ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
|
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
|
|
|
|
|
|
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลอินใต้
|
ข้อมูลศรีลังกา
|
ข้อมูลอินโดนีเซีย
|
ข้อมูลพม่า
|
ข้อมูลสิงคโปร์
|
ข้อมูลมาเลเซีย
|
ข้อมูลกัมพูชา
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลลาว
|
ข้อมูลอินเดีย
|
ข้อมูลทวีปยุโรป
|
ข้อมูลทวีปแอฟริกา (Africa)
|
ข้อมูลทวีปอเมริกา (America)
|
|
กุสินารา แคว้นมัลละมัลละ
กุสินารา แคว้นมัลละมัลละ
กุสินาราคือสถานที่ปรินิพพาน ถ้านับตามลำดับเป็นสังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ แคว้นมัลละ มีเมืองหลวง ๒ แห่งคือ กุสินาราและเมืองปาวา
มีรูปแบบการปกครองคือแบบสาธารณรัฐ เจ้ามัลละร่วมกันปกครอง หลังพุทธปริพพาน ๑๕๐ - ๒๐๐ ปี ได้ตกเป็นเมืองของแคว้นมคธ เหตุที่มา
ปริพพานเมืองกุสินารา
๑. เพื่อแสดงสุทัสสนสูตร
๒. เพื่อโปรดสาวกองค์สุดท้ายคือ สุภัททะปริพาชก
๓. เพื่อมิให้เกิดภัยสงครามจากการแย่งพระบรมสารีริกธาตุ
ตรัสอดีตเมืองกุสินารา
เนื่องจากกุสินาราเป็นเมืองเล็ก พระอานนท์จึงกราบทูลให้เสด็จปรินิพพานที่เมืองใหญ่กว่า พระองค์ตรัสว่า อดีตเมืองนี้ชื่อว่า กุสาวดี
ยาว ๑๒ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์ กษัตริย์พระนามว่า พระมหาสุทัศน์ ผู้มีรัตนะ ๗ ประการ ทรงปกครองโดยธรรม กึกก้องไปด้วยเสียง ๑๐ ประการ เสียงช้าง ม้า รถ เภรี (กลอง) ตะโพน พิณ ขับร้อง กังสดาล สังข์ และเสียงคนเรียกกันทานอาหาร พระเจ้าอโศกมหาราชเคยเสด็จ ธรรมยาตราได้พระราชทานทรัพย์ และสร้างพระสถูป ณ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และปักเสาหิน ๓ ต้น
สวนสาลวโนทยาน
สวนสาลวโนทยานคืออุทยานของเจ้ามัลละ ตามที่เต็มไปด้วยต้นสาละ ปัจจุบันมีการปรับภูมิทัศน์ มีสนามหญ้า ยังมีต้นสาละภายในบริเวณ เป็นต้น สาละแบบอินเดีย ส่วนสาละในบ้านเรา (เมืองไทย) เป็นสาละพันธุ์ศรีลังกา วัดพม่าจะสร้างติดกับสวนสาลวโนทยาน
มหาปรินิพพานสถูป
ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานระหว่างสาละ ๒ ต้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างครอบสถานที่ปรินิพพานจริงเรียกว่า มหาปรินิพพานสถูป พระสถูปมีความสูง ๖.๑๐ เมตรเหนือระดับพื้นดิน ด้านบนของพระสถูปเป็นฉัตร ๓ ชั้น
มหาปรินิพพานวิหาร
มหาปรินิพพานวิหารเป็นสถานที่สร้างครอบพุทธปฏิมาปางปรินิพพาน สถาปัตยกรรมของตัวอาคาร จำลองระเบียงหน้าถ้ำอชันตาใกล้กับพระสถูปเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๗ วันก่อนอัญเชิญไปถวายพระเพลิง
พระพุทธมหาปรินิพพาน
พระพุทธมหาปรินิพพาน เป็นพระพุทธปฏิมาปางปรินิพพานสร้างจากหินทรายก้อนแดงเดียว ยาว ๒๓ ฟุต กว้าง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว องค์พระ ยาว ๑๐ ฟุต สูง ๒ ฟุต ๑ นิ้ว เป็นช่างมาจากเมืองมถุรา ชื่อนายถินา พ.ศ. ๒๔๑๘ ๒๔๐๔ A.C.I. คาร์เลย์ พบพระพุทธปฏิมาแตกหัก ๖ ท่อน อยู่ภายในห้องสถูปปรินิพพาน
มกุฏพันธนเจดีย์
มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้าสิ้น ๖ วัน แล้ววันที่ ๗ ได้ทำการเคลื่อนย้ายไป ณ มกุฎพันธนเจดีย์เพื่อการการถวายพระเพลิง ในอดีตเป็นสถานที่แต่งตั้งหรือสวมมงกุฎให้เหล่ามัลละกษัตริย์ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ปัจจุบันองค์พระสถูปมีลักษณะคล้ายบาตรคว่ำ ก่อด้วยอิฐและมีสนามหญ้าสวนหย่อมรายรอบพระสถูป
หลักธรรมที่ทรงแสดง: โปรดนายจุนทะ
เมื่อเสด็จถึงปาวานคร ประทับ ณ อัมพวัน สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร เข้าไปเฝ้าได้ฟังธรรมและเกิดความเลื่อมใส กราบทูลนิมนต์เพื่อรับอาหารบิณฑบาตในวันรุ่งขึ้น
พอเช้ารุ่งขึ้นได้เสด็จไปยังบ้านนายจุนทะ ได้ตรัสกับนายจุนทะว่า จงถวายสุกรมัทวะแต่ตถาคตผู้เดียว และถวายอาหารอย่างอื่นอันประณีตแด่พระภิกษุสงฆ์ ที่เหลือให้ขุดหลุมฝังเสีย นอกจากตถาคตไม่มีใครสามารถทำให้ย่อยได้
ทรงพระประชวร
หลังจากฉันสุกรมัทวะแล้ว ก็ทรงพระประชวรพระโรค โลหิตปักขันธิกาพาธ จากนั้นเสด็จสู่เมืองกุสินารา พระพุทธองค์ ตรัสให้นำน้ำมาดื่ม พระอานนท์กราบทูลทัดทานได้สดับกระแสรับสั่งครั้งที่ ๓ จึงนำบาตรไป น้ำที่ขุ่นเพราะเกวียน ๕๐๐ เล่มเป็นอัศจรรย์น้ำกลับใส พระองค์นุ่งห่มผ้าสิงคิวรรณที่ปุกกุสะ บุตรแห่งมัลลกษัตริย์น้อมถวายปรากฏว่าผิวพรรณงามยิ่งนัก ผิวกายของพระตถาคตจะผุดผ่อง ๒ ประการคือ ราตรีจะได้ตรัสรู้ และราตรีจะได้ปรินิพพาน
ผลอาหารบิณฑบาต ๒ คราว
อาหารบิณฑบาตมีผล ๒ คราวเท่ากันคือ
๑. บิณฑบาตที่พระตถาคตเจ้าเสวยแล้วตรัสรู้ (สุชาดา, มธุปายาส)
๒. บิณฑบาตที่พระตถาคตเจ้าเสวยแล้วปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสส (จุนทะ, สุกรมัทวะ)
พอถึงสาลวโนทยาน หันพระเศียรไปทางทิศอุดรระหว่างต้นไม้สาละคู่ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์ มีพระสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เป็นการบรรทมครั้งสุดท้ายเรียกว่า อนุฏฐิตไสยาสน์
ตรัสสรรเสริญปฏิบัติบูชา
ดอกมณฑารพได้ตกลงมาเพื่อบูชาพระตถาคต ตรัสพระอานนท์ว่าการบูชาด้วยอามิส ไม่ได้ชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างแท้จริง ผู้ใดก็ตามเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เคารพสักการะตถาคตด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ
๑. สถานที่ตถาคตประสูติ
๒. สถานที่ตถาคตตรัสรู้
๓. สถานที่ตถาคตแสดงปฐมเทศนา
๔. สถานที่ตถาคตปรินิพพาน
สถานที่ทั้ง ๔ ตำบลนี้แล ควรที่พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า จะดูจะเห็น และควรจะให้เกิดความสังเวชทั่วกัน อานนท์ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เที่ยวไปยังเจดีย์ สังเวชนียสถานเหล่านี้ด้วยความเลื่อมใส ชนเหล่านั้น ครั้นทำกาลกิริยาลงจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
การปฏิบัติต่อสตรี
ภิกษุสงฆ์พึงปฏิบัติต่อสตรีทั้งหลายดังนี้คือ
๑. ไม่เห็นเป็นการดี
๒. ถ้าเห็นไม่ควรเจรจา
๓. ถ้าเจรจาต้องมีสติ
การปฏิบัติต่อพุทธสรีระ
การปฏิบัติในพระสรีระโดยวิธีเป็นแบบเดียวกันกับวิธี
ปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิราช พันพระสรีระด้วยผ้าขาว
ซับด้วยสำลีห่อด้วยผ้าขาว ๕๐๐ ชั้น อัญเชิญลงในหีบทองอันเต็มด้วยน้ำมันหอมปิดฝา ประดิษฐานบนจิตกาธาน นำพระอัฏฐิธาตุบรรจุในพระสถูปเพื่อให้มหาชนได้สักการบูชา
ถูปารหบุคคล ๔ จำพวก
ถูปารหบุคคล คือ บุคคลผู้ควรแก่การประดิษฐานในสถูป
๑. พระพุทธเจ้า
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
๓. พระอรหันตสาวก
๔. พระเจ้าจักรพรรดิราช
สรรเสริญพระอานนท์
ตรัสสรรเสริญพระอานนท์ว่าเป็นยอดพุทธอุปัฏฐาก เป็นบัณฑิตประกอบธุระด้วยปัญญา รู้จักกาลอันสมควร
ตรัสอดีตเมืองกุสินารา
เนื่องจากกุสินาราเป็นเมืองเล็ก พระอานนท์จึงกราบทูลให้เสด็จ ปรินิพพานที่เมืองใหญ่กว่า
พระองค์ตรัสว่า อดีตเมืองนี้ชื่อว่า กุสาวดี ยาว ๑๒ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์ กษัตริย์พระนามว่า พระมหาสุทัศน์ ผู้มีรัตนะ ๗ ประการ ทรงปกครองโดยธรรม กึกก้องไปด้วยเสียง ๑๐ ประการ เสียงช้าง ม้า รถ เภรี (กลอง) ตะโพน พิณ ขับร้อง กังสดาล สังข์ และเสียงคน เรียกกันทานอาหาร
แจ้งข่าวปรินิพพานแก่มัลลกษัตริย์
พระพุทธองค์รับสั่งแจ้งข่าวการปรินิพพานของพระองค์ พวกมัลลกษัตริย์ได้ทราบข่าวการจะปรินิพพานต่างก็เศร้าโศกร้องไห้รำพัน พระอานนท์ต้องคอยอำนวยความสะดวกโดยจัดให้เข้าเฝ้าเป็นลำดับตระกูลจนเสร็จลุล่วงไปด้วยดี
โปรดสาวกองค์สุดท้าย
สุภัททปริพาชกต้องการจะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา แต่ พระอานนท์ ทัดทานไว้ พระองค์จึงตรัสสั่งให้เข้าเฝ้าแสดงธรรมโปรด สุภัททะเกิดความเลื่อมใสขอบวช หลีกออกจากหมู่คณะบำเพ็ญสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นสาวกองค์สุดท้าย
ปัจฉิมโอวาท
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ความสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด
นิพพาน
ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ ประการโดยอนุโลมเป็นลำดับ และปฏิโลมเป็นลำดับ ออกจากจตุตถฌาน
ยังไม่ทันเข้าสู่อากาสานัญจายตนฌาน ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ยามสุดท้ายแห่งราตรี วันอาคารขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๑ ปี
ก็บังเกิดแผ่นดินไหว
การเข้าฌานปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ปฐมฌาน
เข้าฌาณ เข้าใหม่อีก
ทุติยฌาน
ตติยฌาน
จตุตถฌาน
ปรินิพพาน
อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ถอยกลับ
สัญญาเวทยิตนิโรธ ดับจิตสังขาร
สุภัททวุฑฒบรรพชิตจ้วงจาบพระธรรมวินัย
พระมหากัสสปะพร้อมภิกษุ ๕๐๐ องค์ พบอาชีวกบอกว่า พระสมณโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันแล้ว ภิกษุที่เป็นปุถุชนก็ร้องไห้ พระอรหันตขีณาสพยังธรรมสังเวชให้เกิดขึ้นสุภัททะได้กล่าวว่า อย่าได้เศร้าโศกเสียใจไปเลย เราทั้งหลายพ้นแล้วจากพระมหาสมณะ ด้วยว่าพระองค์ทรงสั่งสอนสิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เราทั้งหลายจำเป็นต้องทำตาม จึงลำบากนัก บัดนี้ เราจะทำสิ่งใด หรือไม่ทำสิ่งใดก็ตาม ก็ได้ตามความพอใจโดยมิต้องเกรงผู้ใด พระมหากัสสปะ ได้ฟังเกิดความสังเวชสลดใจ ครั้นจะยกขึ้นเป็นอธิกรณ์ เห็นว่ายังไม่สมควร
ส่วนที่ไม่ไหม้
ส่วนที่เพลิงมิได้เผาให้ไหม้ มีดังนี้
๑. ผ้าห่อหุ้มพระพุทธสรีระชั้นใน ๑ ผืน
๒. ผ้าหุ้มภายนอก ผ้าห่อหุ้มพระพุทธสรีระ ๑ ผืน
๓. พระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔
๔. พระรากขวัญ ทั้ง ๒
๕. พระอุณหิส ๑
แจกพระบรมสารีริกธาตุ
๑. พระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ มคธ
๒. กษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี วัชชี
๓. ศากยกษัตริย์ เมืองกบิลพัสดุ์ สักกชนบท
๔. ถูลีกษัตริย์ เมืองอัลลกัปปนคร
๕. โกลิยกษัตริย์ เมืองรามคาม สักกชนบท
๖. มัลลกษัตริย์ เมืองปาวา มัลละ
๗. มหาพราหมณ์ เมืองเวฏฐทีปก
สุนทรพจน์ของโทณพราหมณ์
ห้ามการวิวาทให้สงบลงได้ด้วยธรรม โทณพราหมณ์ได้กล่าวว่า พระองค์สรรเสริญขันติความอดทนอดกลั้นต่อทุกข์และกำลังแห่งกิเลสถือเอาพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเหตุแห่งสงครามคงจะไม่ดีไม่งามเลย ขอบรรดาเจ้าเมืองทั้งหลาย จงพร้อมใจกันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุเสมอกันทุกๆ พระนครเถิด
เจดีย์ ๔ ประเภท
๑. ธาตุเจดีย์ คือพระบรมสารีริกธาตุ
๒. ธัมมเจดีย์ คือพระธรรมคำสั่งสอนที่จารึกลงวัตถุ เช่น พระไตรปิฎก หนังสือ
๓. บริโภคเจดีย์ คือเครื่องใช้สอย เช่น บริขาร บาตร จีวร และสังเวชนียสถาน
๔. อุเทสิกเจดีย์ คือรูปแทนพระพุทธเจ้า เช่น พระพุทธรูป
พระสูตร
พระสูตรสำคัญ อาทิเช่น มหาปรินิพพานสูตร, มหาสุทัสสนะสูตร,
กุสินาราสูตร
วัดนานาชาติ
วัดนานาชาติ อาทิเช่น ไทย พม่า ญี่ปุ่น จีน ศรีลังกา อินเดีย เกาหลี ธิเบต เป็นต้น
สถานที่ปรินิพพาน
กุสินารามหานคร เมือง...ตรัสสอนสังเว ฯ ๔ สถาน
เมือง...เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมือง...ประทานปัจฉิมวาจา
เมือง...สุทัสสนะมหาจักรพรรดิ์ เมือง...จอมปราชญ์โทณพราหมณ์งามภาษา
เมือง...สตรีใจเพชรมัลลิกา เมือง...เสนาบดีศรีนาคร
เมือง...ทรงโปรดปัจฉิมสาวก เมือง...มรดกพินัยกรรมคำสั่งสอน
เมือง...สิ้นสุดพุทธกิจพระบิดร เมือง...นุสรณ์มกุฏพันธนเจดีย์
เมือง...เถระทัพพมัลลบุตร เมือง...เทพมนุษย์พร้อมภักดิ์ด้วยศักดิ์ศรี
เมือง...ซาบซึ้งนํ้าพระทัยพระภูมี เมือง...ปฐพีรํ่าไห้อาลัยศาสดาฯ
ที่มา...คู่มือพระธรรมวิทยากร
|
|