ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
|
|
|
|
|
|
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินใต้
|
ข้อมูลศรีลังกา
|
ข้อมูลอินโดนีเซีย
|
ข้อมูลพม่า
|
ข้อมูลสิงคโปร์
|
ข้อมูลมาเลเซีย
|
ข้อมูลกัมพูชา
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลทวีปยุโรป
|
ข้อมูลทวีปแอฟริกา (Africa)
|
ข้อมูลทวีปอเมริกา (America)
|
|
มหาสถูปเกสริยา (Kesariya Maha stupa)
มหาสถูปเกสริยา (Kesariya Maha stupa) เขตจังหวัดจัมบารัน (Champaran) แคว้นวัชชี รัฐพิหาร
สร้างขึ้นเป็นฐานกลมครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔ -๖ และมีการปฏิสังขรณ์เติมซุ้มคูหาในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ เป็นมหาสถูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอินเดีย
เกสริยา เป็นสถูปยุคแรกๆ ของพระพุทธศาสนา โบโรพุทโธ อินโดนีเซียได้รับอิทธิพลศิลปะจากพระสถูปแห่งนี้ มองจากลักษณะฐานและซอกมุมของพระเจดีย์มีที่วางประดิษฐานพระพุทธรูปมีความเหมือนกัน สถูปเกสริยา เป็นสถานที่บรรจุบาตรของพระพุทธองค์ และพระพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงกาลามสูตรให้กับชาวเกสปุตตคามฟังปัจจุบันเกสริยาเป็นเนินดินปกคลุมด้วยดิน หญ้า ต้นไม้ เป็นจำนวนมาก กำลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ เป็นพระสถูปใหญ่โต แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ตลอดจนผู้ที่มีทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง
พระเจดีย์ ที่มีลักษณะสัณฐาณคล้ายกัน
เกสริยา อินเดีย
บุโรพุทโธ อินโดนีเชีย
ชเวดากอง พม่า
พระสถูปเจติยะ องค์แรกของโลก
เจดีย์ ถือเป็นปูชนียสถานหรือวัตถุเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรืออาจจะหมายถึงตัวแทนของพระพุทธองค์ มีความมุ่งหมายให้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือบรรจุพระบรมธาตุ เจดีย์จึงเป็นประธานในวัด ต้นกำเนิดของเจดีย์มาจากอินเดียเรียกว่า สถูป ในภาษาบาลี หรือ ถูป ในภาษาสันสกฤต แต่เดิมก่อนมีพระพุทธศาสนาเป็นที่ฝังอัฐิ ในล้านนาเรียกเจดีย์ว่า กู่ เช่น กู่เต้า กู่กุด ต่างจากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมเรียกเจดีย์ว่า ธาตุ เช่น พระธาตุพนม ในทางพุทธศาสนาแบ่งเจดีย์ออกเป็น ๔ ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุเทสิกเจดีย์ และบริโภคเจดีย์ ต่อมาสามัญชนหรือบุคคลชั้นปกครองได้นิยมนำอัฐิเจดีย์ของผู้มีเกียรติสูง บรรจุไว้ในเจดีย์ด้วยแต่ต่างวัตถุประสงค์กัน
พระเจ้าอชาติศัตรู กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ จึงให้นำพระอัฐิธาตุที่รวบรวมกลับคืนมาได้ทั้งหมดนั้น สร้างเป็นสถูปทองแดงบรรจุฝังลงไว้ในห้องกรุใต้ดิน ลึกลงไป ๘๐ ศอก บุพื้นด้วยแผ่นทองแดง พร้อมเครื่องบูชาและสมบัติมีค่าแห่งพระจักรพรรดิ แล้วปิดกรุด้วยแผ่นศิลา สร้างพระสถูปขนาดใหญ่ประดิษฐานทับเหนือห้องกรุนั้นไว้เป็นมั่นคง
หากนับตามวรรณกรรม ก็อาจถือได้ว่า พระสถูป ในความหมายของ เจติยสถาน แห่งแรกของโลก คือเนินสถูปที่ถูกสร้างขึ้นโดย พระเจ้าอชาตศัตรู ที่ กรุงราชคฤห์ (Rajgriha) ในช่วงเริ่มแรกของพุทธศตวรรษ
แต่หากจะนับหลักฐานที่ค้นพบทางโบราณคดีแล้ว พระสถูป- เจติยะ แห่งแรกของโลก น่าจะถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในยุคสมัยของ
พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka The Great) ความเชื่อแบบเทวนิยมของกรีกกำลังรุ่งเรือง ทรงได้รับการศึกษา เรียนรู้วิทยาการ ภูมิปัญญา คติความเชื่อศิลปวัฒนธรรม จากดินแดนตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลของกรีก เปอร์เซีย หรืออียิปต์ ที่ทิ้งไว้ในแคว้น คันธาระ (Gandhara) ทรงรับเอา วิถีแห่งชีวิต (Life Style) ศิลปกรรมและความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า การสร้างเนินสุสานและพิธีกรรมแห่งความตายของชาวคันธาระ
มาสู่อินเดียเหนือ
รูปแบบของ พระสถูปเจติยะองค์แรกของโลก อาจมีลักษณะเป็นเนินดินสูงแบบสุสานทูมูรัสของกรีก ไซเธี่ยน ใต้พื้นทำเป็นห้องกรุบรรจุพระอัฐิธาตุ (Relics chamber) และของมีค่าควรแก่ พระจักรพรรดิราชา (Universal Emperor) ด้านบนเนินดินอัดด้วยหินกรวดและดินในรูปโดมหรือโอคว่ำ เหนือเนินดินมีรูปสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์และแท่นบูชาเพื่อใช้ในการปะกอบพิธีกรรม
|
|