ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
เมนูหลัก
ประวัติความเป็นมา
ติดต่อสอบถาม
หนังสือ
เอกสารยื่น ศ.ต.ภ.
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
พระพุทธรูป
ศิลปะคันธาระ
ศิลปะคุปตะ
ศิลปะปาละ
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย
นิโครธาราม
รามคามสถูป นครเทวทหะ
ลุมพินี
สาวัตถี
สังกัสสนคร
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นอวันตี
Flag Counter
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลพุทธสถาน
สาญจี
ถ้ำอชันตา
ถ้ำเอลโลร่า
ถ้ำออรังกาบัด
ถ้ำกัณเหรี
อโยธยา
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลอินเดีย
นิวเดลี
อัครา
ฟาเตห์ปูร์ สิครี
ราชสถาน
หริทวาร, ฤาษีเกษ
จัมมู - แคชเมียร์
เลห์-ลาดักห์
อัมริตสาร์
มะนาลี-ชิมลา
ดารัมชาลา
เมืองลัคเนา
โกลกาตา
สะสาราม
พาราณสี
นิลกาย
มุมไบ
ข้อมูลอินใต้
ข้อมูลอินเดียใต้
รัฐเตลังคานา
เมืองกาญจีปุรัม
ฮัมปิ
รัฐอานธรประเทศ
ข้อมูลศรีลังกา
ข้อมูลศรีลังกา
ไหว้พระศรีลังกา
ข้อมูลอินโดนีเซีย
ข้อมูลอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ บาหลี
ข้อมูลพม่า
ข้อมูลพม่า
ย่างกุ้ง/ ไจโท้/หงสา/ สิเรียม
มัณฑะเลย์/พุกาม/อินเล/
ข้อมูลสิงคโปร์
ข้อมูลสิงคโปร์
สิงคโปร์
ข้อมูลมาเลเซีย
ข้อมูลมาเลเซีย
มาเลเซีย
ข้อมูลกัมพูชา
ข้อมูลกัมพูชา
เสียมเรียบ/นครวัด/นครธม
ข้อมูลลาว
ข้อมูลลาว
เวียงจันทร์/วังเวียง
หลวงพระบาง
ลาวใต้
ข้อมูลลาว
ข้อมูเวียดนาม
ฮานอย/ซาปา
ดานัง
โฮจิมินห์
ข้อมูลอินเดีย
โปรแกรมทัวร์ เดินทางคนเดี่ยว
สี่สังเวชฯ+อัครา+ราชสถาน+เดลี(21วัน)
สี่สังเวชฯ+สาญจี+อชันตา+เอโลร่า+มุมไบ (14วัน)
สี่สังเวชฯ+อัครา,ทัชมาฮาล+จัยปูร์+เดลี(11วัน)
ข้อมูลทวีปยุโรป
ข้อมูลทวีปยุโรป
ฝรั่งเศส
ลักเซมเบิร์ก
เยอรมนี
เบลเยียม
เนเธอร์แลนด์
อังกฤษ
อิตาลี
กรุงเทพ-ลอนดอน
ข้อมูลทวีปแอฟริกา (Africa)
ข้อมูลทวีปแอฟริกา
แอฟริกาใต้
ข้อมูลทวีปอเมริกา (America)
ข้อมูลทวีปอเมริกา
อเมริกา
แคว้นอวันตี

แคว้นอวันตี
แคว้นอวันตี ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเทือกเขาวินธัยหรือวินธยะ ทางใต้ของแคว้นมัจฉะ และทางตะวันตกของแคว้นวังสะ เทือกเขาวินธัย ถือเป็นแดนกำหนดเขตที่เรียกกันว่า อินเดียตอนเหนือและอินเดียตอนใต้ ผู้รู้ในปัจจุบันทั่วไปมีความเห็นว่า เขตของมัชฌิมประเทศแห่งชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล ด้านทิศใต้คงแค่จรดเทือกเขาวินธัยลงไป จึงจัดว่าอยู่นอกเขตมัชฌิมประเทศ เขตแคว้นอวันตีเองก็มีส่วนที่นับเข้าไปในปัจจันตชนบท
เทียบกับปัจจุบัน เขตของแคว้นอวันตี กล่าวอย่างคราวๆ ได้แก่ อาณาเขตในบริเวณจังหวัดอุชเชนี หรือุซไซน์ นิมาร์ตะวันตก อินโดร์ และวิทิศา รวมกับอาณาเขตใกล้เคียงด้วย ทั้งหมดอยู่ในเขตรัฐมัธยประเทศ ซึ่งมีโภปาล เป็นเมืองหลวง
คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา แคว้นอวันตีในสมัยพุทธกาลแบ่งออกเป็นสองส่วน คือเป็นอวันตีเหนือ ซึ่งมีอุชเชนี เป็นเมืองหลวง กับอวันตีใต้หรืออวันติทิกขิณาปถะ มีเมืองหลวงชื่อมาหิสสติ หรือมาหิศมตี
ตามที่เข้าใจแคว้นอวันตี มีเมืองชื่ออุชเชนี พระเจ้าจัณฑปัชโชติ เป็นผู้ปกครอง
อุชเชนี ปัจจุบันได้แก่เมืองอุชเชน หรืออุชไชน์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสิปรา ส่วนมาหิสสตินั้น กล่าวว่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา หรือนรทา แต่ยังไม่มีความเห็นลงกันแน่นอนเกี่ยวกับที่ตั้งของเมือง
อวันติทักขิณาปถะ บาลีจัมมักขันธกะ แห่งมหาวรรค วินัยปิฏก แสดงว่าอยู่ในเขตปัจจันตชนบท ปรารภเหตุถึงการผ่อนปรนข้อปฏิบัติพระวินัย
ในสมัยพุทธกาล อวันตีเป็นราชอาณาจักรที่รุ่งเรืองยิ่ง พระเจ้าจัณฑปัชโชติทรงเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งมาก พระองค์มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าพิมพิสาร แคว้นมคธ และพระเจ้าอุเทน เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ

หลังพุทธกาล เข้าสู่ยุคอโศกมหาราช จักรพรรดิธรรมราชา
พ.ศ. ๒๑๔ (=329 BC; แต่ฝรั่งนับ=268 BC) สิ้นรัชกาลพระเจ้าพินทุสาร เจ้าชายอโศก ซึ่งเป็นอุปราชอยู่ที่กรุงอุชเชนี ในแคว้นอวันตี ดำเนินการยึดอำนาจโดยกำจัดพี่น้อง ครองอำนาจโดยยังไม่ได้อภิเษกอยู่ ๔ ปี
พ.ศ. ๒๑๘ (=325 BC; แต่ฝรั่งนับ=265 BC) พระเจ้าอโศกมหาราชราชาภิเษกแล้ว แผ่ขยายอาณาจักรออกไป จนได้แม้แต่แคว้นกลิงคะที่เข้มแข็งยิ่งยง กลายเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และมีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเดีย

กลุ่มพระชาวแคว้นอวันตี
พระมหากัจจายนะ พระโสณกุฏิกัณณะ

กลุ่มพระต่างแคว้น

พระพาหิยะ พระปุณณะ พระทัพพะ พระรัฐบาล พระโสณโกฬิวิสะ พระมหากัปปินะ

ประวัติพระมหากัจจายนเถระ
พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลกัจจายนะ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชติ ในกรุงอุชเชนี เดิมท่านชื่อว่า “กัญจนะ” เรียนจบไตรเพท
พระเจ้าจัณฑปัชโชติ มีพระราชประสงค์จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จสู่กรุงอุชเชนีของพระองค์บ้าง จึงรับสั่งให้ ปุโรหิตกัจจายนะไปกราบทูลอาราธนา กัจจายนะถือโอกาสกราบทูลลาเพื่ออุปสมบทด้วย เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงพร้อมด้วยบริวารติดตามอีก ๗ คน เดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อเดินทางไปถึงก็รับเข้าเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสพระธรรมเทศนาให้ฟังและท่านทั้ง ๘ คนนั้น ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วกราบทูลขออุปสมบท
ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จสู่กรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางมา แต่พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านไปเองพระเจ้าจัณฑปัชโชติ และชาวเมืองก็จะเกิดศรัทธาเหมือนกัน พระมหากัจจายนะ จึงกราบทูลลาพระบรมศาสดาพาภิกษุบริวารอีก ๗ องค์นั้น เดินทางกลับสู่กรุงอุชเชนี ประกาศหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชติ และชาวเมืองได้สดับรับฟัง เกิดศรัทธาเลื่อมใส ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่่กระจายทั่วกรุงอุชเชนีแล้ว ท่านก็ได้เดินทางกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก
ท่านพระมหากัจจายนะ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมือง กุรุรฆระในอวันตีทักขิณาปถชนบท ขณะนั้น มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อว่า โสณกุฎิกัณณะ มีศรัทธาจะอุปสมบท แต่เนื่องจากในอวันตีชนบทนั้นมีพระภิกษุจำนวนน้อย ไม่ครบเป็นคณปูรกะจำนวน ๑๐ รูป (ทสวรรค) ตามพระบรมพุทธานุญาต ท่านจึงให้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่นานถึง ๓ ปี กว่าจะได้อุปสมบท
และเมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะได้อุปสมบทแล้ว ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้กราบลาพระมหากัจจายนะ ก็อนุญาตพร้อมทั้งสั่งให้ไปกราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาต ให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ๕ ข้อ ซึ่งไม่สะดวกแก่พระภิกษุผู้อยู่ในอวันตีชนบท คือ
๑) ในอวันตีชนบท มีพระภิกษุจำนวนน้อย ขอให้พระผู้มีพระ-ภาคทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะพระภิกษุน้อยกว่า ๑๐ รูปได้ข้อนี้ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตการอุปสมบทในปัจจันตชนบทด้วยคณะพระภิกษุ ๕ รูปได้”
๒) ในอวันตีชนบท มีพื้นดินขรุขระไม่เรียบไม่สม่ำเสมอ ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้พระภิกษุในอวันตีชนบทสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้นได้ ข้อนี้ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตให้ภิกษุสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้นในปัจจันตชนบทได้”
๓) ในอวันตีชนบท อากาศร้อน บุคคลต้องอาบน้ำทุกวัน ขอพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์ได้ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์แก่ภิกษุผู้อยู่ใน ปัจจันตชนบท”
๔) ในอวันตีชนบท มีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังมีหนังแพะ และหนังแกะ เป็นต้น สมบูรณ์ดีเหมือนในมัชฌิมชนบท ขอพระพุทธองค์ทรงอนุญาตเครื่องลาดทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะและหนังแกะ เป็นต้นเหล่านั้นเถิด ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์เหล่านั้น”
๕) ทายกทั้งหลาย มักจะถวายจีวรแก่ภิกษุผู้ที่ออกจากวัดไปแล้ว ด้วยสั่งไว้ว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” เมื่อเธอกลับมาแล้ว ทายกได้นำจีวรเข้าไปถวาย แต่เธอไม่ยอมรับด้วยเข้าใจว่า ผ้าผืนนี้เป็นนิสสัคคีย์ ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตให้ภิกษุรับจีวรที่ทายกถวายลับหลังได้ ด้วยว่า ผ้ายังไม่ถึงมือเธอตราบใด จะถือว่าเธอมีสิทธิ์ในผ้าผืนนั้นเต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น”
พระมหากัจจายนเถระ เป็นพระพุทธสาวก ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถอธิบายธรรมที่ย่อให้พิสดาร ให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาเลื่อมใสได้โดยไม่ยาก ทั้งนี้เพราะส่วนหนึ่งท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑) อัตถปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถ สามารถอธิบายความย่อให้พิสดารได้
๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในธรรม สามารถถือเอาความโดยย่อจากธรรมที่พิสดารได้
๓) นิรุตติปฏสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในนิรุตติ มีความเชี่ยวชาญในภาษา สามารถพูดให้คนอื่นเลื่อมใสได้
๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในปฏิภาณมีไหวพริบและปฏิภาณ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้
นอกจากนี้ยังมีพระธรรมเทศนาของท่านอีกหลายกัณฑ์ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ ได้ยกขึ้นสู่สังคีติ คือการทำสังคายนา ได้แก่:-
๑ ภัทเทกรัตตสูตร เป็นสูตรที่แสดงถึงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือ คนที่เวลาวันคืนหนึ่ง ๆ มีแต่ความดีงาม ความเจริญก้าวหน้า ได้แก่ ผู้ที่ไม่มัวครุ่นคิดถึงอดีต ไม่เพ้อฝันหวังอนาคต ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ทำความดีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยไป มีความเพียรพยายามทำกิจที่ควรทำตั้งแต่ในวันนี้
๒ มธุรสูตร เป็นสูตรที่ท่านแสดงแก่พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ในขณะที่ท่านพักอยู่ที่คุณธาวัน มธุรราชธานี สูตรนี้มีใจความแสดงถึงความไม่แตกต่างกันของวรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร วรรณะทั้ง ๔ นี้ แม้จะถือตัวอย่าง เหยียดหยามกันอย่างไร แต่ถ้าทำดีก็ไปสู่ที่ดีเหมือนกันทั้งหมด ถ้าทำชั่วก็ต้องรับโทษไปอบายเหมือนกันทั้งหมดทุกวรรณะเสมอกัน ในพระธรรมวินัย ออกบวชบำเพ็ญสมณธรรมแล้ว ไม่เรียกว่าวรรณะอะไร แต่เป็นสมณะเหมือนกันทั้งหมด
ที่พระเถระกล่าวสูตรนี้ ก็เพราะพระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ถามปัญหากับท่านเกี่ยวกับเรื่องพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และเกิดจากพรหม ท่านจึงแก้ว่าไม่เป็นความจริงแล้วยกตัวอย่างเป็นข้อ ๆ ดังนี้
๑) ในวรรณะ ๔ เหล่านี้ วรรณะใดเป็นผู้ร่ำรวย มั่งมีเงินทอง วรรณะเดียวกัน และวรรณะอื่นย่อมเข้าไปหา ยอมเป็นบริวารของวรรณะนั้น
๒) วรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เมื่อตายไป วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่อบายเสมอเหมือนกันทั้งหมด
๓) วรรณะใดประพฤติกุศลกรรมบถ เมื่อตายไป วรรณะนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกันทั้งหมด
๔) วรรณะใดทำโจรกรรม ทำปรทาริกกรรม วรรณะนั้นต้องรับราชอาญาเหมือนกันทั้งหมด ไม่มียกเว้น
๕) วรรณะใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลในธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับความนับถือ การบำรุง และการคุ้มครองรักษา เสมอเหมือนกันทั้งหมด เมื่อพระเถระแสดงเทศนามธุรสูตรจบลงแล้ว พระเจ้ามธุรราช ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส ประกาศประองค์เป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา
พระมหากัจจายนเถระ เป็นผู้มีรูปร่างสง่างามผิวเหลือง ดุจทองคำสะอาดผ่องใจ เป็นที่ต้องตาถูกใจแก่ผู้พบเห็นทั่วไป จนกระทั่งมีเหตุการณ์วิปริตเกิดขึ้นแก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองโสเรยยะ ชื่อว่า โสเรยยะ เหมือนชื่อเมือง ขณะที่เขานั่งบนยานพาหนะกับสหายเพื่อไปอาบน้ำพร้อมกับบริวารทั้งหลาย ได้เห็นพระเถระกำลังยืนห่มจีวร เพื่อเข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วเกิดความพอใจ ในดวงจิตคิดอกุศลขึ้นว่า “งามจริงหนอ พระเถระรูปนี้ น่าจะเป็นภริยาของเรา หรือไม่ก็ขอให้ภริยาของเรามีสีผิวกายเหมือนพระเถระนี้” ด้วยอกุศลจิตคิดเพียงเท่านี้ ทำให้เพศชายของเขาหายไป กลายเป็นเพศหญิงไปทั้งร่างทำให้เขาอับอายเป็นอย่างมาก และโดยที่ไม่มีใครรู้เขารีบลงจากยานนั้นแล้วเดินตามกองเกวียนพ่อค้าไปยังเมืองตักสิลา และได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น อยู่ร่วมกันจนมีบุตร ๒ คน แต่เดิมทีที่เขาอยู่ในเมือง โสเรยยะนั้น เขาก็มีภริยาอยู่แล้วและมีบุตรด้วยกัน ๒ คน เช่นเดียว กัน จึงปรากฏว่าเขาเป็นทั้งพ่อและแม่ หรือเป็นทั้งผัวและเมียในชาติเดียวกันนี้
ต่อมา พระมหากัจจายนเถระ จาริกมายังเมืองตักสิลา โสเรยยะทราบแล้วจึงเล่าเรื่องราวของตนที่ผ่านมาให้สามีฟัง แล้วพากันไปกราบขอขมาโทษต่อพระเถระ เมื่อท่านทราบเรื่องโดยตลอดแล้วก็ยกโทษให้ และเพศหญิงก็หายไปเพศชายปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม เขาเกิดศรัทธา เลื่อมใสในพระเถระเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งเห็นว่าตนเองเป็นคนแปลกคือเป็นทั้งชายและหญิงในอัตภาพเดียวเท่านั้น และยังคิดว่าไม่ควรที่จะอยู่ครองเพศฆราวาสต่อไป จึงมอบบุตรทั้ง ๔ คนให้บิดามารดาเลี้ยงดูต่อไป ส่วนตนเองได้ขอบวชในสำนักพระเถระ และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ในกาลต่อมาพระมหากัจจายนะ นอกจากจะมีเรื่องของโสเรยยะ แล้ว ยังมีเรื่องพระภิกษุเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระเถระเดินมาแต่ไกลแล้วก็พากันกล่าวว่า “พระบรมศาสดาของพวกเราเสด็จมาแล้ว” แล้วพากันทำความเคารพกราบไหว้ ทั้งนี้ก็เพราะท่านมีรูปลักษณ์ละม้ายกับพระผู้มีพระภาคนั้นเองพระเถระพิจารณาเห็นโทษเช่นนี้แล้ว จึงอธิษฐานจิตเนรมิตรร่างกายของท่านให้เปลี่ยนแปลงผิดแปลกไปจากเดิม ร่างกายที่เคยสง่างามก็ย่นย่อ ต่ำเตี้ย ท้องป่อง หมดความสวยงามดังที่พุทธศาสนิกชนนิยมสร้างรูปท่านไว้เป็นที่สักการบูชาในทุกวันนี้
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรแต่โดยย่อ พระภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสเพื่อจะกราบทูลถาม จึงพากันเข้าไปหาพระมหากัจจายนะ กราบอาราธนาให้ท่านได้เมตตาอธิบายขยายความให้ฟัง พระภิกษุเหล่านั้นพากันลาพระเถระแล้ว เข้าไปกราบทูลเนื้อความที่พระมหากัจจายนะ อธิบายไว้ให้พระพุทธองค์ทรงสดับพระผู้มีพระภาค ตรัสสรรเสริญพระเถระว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจายนะ เป็นผู้มีปัญญา เนื้อความนั้นถ้าพวกเธอถามตถาคต แม้ตถาคตก็จะอธิบายอย่างนั้น เช่นกัน ขอพวกเธอจงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด”
เมื่อครั้งพระพุทธองค์ ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงตั้งพระมหากัจจายนะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร ท่านพระมหากัจจายนเถระ ดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

ประวัติพระโสณกุฎิกัณณเถระ
พระโสณกุฎิกัณณเถระ เป็นบุตรของอุบาสิกาชื่อว่า “กาฬี” ในเมืองราชคฤห์ เดิมชื่อว่า “โสณะ” เพราะท่านชอบประดับหูของท่านด้วยเครื่องประดับมีมูลค่ามากถึง ๑ โกฎิ จึงได้นามว่า “กุฎิกัณณะ” เติมเข้ามาข้างหลังชื่อ ดังนั้นท่านจึงมีชื่อว่า “โสณกุฎิกัณณะ”
สมัยที่พระมหากัจจายนเถระ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มารดาของโสณกุฎิกัณณะ เป็นอุบาสิกาให้การบำรุงอุปัฏฐากท่าน ฟังธรรมจากพระเถระอยู่บ่อยๆ แล้วเกิดศรัทธาแสดงตนเป็นอุบาสก
มีศรัทธาปรารถนาจะบวช แต่พระเถระได้แนะนำให้เขาปฏิบัติตนบำเพ็ญกุศล ในเพศฆราวาสจะสะดวกกว่า เพราะชีวิตพระสงฆ์ต้องประพฤติพรหมจรรย์นั้นเป็นเรื่องยากลำบาก ในที่สุดพระเถระก็ให้บวชเป็นสามเณร ไว้ก่อนเนื่องจากอวันตีทักขิณาปถชนบทนั้นหาภิกษุได้ยาก การบวชพระ จะต้องมีภิกษุร่วมประชุมสังฆกรรมให้การอุปสมบทอย่างน้อย ๑๐ รูป เรียกว่า ทสวรรค ท่านจึงเป็นสามเณรอยู่นานถึง ๓ ปี กว่าจะอุปสมบทได้ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ท่านมีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะท่านยังไม่เคยเห็นพระองค์เลย ท่านจึงกราบลาพระมหากัจจายนเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเถระก็อนุญาต และได้ฝากความไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเพื่อขอแก้ไขพระวินัยอันเป็นพุทธบัญญัติบางประการ ซึ่งไม่สะดวกแก่พระสงฆ์ผู้อยู่ในเมืองกุรุรฆระ แคว้นอวันตีชนบาท รวมทั้งหมด ๕ ประการ
เดินทางมาถึงพระเชตะวันมหาวิหารแล้ว เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมกราบทูลความตามที่พระอุปัชฌาย์สั่งมา เมื่อพระพุทธองค์ทรงสดับรับทราบความลำบากของหมู่ภิกษุสงฆ์ ในชนบทแล้ว พระองค์ทรงประทานอนุญาตตามที่ขอมานั้นทุกประการ
พระผู้มีพระภาค มีดำรัสสั่งให้พระอานนท์เถระจัดสถานที่ ให้ท่านพักค้างแรมในพระคันธกุฎีร่วมกับพระองค์ ในเวลาใกล้รุ่งของราตรีนั้น พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านแสดงธรรมให้พระองค์ได้สดับ พระโสณกุฎิกัณณเถระ จึงน้อมรับสนองพุทธดำรัสด้วยการแสดงพระสูตรอันแสดงถึงวัตถุ ๘ ประการด้วยเสียงอันไพเราะ เมื่อจบเทศนาพระสูตรนั้นแล้ว พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนา สาธุการชมเชยในความสามารถของท่านและได้ทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้มีวาจาไพเราะ, ผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำไพเราะ
ท่านพระโสณกุฎิกัณณเถระ พักอาศัยอยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาค พอสมควรแก่เวลาแล้ว ได้กราบทูลลากลับมายังสำนักของพระมหากัจจายนเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในอวันตีชนบท กราบเรียนรายงานผลการเข้าเฝ้าให้ได้รับทราบทุกประการ และท่านยังได้แสดงเทศนาที่แสดงถวายพระพุทธองค์ให้ โดยมีมารดาของท่านรับฟัง เป็นการเพิ่มพูนศรัทธาความเชื่อและปสาทะความเลื่อมใสแก่โยมมารดาของท่านอีกด้วย
ท่านพระโสณกุฎิกัณณเถระ ดำรงอายุสังขารช่วยกิจการพระศาสนาโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน








โพธิสิกขาลัย (Bodhisikkhalai)
โทร 0-3587-3065, 085-7777-184 แฟกซ์ 0-3587-3058
Line ID: 0857777184
เว็บไซต์ : www.bodhisikkhalai.com
อีเมล: bodhisikkhalai@gmail.com


Copyright © 2011 All Rights Reserved