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ ท่านมีความทะนงในความรู้ความสามารถของท่านมาก ได้เที่ยวท้าทายพระภิกษุให้วิสัชนา-ปุจฉาถึงข้อธรรมในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธว่าศาสนาใดจะลึกซึ้งกว่า ปรากฏว่าไม่มีพระภิกษุรูปใดสามารถที่จะโต้อภิปรายกันท่านได้
ภารหลังพระปารศวะเถระเจ้า ทราบข่าวนี้จึงประกาศโต้อภิปรายกันท่าน ท่ามกลางมหาชนที่มาชุมนุมกัน และเหล่าราชาบดี อัศวโฆษทะนงความรู้ถึงกับกล่าวท้ายทายกันพระปราศวะเถระว่า หากตนแพ้จะตัดลิ้นตนทิ้งเสียหลังโต้อภิปรายแล้ว ผลปรากฏว่า อัศวโฆษได้แพ้แก่พระปารศวะเถระ แต่พระมหาเถระได้ขอร้องให้อัศวโฆษบวชเป็นพระภิกษุโดยมิต้องตัดลิ้นของตน อัศวโฆษก็ตกลง
หลังจากบวชเรียบร้อยแล้ว ก็พยายามศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน มี่ชื่อเสียงในการเทศนาว่า ไพเราะจับใจเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้รับฟังยิ่งนัก เดิมทีท่านอัศวโฆษอาศัยอยู่ในกรุงปาฏลีบุตร เมื่อเกิดสงครามระหว่างปาฏลีบุตรและพระเจ้ากนิษกะมหาราชแล้ว พระเจ้าปาฏลีบุตรยอมอ่อนน้อม และถูกปรับให้ชดใช้บรรณาการเป็นจำนวนทองถึง ๓ โกฎิ พระเจ้าปาฏลีบุตรได้นำของมีค่าคู่บ้านคู่เมืองมาใช้แทนทองดังกล่าวมีบาตรของพระพุทธเจ้าและของมีค่าอื่นๆอีกมาก แต่ก็ไม่พอกับจำนวนทองดังกล่าว ในที่สุดต้องยอมยกตัวอัศวโฆษรวมไปด้วย พระเจ้ากนิษกะจึงพอใจ แต่ข้าราชบริพารทั้งหลายของพระเจ้ากนิษกะต่างไม่พอใจที่รับตัวท่านอัศวโฆษมา เพราะเห็นว่าท่านมีค่าตัวสูงเกินไป เมื่อพระเจ้ากนิษกะทรงทราบเรื่องดังกล่าว พระองค์ต้องการให้ทุกคนประจักษ์ถึง คุณสมบัติของพระอัศวโฆษ จึงโปรดให้นำม้า ๗ ตัว มาอดอาหาร ๖ วันในวันที่ ๗ ทรงอาราธนาพระอัศวโฆษแสดงธรรมต่อหน้าพระองค์และที่ประชุมข้าราชบริพารตลอดจนถึงประชาชน ทั้งให้นำมา ๗ ตัวที่อดอาหารให้มาไว้ในที่ประชุมด้วย ท่านอัศวโฆษเริ่มแสดงธรรมเทศนาต่างๆ แล้วพระเจ้ากนิษกะทรงโปรดให้นำหญ้ามาให้ม้ากิน แต่ม้าที่อดอาหารมา ๖ วันกลับไม่สนใจหญ้านั้น คงยืนฟังธรรมจนน้ำตาไหล กิตติศัพท์ของพระอัศวโฆษจึงโด่งดังไปทั่ว เรื่องที่ท่านมีความสามารถแสดงจนสัตว์ชั้นเดรัจฉานก็ยังซาบซึ้ง และท่านก็ได้รับสมญานามว่า พระอัศวโฆษ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พระอัศวโฆษเป็นนักโต้วาทีที่มีความสามารถในการหาเหตุผลและยังเป็นนักกวีนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง งานที่สร้างชื่อทางกวีได้แก่ พุทธจริต ซึ่งพรรณนาถึงพุทธประวัติ โดยบรรยายเป็นบทกาพย์ ซึ่งแต่งได้ไพเราะลึกซึ้งมาก ถึงกับได้รับยกย่องเป็นรัตนกวีชั้นเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีกวีนิพนธ์อีกหลายต่อหลายเรื่องรวมทั้งพระสูตร และพระธรรมเทศนาของท่านอีกเป็นจำนวนมาก ในสมัยของพระอัศวโฆษ พระสูตรทางมหายานได้รับการขยายความเป็นจำนวนไม่น้อย แต่ยังปราศจากอิทธิพลเท่าที่ควร เพราะเป็นระยะแรกของการก่อตั้งนิกายมหายานอย่างเป็นทางการ
สมัยพระเจ้ากนิษกมหาราช ประมาณ พ.ศ. ๖๓๐ พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์บำรุงอารามที่พำนักสงฆ์
อโยธยา เป็นเมืองเก่าแก่ในประเทศอินเดีย อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ชาวฮินดูเชื่อว่าพระรามเคยครองราชย์ที่เมืองนี้ อโยธยาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสรยุ ทุกปีในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นเดือนประสูติของพระรามและเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนที่พระรามอภิเษกกับนางสีดาจะมีชาวฮินดูมาแสวงบุญที่อโยธยา
ประมาณปี พ.ศ. ๑๕๐๐ เศษ ท่านดาบสตุลสีดาส ประพันธ์มหากาพย์เรื่อง รามายนะ สถาปนามหานครสาเกต เป็นเมืองอโยธยา มีราชาผู้ครองชื่อ ทศรถ พระโอรสนามว่าพระราม ที่เราทั้งหลายรู้จักกันในเรื่อง รามเกียรติ์ ชาวอินเดียจึงเชื่อว่าอโยธยา คือแผ่นดินที่ประสูติของพระราม
ประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๐ เศษ กองทัพอิสลาม นำโดยกุดตับอุดดินไอบัค ยึดครองนครอโยธยา - สาเกต ทำลายล้างศาสนสถาน
และในปี พ.ศ. ๑๙๗๐ จักรพรรดิราชวงศ์โมกุล นามบาบาราชันย์ แห่งอิสลาม ได้สร้างมัสยิดชื่อบาบรี บนซากเนินดินเดิมของโบราณสถาน
ประมาณ พ.ศ. ๒๐๐๐ เศษ เครือจักรภพอังกฤษยกพลขึ้นบกปกครองอินเดียสำเร็จ ขับไล่กษัตริย์ชาวอิสลามออกนอกอาณาจักรทำให้ชาวฮินดู ประสงค์อยากได้อโยธยา กลับมาเป็นศาสนสถานของตนจึงเกิดพิพาทระหว่างฮินดูกับอิสลามเรื่อยมา
พ.ศ. ๒๔๙๐ อินเดียเป็นอิสรภาพจากอังกฤษ ความขัดแย้งแย่งเมืองศักดิ์สิทธิ์อโยธยา ระหว่างฮินดูกับอิสลาม
ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ชาวฮินดูหัวรุนแรง นักบวชนาคบาบา ทำการเผามัสยิดบาบรี เพื่อสร้างโบสถ์ถวายพระราม จึงนำไปสู่การจลาจลครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างฮินดูกับมุสลิม จนมีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๒,๐๐๐ คน
๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ศาลสูงเมืองลัคเนาว์์ เมืองหลวงของรัฐอุตรประเทศ (U.P.) ได้พิพากษา ก่อนการตัดสินคดี มีการเคลื่อนไหวทั่วอินเดีย รัฐบาลต้องเกณฑ์กำลังพลกว่า ๒๐๐,๐๐๐ นาย เพื่อ
รักษาการณ์
|
|