ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
เมนูหลัก
ประวัติความเป็นมา
ติดต่อสอบถาม
หนังสือ
เอกสารยื่น ศ.ต.ภ.
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
พระพุทธรูป
ศิลปะคันธาระ
ศิลปะคุปตะ
ศิลปะปาละ
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย
นิโครธาราม
รามคามสถูป นครเทวทหะ
ลุมพินี
สาวัตถี
สังกัสสนคร
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นอวันตี
Flag Counter
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลพุทธสถาน
สาญจี
ถ้ำอชันตา
ถ้ำเอลโลร่า
ถ้ำออรังกาบัด
ถ้ำกัณเหรี
อโยธยา
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลอินเดีย
นิวเดลี
อัครา
ฟาเตห์ปูร์ สิครี
ราชสถาน
หริทวาร, ฤาษีเกษ
จัมมู - แคชเมียร์
เลห์-ลาดักห์
อัมริตสาร์
มะนาลี-ชิมลา
ดารัมชาลา
เมืองลัคเนา
โกลกาตา
สะสาราม
พาราณสี
นิลกาย
มุมไบ
ข้อมูลอินใต้
ข้อมูลอินเดียใต้
รัฐเตลังคานา
เมืองกาญจีปุรัม
ฮัมปิ
ข้อมูลศรีลังกา
ข้อมูลศรีลังกา
ไหว้พระศรีลังกา
ข้อมูลอินโดนีเซีย
ข้อมูลอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ บาหลี
ข้อมูลพม่า
ข้อมูลพม่า
ย่างกุ้ง/ ไจโท้/หงสา/ สิเรียม
มัณฑะเลย์/พุกาม/อินเล/
ข้อมูลสิงคโปร์
ข้อมูลสิงคโปร์
สิงคโปร์
ข้อมูลมาเลเซีย
ข้อมูลมาเลเซีย
มาเลเซีย
ข้อมูลกัมพูชา
ข้อมูลกัมพูชา
เสียมเรียบ/นครวัด/นครธม
ข้อมูลลาว
ข้อมูลลาว
เวียงจันทร์/วังเวียง
หลวงพระบาง
ลาวใต้
ข้อมูลลาว
ข้อมูเวียดนาม
ฮานอย/ซาปา
ดานัง
โฮจิมินห์
ข้อมูลอินเดีย
โปรแกรมทัวร์ เดินทางคนเดี่ยว
สี่สังเวชฯ+อัครา+ราชสถาน+เดลี(21วัน)
สี่สังเวชฯ+สาญจี+อชันตา+เอโลร่า+มุมไบ (14วัน)
สี่สังเวชฯ+อัครา,ทัชมาฮาล+จัยปูร์+เดลี(11วัน)
ข้อมูลลาว
ข้อมูลทวีปยุโรป
กรุงเทพ-ลอนดอน
อิตาลี
อังกฤษ
ทำความเข้าใจก่อนไปอินเดีย

ทำความเข้าใจก่อนไปอินเดีย
ทำความเข้าใจก่อนไปอินเดียเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ เดินทางวัตถุประสงค์มาเพื่ออะไร การเข้าใจตนเองเข้าใจปัญหา เข้าใจธรรมะเป็นการลดอุปสรรค เพิ่มบุญสร้างปัญญาให้กับตนเอง
ข้อมูลเกี่ยวกับอินเดีย
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้
ทิศเหนือติดจีน เนปาล และภูฏาน
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดปากีสถาน
ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดพม่า
ทิศตะวันออกติดบังกลาเทศ
พื้นที่ : ๓,๒๕๗,๔๖๗ ตารางกิโลเมตร (ใหญ่อันดับ ๗ ของโลก)
ประชากร : ๑,๒๑๐ ล้านคน (อันดับ ๒ ของโลก)
เมืองหลวง : นิวเดลี (New Delhi) (โกลกัตตาเมืองหลวงเก่า)
มุมไบ เมืองศูนย์กลางการค้า เป็นเมืองท่าทางทะเล เมืองถ่ายทำภาพยนตร์, บังคาลอร์ เมืองศูนย์กลางเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ การบิน และอวกาศ, เจนไนเมืองศูนย์การธุรกิจเช่น ผลิตรถยนต์
ภูมิอากาศ : ตอนใต้เป็นเขตร้อน ตอนเหนือเป็นเขตหนาว ช่วงฤดูร้อน ประมาณ ๓๕ องศาเซลเซียส ช่วงฤดูหนาวประมาณ ๑๐ องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษาฮินดีใช้กันส่วนใหญ่ ภาษาอังกฤษใช้ในวงราชการและธุรกิจ ยังมีภาษาทางการใช้กันถึง ๑๘ ภาษา รวมทั้งภาษาท้องถิ่นนับร้อยภาษา
ศาสนา : ฮินดู (๘๑.๓%) มุสลิม (๑๒%) คริสต์ (๒.๓%) ซิกข์ (๑.๙%) พุทธและเซน (๒.๕%) ส่วนชาวพุทธในอินเดียข้อมูลที่ยังไม่เป็นทางการมีประมาณ ๓๐ กว่าล้าน

เมืองอินเดีย
อินเดีย คือแดนดินถิ่นพระเจ้า
อินเดีย มีหลายเผ่าศาสนา
อินเดีย มีแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ชื่อคงคา
อินเดีย มีภูผาหิมาลัย
อินเดีย คือที่สุดของที่สุด
อินเดีย คือเมืองพุทธที่ยิ่งใหญ่
อินเดีย มีสาวงามมากกว่าใคร
อินเดีย แล้งน้ำใจจึงขอทาน
อินเดีย คือที่สุดของปัญหา
อินเดีย คือภูมิปัญญามหาศาล
อินเดีย คือบ่อเกิดศรัทธาธาร
อินเดีย คือแหล่งตำนานอารยธรรม
ที่มา...กฤษณวดี

มาอินเดีย
มาตามพุทธโอวาท
มาได้โอกาสพบสิ่งต่างๆ
มาเปิดกว้างทางความคิด
มาตั้งจิตปฏิบัติธรรม
มาน้อมนำสิ่งดีกลับไป
มาน้อมใจถึงพระนิพพาน
เราไม่ได้มาอินเดียเพื่อดูสิ่งเจริญหูเจริญตา
แต่มาดูสิ่งเจริญใจ เจริญศรัทธา

การเลื่อมใสของชาวบ้าน
รูปัปปมาณิกา ชอบใจในรูป
โฆสัปปมาณิกา ชอบใจในเสียง
ลูขัปปมาณิกา ชอบใจในลักษณะนิสัย
ธัมมปมาณิกา ชอบใจในธรรมคำสอน

มาอินเดียทำไม
มาเล่าเรียนศึกษา มาหาประสบการณ์แปลกใหม่
มากราบไหว้พุทธบิดร มากินนอนแบบอรหันต์
มาสร้างฝันให้เป็นจริง มาละทิ้งตัวอัตตมา
ประกาศศักดาให้โลกรู้ มาเชิดชูพุทธธรรม
มาน้อมนำศรัทธาให้เลื่อมใส มาอบรมจิตใจสู่นิพพาน

ได้อะไรจากอินเดีย
ได้ไหว้พระเต็มอิ่ม
ได้รอยยิ้มเต็มปาก
ได้บริจาคเต็มศรัทธา
ได้ปัญญาเต็มสมอง
ได้ตริตรองเต็มสติ
ได้ปีติเต็มฤทัย

ได้อะไรจากสังเวชนียสถาน
ได้ฟังเป็นบุญหู ได้ดูเป็นบุญตา
ได้บูชาเป็นบุญตน ได้สวดมนต์เป็นบุญปาก
ได้บริจาคเป็นบุญทาน ได้อธิษฐานเป็นบุญจิต

มาอินเดียต้องมี ๕ มี
มีทรัพย์ มีกำลัง มีศรัทธา มีเวลา มีผู้นำ

มาอินเดีย
มาอินเดียเจอแต่ขี้ มาทางนี้เจอขอทาน
ไปทางนั้นเจอพ่อค้า ไปข้างหน้าเจอแต่วัว
ไปทางขวาเจอแต่คน เดินวกวนเจอขยะ

อินเดีย
อินเดีย แดนพุทธภูมิคือสถานที่สร้างบารมี สั่งสมบารมีคุณงามความดีให้เพิ่มพูนทวีคูณมากขึ้น ผู้ต้องการอยากจะสร้างความดีต้องมาอยู่ที่อินเดีย เปรียบเสมือนชายแดนเป็นสถานที่สร้างชื่อเสียง ยศ และตำแหน่งให้แก่ทหาร ทหารที่ผ่านชายแดน ผ่านสมรภูมิแล้ว จะเป็นทหารที่สมบูรณ์แบบ ความหมายของอินเดีย
อ มาจากคำว่า
แออัด ประชากรหลายพันล้านคน
โอ้อวด อวดวรรณะ
องอาจ มีเอกราช กำลังทหารที่เข้มแข็ง มีนิวเคลียร์
อบอุ่น มีพุทธสถานมากมาย และศาสนาอื่น
อ้างอิง เป็นข้อมูลอ้างอิงด้านศาสนา ธรรมชาติ ศิลปะ ประเพณีได้ดี
อบอวล ด้วยความศรัทธาในศาสนา ความเชื่อที่สืบต่อกัน มาหลายพันปี
อดออม กินอยู่ง่าย ใช้ทรัพยากรธรรมชาติไม่เปลือง ประหยัด
โอ่อ่า ปราสาทพระราชวังใหญ่โต แม่น้ำลำคลองมีมากมาย

น มาจากคำว่า
เนิ่นนาน ทำงานแบบไม่รีบร้อน ทำด้วยการพินิจพิจารณาถ้วนถี่
นอบน้อม เคารพพ่อแม่ ครู พระเจ้า
นิ่มนวล นาฏศิลป์อ่อนช้อย ลีลานิ่มนวลชวนหลงใหล
หนักแน่น รักษาธรรมเนียมประเพณีเดิมไว้ได้อย่างดี

ด มาจากคำว่า
ดั้งเดิม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามไว้ได้ เหมือนของดั้งเดิม
ดื้อดึง แม้แต่อังกฤษยังยอมแพ้ ประชาชนไม่ยอมให้ทหารปฏิวัติ
โดดเด่น มีเอกลักษณ์ประจำชาติ ประเพณี ฯลฯ
ดูดี ทั่วโลกจับตามองอินเดียด้วยความสนใจ การค้าการลงทุนดี
ดึงดูด มาอินเดียเพราะพระพุทธศาสนา และธรรมชาติไม่ต้องมีการโฆษณา
ดื่มด่ำ สงบเพราะพุทธสถาน และความงามของธรรมชาติ สิ่งก่อสร้าง


ย มาจากคำว่า
ยืดหยุ่น กฎ กติกาการจราจรยืดหยุ่นตามเหตุการณ์
ยืนหยัด พระเจ้าว่ามาอย่างไร ชาวบ้านว่าอย่างนั้น ทำตามแบบไม่สงสัย
ยอดเยี่ยม เป็นแหล่งต้นกำเนิดศิลปะ วัฒนธรรมของทั้งโลก
ยืนยาว คงเอกลักษณ์ความเป็นอินเดียอย่างนี้อีกหลายพันปี

คนไทยเวลาไปไหว้พระ
องอาจในศีล ยินดีในทาน เบิกบานเพราะสวดมนต์
เพิ่มกุศลเพราะภาวนา ได้เจริญก้าวหน้าในการงาน มีจิตเบิกบานเพราะมาไหว้พระ

พุทธกิจ ๕ อย่าง
พุทธกิจ คือ กิจที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติในแต่ละวัน มี ๕ อย่างดังนี้
๑. ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ ตอนเช้าเสด็จบิณฑบาต
๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ ตอนเย็นทรงแสดงธรรม
๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ ตอนค่ำให้โอวาทภิกษุ
๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา
๕. ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ เช้ามืดทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสสังเวชนียสถาน ๔
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ
๑. สถานที่ตถาคตประสูติ
๒. สถานที่ตถาคตตรัสรู้
๓. สถานที่ตถาคตแสดงปฐมเทศนา
๔. สถานที่ตถาคตปรินิพพาน
สถานที่ทั้ง ๔ ตำบลนี้แล ควรที่พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า จะดูจะเห็น และควรจะให้เกิดความสังเวชทั่วกัน “อานนท์ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้เที่ยวไปยังเจดีย์ สังเวชนียสถานเหล่านี้ ด้วยความเลื่อมใส ชนเหล่านั้น ครั้นทำกาลกิริยาลงจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์”

ปลงสังเวชอย่างไร
คำว่า สังเวช ไม่ได้แปลว่า ความสลดหดหู่ ความเศร้าใจ แต่ความหมายที่แท้จริงของคำว่า สังเวช คือเครื่องกระตุ้นเตือนใจ ให้เกิดความอาจหาญในการประพฤติปฏิบัติธรรมมาถึงสังเวชนียสถาน ให้กระตุ้นเตือนจิตของตนเองอยู่เสมอว่า
ประการแรก เห็นซากปรักหักพัง กองอิฐ ให้พิจารณาถึงกฏพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนันตา ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา
ประการที่สอง สถานที่นั้นๆ พระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องอะไรแล้ว เราน้อมนำหลักธรรมมาประพฤติธรรม ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว จึงได้ชื่อว่า ศรัทธาอย่างมีปัญญา ได้ทั้งบุญได้ทั้งปัญญาบารมี

อธิษฐานจิตกับอ้อนวอน
พระพุทธศาสนามิได้สอนให้คนเราอ้อนวอน แต่สอนให้พึ่งพาตนเองให้มากที่สุด เน้นการกระทำเป็นจุดสำคัญ (อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ) การอธิษฐานกับการอ้อนวอน โดยความหมายวัตถุประสงค์มีความแตกต่างกัน การอ้อนวอน คือการขอให้สิ่งต่างๆ ช่วยเหลือโดยปราศจากการกระทำ เช่น ขอให้เทวดาดลบันดาล เป็นต้น การอ้อนวอนเป็นเรื่องของการฝันอย่างลมๆ แล้งๆ เป็นอกุศลมูล คือความหลงไม่รู้จริง (โมหะ) อ้อนวอนแล้วยังลงมือทำถือได้ว่ายังไม่ตกขอบจากพระพุทธศาสนา การอธิษฐาน คือการตั้งใจมุ่งมั่นที่จะไปสู่จุดหมายอย่างแท้จริง กรณีตัวอย่าง ในคราวที่มีการมอบตำแหน่งอัครสาวก มีสงฆ์บางกลุ่มทักท้วงว่า ไม่มีการมอบให้แก่พระอัญญาโกทัญญะ เพราะว่าท่านอายุมาก และก็บวชก่อนใครอื่น พระพุทธองค์ตรัสว่า พระอัญญาโกทัญญะไม่ตั้งจิตปรารถนาเพื่อเป็น อัครสาวก แต่พระสารีบุตรและโมคัลลานะท่านตั้งใจปรารถนามาเพื่อ การนี้โดยเฉพาะ ยสะกุลบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ทำไมไม่ได้รับ เอตทัคคะคือความเป็นเลิศด้านใดด้านหนึ่งคำตอบคือเพราะว่าท่าน ไม่ได้ตั้งอธิษฐานปรารถนามาเพื่อความเป็นเลิศ ปรารถนาเฉพาะ พระอรหันต์

วันสำคัญของอินเดีย
กิจกรรมพิธี แต่ละปีวันเดือนอาจจะมีไม่แน่นอน ทางตะวันออก อินเดีย หรือไทย จะถือตามจันทรคติ ส่วนทางตะวันตก จะถือตามสุริยคติ
๑. วันขึ้นปีใหม่ (New Year’s Day) ปฏิบัติเหมือนสากลโลก มีกิจกรรมต่างๆ
๒. วันสาธารณรัฐ (Republic Day) เป็นวันที่อินเดียบรรลุจุดหมาย มีรัฐธรรมนูญการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อวัน ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๑๙๕๐
๓. วันกุมภ มหา เมลา (Kumbha Maha Mela) งานนี้ ๑๒ ปี จัดหนึ่งครั้ง ประชาชนจะมาร่วมกันจำนวนมาก มีเรื่องเล่าว่า เทพยดาและอสูรต่อสู้กันเพื่อจะครอบครองน้ำอมฤต หยาดน้ำอมฤตจะตกลงพื้นโลก ๑๒ แห่ง แต่ที่อินเดีย ๔ แห่งคือ หริตวาร์ อุชเชน ประยาด นาสิก
๔. วันวสันตปัญจมี (Vasanta Panchami) วันที่ประชาชนทำการบูชาเจ้าแม่สรัสวดี (Sarasvati) เทพีแห่งการศึกษาและศิลปะศาสตร์ ประชาชนจะแต่งกายด้วยผ้าสีเหลือง กิจกรรม เล่นกีฬา หรือแข่งขันเล่นว่าว
๕. วันศิวราตรี (Sivaratri) การได้บูชาพระศิวะในคืนนี้ จะพ้นจากสังสารวัฏ คือไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด พิธีจะมีปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือต้นมีนาคม
๖. วันโฮลี (Holi) วันโฮลี เป็นวันสาดสี ร้านค้าจะปิดหมด ประชาชนจะออกมาสาดน้ำผสมสี ๓ วัน จะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม ทัวร์ที่แสวงบุญที่อินเดียควรงดวันเวลาดังกล่าว หรือถ้าไปควรออกแต่เช้ามืด เดินทางตอนที่คนหลับ
๗. วันแจมเชด นาฟโรซ (Jamshed Navroz) วันที่กลุ่มชนปาซี ฉลองพระเจ้าแจมเซดได้ปกครองเปอร์เซีย มีการบูชาไฟ มีขึ้นวันที่ ๒๑ มีนาคมของทุกปี
๘. วันอิด - อุล - ซูฮะ (Id- UL- Zuha) วันที่ระลึกการบูชายัญของอับฺราฮัม
๙. วันมหาวีรชยันตี (Mahavira Jayanti) เป็นการฉลองวันเกิดของวรรธมานะ มหาวีรติตถกร องค์ที่ ๒๔ ของศาสนาเชน
๑๐. วันกูดฟรายเดย์ (Good Friday) วันที่พระเยซู ได้ทรงสละชีวิตเพื่อความดีของมนุษย์ทั้งหลาย กิจกรรมในโบสถ์ มีการสวดสรรเสริญ มีดนตรี จะมีขึ้นในเดือนมีนาคมหรือเมษายน
๑๑. วันอิสเตอร์เดย์ (Easter Day) วันที่ชาวคริสเตียน เชื่อว่าพระเยซูจะกลับคืนชีพมาอีกครั้ง
๑๒. วันไวสาขิ (Vaisakhi) วันไวสาขิ หรือ ไพสาขิ เป็นวันแรกของเดือนไวสาขะ วันเริ่มต้นปีของฮินดู ชาวฮินดูจะพากันอาบน้ำในแม่น้ำ ในสระ หรือบ่อ อันเป็นการต้อนรับ
๑๓. วันซับ - อิ - บารัต (Shab - i - Barat) เป็นวันที่ชาวมุสลิมเชื่อกันว่า วันที่พระเจ้าจดการกระทำของมนุษย์ลงในบัญชี และงดเว้นผลกรรมตามที่มนุษย์ได้ทำนั้นเสีย
๑๔. วันพุทธชยันตี (Buddha Jayanti) วันประสูติของพระพุทธเจ้า หรือวันวิสาขะ เป็นวันหยุดของชาติอินเดีย จะมีในเดือนเมษายน หรือพฤษภาคม
๑๕. วันมุหรฺราม (Muharram) เป็นวันที่ชาวมุสลิมไว้ทุกข์ครั้งยิ่งใหญ่ให้แก่ อีหม่าน ฮัสเซน
๑๖. วันรามซันอิด (Ramsan Id) พิธีถือศีลอด
๑๗. วันอิด – อิ – มิลาด (Id – I – Milad) วันเกิดและเสียชีวิตของโมหัมหมัด
๑๘. วันนาคปัญจมี (Naga Panchami) เป็นพิธีเพื่ออุทิศแก่ งูใหญ่
๑๙. วันอิสรภาพ (Independence Day) วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๑๙๔๗
๒๐. รักกษะพันธัน (Raksha Bandhan) วันที่น้องสาวผูกข้อมือของพี่ชาย อาศัยเหตุที่พระอินทร์ได้รับชัยชนะ เพราะได้ผูกตะกรุดไหม
๒๑. วันขอรฺดาด สาล (Khordad Sal) วันที่ฉลองวันเกิดของ ซราธุสฺตฺร คือ โซโรอัสเตอร์
๒๒. วันคเนศจตุรถี (Ganesa Chaturthi) วันที่ระลึกพระคเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง
๒๓. วันชันมอัษฏมี (Janma Ashtami) วันคล้ายวันเกิดของท่านกฤษณะ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู
๒๔. วันคานธีชยันตี (Gandhi Jayanti) วันคล้ายวันเกิดของท่านมหาตามะคานธี วันที่ ๒ ตุลาคม ของทุกปี
๒๕. วันทัสเสหฺรา (Dassehra) สัญลักษณ์แห่งชัยชนะของความดี ที่มีเหนือความชั่ว
๒๖. วันภารัตมิลัป (Bharat Milap) เป็นการฉลองการมารวมพร้อมกันของพระราม กับภารัต
๒๗. วันคูรฺปูรับ (Gurpurab) เป็นคล้ายวันเกิดของคุรุนานัก
๒๘. วันดิวาลิ หรือ ดิปวาลิ (Divali or Dipavali) เป็นวันตามประทีปต้อนรับพระลักษมี
๒๙. วันคริสตมาส (Christmas Day) เป็นวันฉลองวันเกิดของพระเยซู
๓๐. วันคูรฺปูรับ (Gurpurab) เป็นการฉลองวันเกิดของคุรุโควินทสิงห์ ศาสดาองค์ที่ ๑๐ ของสิกข์ จะมีในเดือนธันวาคม หรือมกราคม

รูปสัญลักษณ์บนเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช
รูปสัญลักษณ์บนเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชตามบันทึกมีดังนี้
๑. รูปม้า สวนลุมพินี
ตามหลักฐานโบราณคดีที่ปรากฏในปัจจุบัน คือ
๒. สิงห์เดียว ไวสาลี และสิงห์สี่หัวหลังชนกัน สารนาถ

๓. รูปโค รามปุระ

๔. รูปช้าง เมืองสังกัสสะ แคว้นปัญจาละ










โพธิสิกขาลัย (Bodhisikkhalai)
โทร 0-3587-3065, 085-7777-184 แฟกซ์ 0-3587-3058
Line ID: 0857777184
เว็บไซต์ : www.bodhisikkhalai.com
อีเมล: bodhisikkhalai@gmail.com


Copyright © 2011 All Rights Reserved